การพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการแบบเปิด: การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน

Main Article Content

อัครพล พรมตรุษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และศึกษาสาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา 2 จำนวน 9 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นสังเกตผลการปฏิบัติ และขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ เป็นวงจรต่อเนื่องกัน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 8 แผน แบบทดสอบมโนทัศน์ท้ายบทเรียนแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบระดับความเข้าใจมโนทัศน์แบบอัตนัย 3 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลในรูปของเมตริกซ์เพื่อประเมินคำตอบของนักเรียนตามเกณฑ์ระดับมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และระยะการก่อกำเนิดของมโนทัศน์ ร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ท้ายบทเรียนร้อยละ 61.85  สาเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์ ได้แก่ 1) มโนทัศน์พื้นฐานคลาดเคลื่อนหรือมโนทัศน์พื้นฐานไม่สมบูรณ์ 2) ความไม่คงทนของมโนทัศน์ และ 3) การไม่เข้าใจความต้องการของสถานการณ์ปัญหา     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชานันท์ ข่าขันมะลี. (2559). การศึกษาพัฒนาการความเข้าใจทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา

คณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ชาญณรงค์ เฮียงราช. (2552). ศาสตร์เกี่ยวกับการรับรู้กับคณิตศาสตร์ศึกษา. ของแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประภัสสร เพชรสุ่ม, อภิณห์พร สถิตภาคีกุล และกตัญญุตา บางโท. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบ

เปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 80 – 87.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ของญี่ปุ่น. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2549). การใช้วิธีการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนแบบ Open Approach เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์แบบ Lesson Study Approach (รายงานวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2555). การใช้วิธีการพัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนแบบ Open Approach เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูคณิตศาสตร์แบบ Lesson Study Approach. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักดิ์ศรี สุภาษร, นุจรี สุภาษร, วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์ และสนธิ พลชัยยา. (2559). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติเรื่อง

สารละลาย ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะร่วมกับภาพเคลื่อนไหวระดับอนุภาคสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 29 – 47.

อัครพล พรมตรุษ และอุเทน ปุ่มสันเทียะ. (2562). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและข้อผิดพลาดทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 539 – 561.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Calik, M., Ayas, A., and Coll, R. K. (2009). Investigating the effectiveness of an analogy activity in improving students’ conceptual change for solution chemistry concepts. International Journal of Science and Mathematics Education. 7(4), 651 - 676.

Cangelosi, J. (1988). Development and Validation of the Underprepared Mathematics Teacher Assessment. New York : John Wiley & Sons.

Inprasitha, M. (2010). “One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand-Designing Unit”.

In C. S. Cho, S. G. Lee, & Y. H. Choe (Eds.), Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education (pp.193-206). Korea: Dongkook University, Gyeongju.

Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed). Victoria: Deakin Uiversity Press.

Nohda, N. (1995). Teaching and Evaluation Using “Open-Ended Problem” in classroom. International Reviews on Mathematical Education , 27(2), 57 – 61.

Nohda, N. (n.d.). A study of “open approach” method in school mathematics teaching: Focus on mathematical problem solving activities & emclesh. Ibaraki: Institute of Education, University of Tsukuba.

Pirie, S., & Kieren, T. (1994). Beyond metaphor: Formalising in mathematical understanding within constructivist environments, For the Learning of Mathematics. 14(1), 39 - 43.

Supasorn, S. (2015). Grade 12 students’ conceptual understanding and mental models of galvanic cells before and after learning by using small-scale experiments in conjunction with a model kit. Chemistry Education Research and Practice, 16(2), 393 - 407.

Supasorn, S., Supasorn, N., Athiwaspong, W., and Phonchaiya, S. (2016). Development of Conceptual Understandings on Solutions by Using Inquiry Experiments in Conjunction with Particulute Animations for Grade 8 Students. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 7(1), 29 – 47. [in Thai]

Takeuchi, Y., and Sawada, T. (Eds.) (1984). Mondai kara mondai e (From problem to problem). Tokyo: Toyokan.

Westbrook, S.L., and Marek, E.A. (1992). A cross-age study of student understanding of the concept of diffusion. Journal of Research in Science Teaching, 29(1), 51 - 61.