ความตระหนักทางวัฒนธรรมผ่านการอ่านและการเขียนพรรณนาของนักเรียนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตระหนักทางวัฒนธรรมของนักเรียนภายหลังจากผ่านการอ่านและการเขียนพรรณนาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วย ประกอบด้วย หน่วยที่ 1 Your personality หน่วยที่ 2 Food หน่วยที่ 3 Amazing People หน่วยที่ 4 Nature Attacks! และ หน่วยที่ 5 Customs and Traditions และแบบคำถามกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ การวิเคราะห์แบบแก่นสาระ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนได้สะท้อนถึงความตระหนักทางวัฒนธรรมผ่านการเขียนพรรณนา ชิ้นงานทางศิลปะ และการสนทนากลุ่มใน 4 หัวข้อ ได้แก่ 1) การสำรวจตนเอง การรู้จักตนเอง และวัฒนธรรมของตนเองผ่านการเขียนพรรณนาและการวาดภาพ 2) ความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมที่แตกต่าง 3) การตระหนักถึงประเด็นทางสังคมและสิทธิของความเป็นมนุษย์ในระดับสากล และ 4) การลดอคติและการเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมอื่น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
หากผู้เสนอบทความมีความจำเป็นเร่งด่วนในการตีพิมพ์โปรดส่งลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นแทน โดยกองบรรณาธิการจะไม่รับบทความหากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ข้อมูลของเนื้อหาในบทความถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Inclusive and Innovative Education คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
References
กมลชนก ชำนาญ. (2557). การพัฒนาแบบวัดและการวิเคราะห์ระดับความสามารถทางวัฒนธรรมของครู. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 534-548.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์. (2553). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดวงฤดี กิตติจารุดุล. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติ และความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงกรณีศึกษา: บริษัทนำเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ปราณีต ส่องวัฒนา. (2557). การวิจัยทางการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม: แนวคิดและประเด็นวิจัย. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 5-21.
พิมพาพัญ ทองกิ่ง. (2563). บทบาทครูกับการจัดบรรยากาศชั้นเรียนเชิงบวกในศตวรรษที่ 21. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1), 50-59.
รัชดา ไชยคุปต์. (2019). รู้จักและเข้าใจความเสมอภาคทางเพศ. เข้าถึงจาก https://www.chula.ac.th/cuinside/23302/.
รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์. (2564). การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(2), 68-78.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). โครงการวิจัยเรื่อง การกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อภินภัศ จิตรกร. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบศิลปะเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 14(1), 60-72.
Baylor, E. (2019). Ethnocentrism. Retrieved from
https://www.oxfordbibliographies.com/view/document/obo-9780199766567/obo-9780199766567-0045.xml.
Bequette, J.W. & Hrenko, K. (2011). Culture-based arts education. Honoring our heritage: Northern Arizona University Press.
Braun, V., & Clarke, V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3, 77-101.
Chen, G. M. (2005). A model of global communication competence. China Media Research, 1, 3-11.
Cole, B. (2020). Risk management. Retrieved from https://searchcompliance.techtarget.com/definition/risk-management.
Eger, J. M. (2015). More evidence favoring art-based learning of STEM. Retrieved from
http://: www.huffingtonpost.com/john-m-eger/more-evidence-favoring-ar_b_6634766.html.
Griffith, B. A., & Frieden, G. (2000). Facilitating reflective thinking in counselor education. Counselor Education and Supervision, 40(2), 82–93.
Hanauer, D. I. (2001). The Task of Poetry Reading and Second Language Learning. Oxford University Press, 22(3), 295-323.
Leonard Bernstein Center. (2008). Artful Learning Model. Retrieved from
http://www.leonardbernstein.com/artful_learning.htm.
Lister,P. (1999). A taxonomy for developing cultural competence, Nurse Education Today, 19(4), 313-318.
Masterson, M. (2018). Self-discovery through the experiential co-construction of life stories in the foreign language classroom. Journal of Experiential Education, 41(4), 341– 355.
Meliza, D. & Roncancio, C. (2018). Developing Intercultural Awareness through Reading Comprehension while Designing Materials. Retrieved from
Santrock, J. W. (2007). Educational psychology. Toronto: McGraw-Hill Ryerson.
Shemshadsara, Z. G. (2012). Developing cultural awareness in foreign language teaching. Canadian Center of Science and Education, 5(3), 95-99.
Tomalin, B. & Stempleski, S. (1995). Cultural awareness. Oxford: Oxford University Press.
Wąsikiewicz-Firlej, E. (2012). Developing cultural awareness through reading literary texts. Taikomoji kalbotyra, 1, 1-17.