ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่

Main Article Content

ศรรัก ผลาเมธากูล
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 4) เพื่อค้นหาตัวแปรพยากรณ์และสร้างสมการพยากรณ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ จำนวน 254 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์อยู่ระหว่าง 0.673 - 0.813 ตัวแปรพยากรณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงสุด คือ ปัจจัยด้านครูและบุคลากร และที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำสุด คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร และ 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ จำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหาร (X1) ปัจจัยด้านครูและบุคลากร (X2) และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมภายนอก (X4) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.866 มีอำนาจพยากรณ์ (R2)ได้ร้อยละ 75.00 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ 0.334 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ
   = -0.807 + (0.248)X1 + (0.481)X2 + (0.365)X4 และคะแนนมาตรฐาน คือ y = (0.202)X1 + (0.363)X2 + (0.343)X4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤชณรงค์ ด้วงลา และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2563). สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลสู่ความเป็นเลิศ. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 29-41.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ วี.พริ้น (1991) จำกัด.

ฉวีวรรณ แผ่วตะคุ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออก. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(31), 76-87.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย: แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ชัยวัฒน์ วาทะวัฒนะ. (2562). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(3), 131-142.

ณัฐมนต์ ชาญเชิงค้า. (2560). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 81-96.

นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 24(3), 87-101.

บัณฑิต ประสิทธิ์นอก. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 8(1), 86-95.

บุณยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 7(2), 12-22.

ปภาวี ตั้งดวงดี. (2559). คุณลักษณะของครูกับประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียนกรณีศึกษา โรงเรียนประถมส่วนขยายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สาขาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประเสริฐ สำเภารอด. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลก.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 6(2), 198-208.

ประสาท อิศรปรีดา และธีรประภา ทองวิเศษ. (2560). พฤติกรรมสัมพันธภาพระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน: รูปแบบเชิงทฤษฎีการวัดและปริทัศน์งานวิจัย. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 206-220.

พิพัฒน์ ไผ่แก้ว และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพพชรบูณ์ เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 303-317.

พิมพร ไชยตา. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา, 4(1), 51-64.

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และกัลยมน อินทุสุต. (2558). การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.

ยุพิน บุญประเสริฐ ฐิติพงศ์ เหลืองสุวรรณ, วิไลภรณ์ฤทธิคุปต์ และรุ่งทิวา กองสอน. (2562). แนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากล. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 3(1), 25-33.

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2557). การบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.

วริญญาภัทร์ สุภาศิริธนานนท์. (2564). บทบาทผู้บริหารกับบรรยากาศองค์กรของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 13(2), 207-227.

วราภรณ์ เกิดผลมาก. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 10(2), 67-74.

วริศรา อรุณกิตติพร. (2562). ปัจจัยการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 14(1), 139-149.

วัชรพงษ์ น่วมมะโน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. Verridian E-Iournal, Silpakorn University, 8(1), 1120-1131.

วัฒน์ บุญกอบ. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.

วันเพ็ญ บุญสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารุณี ลัภนโชคดี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักรับรองมาตรฐานและเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2562). คุณภาพคือความอยู่รอด. เข้าถึงจาก

https://www.matichon.co.th/columnists/news_1667569.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สุดาพร ทองสวัสดิ์ และสุจิตรา จรจิตร. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการบริหารสถานศึกษา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่ 4.(น.338-348). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุทธนา ฮั่นเกียรติพงษ์. (2552). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลเอกชน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา ห้าวหาญ. (2558). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 133-151.

สมศรี พิมพ์พิพัฒน์. (2560). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(26), 45-56.

อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 55-71.

อุดม ชูลีวรรณ. (2560). องค์ประกอบของการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3), 36-47.

Ammeh Zakariah, A., & Amal Mohammad, A. (2021).The Impact of Performance Management on Organizational Excellence in Educational Institutions and How to Strengthen it in Private Schools. Journal of Education and Social Research, 11(2), 154-175.

Lorella Terzi (2020). On Education Excellence. Philosophical Inquiry in Education, 27(2), 92-105.

Mrigo, M., & Rogers, R. (2021). Examining Socio-Economic Factors Affecting Academic Performance of Secondary school student in Tanzania. International Journal of Academic Multidisciplinary Research, 5(3), 54-66.

M.S. Farooq, A.H. Chaudhry & G. Berhanu. (2011). Factors affecting student’ quality of academic performance: a case of secondary school level. Journal of Quality and Technology Management, 7(2), 1-14.

Muhammad, S., Putu, S. & Rihab, W.D. (2021). The Detreminant factor of the Principal leadership solutions in facing the 21st- Century learning. Journal Pendidikan Dan Pengajaran, 54(2), 230-243.

Nurdin, K., Mariani, & Dodi, I. (2021). The Principal's Leadership: How to Improve the Quality of Teaching and Learning Process in State Junior High School of Luwu. Jurnal Administrare: Jurnal Pemikiran Ilmiah dan Pendidikan Administrasi Perkantoran, 8(1), 49-58.

Norazila, O., & Kamarul Bahari, Y. (2020). Conceptual framework of school management excellence model. Journal of Critical Reviews, 7(19), 22-30.

R.J. Botha. (2014). Excellence in leadership: demands on the professional school principal. South Africa Journal of Education, 24(3), 239-243.

Rohani Binti, M. & Andrew Lim Ming, Y. (2021). A Principal’s leadership excellence though disposition of attributes. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, 12(11), 5360-5371.