การศึกษาการรู้พันธุศาสตร์และเจตคติต่อพันธุศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีดีเอ็นเอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน

Main Article Content

นิชาภา เจียรวัฒนากร
อะรุณี แสงสุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้พันธุศาสตร์และเจตคติต่อพันธุศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จํานวน 30 คน ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในการศึกษาระดับการรู้พันธุศาสตร์และเจตคติต่อพันธุศาสตร์ วิเคราะห์ใบภารกิจในระหว่างเรียนและแบบวัดการรู้พันธุศาสตร์หลังเรียนด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ อีกทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการตีความผลงานในใบภารกิจ อนุทิน และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบวัดเจตคติต่อพันธุศาสตร์ก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าค่าเฉลี่ย ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า หลังเรียนนักเรียนส่วนใหญ่มีการรู้พันธุศาสตร์ในระดับสูงทุกแผนการจัดการเรียนรู้ บ่งชี้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานทำให้นักเรียนมีการรู้พันธุศาสตร์ในระดับสูง ส่วนการศึกษาเจตคติต่อพันธุศาสตร์ พบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีเจตคติต่อพันธุศาสตร์ในระดับปานกลาง และหลังเรียนนักเรียนมีเจตคติต่อพันธุศาสตร์ในระดับดี บ่งชี้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานทำให้นักเรียนมีเจตคติต่อพันธุศาสตร์ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศวรี สาระรัตน์. (2561). ศึกษาพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อชีววิทยาโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องการย่อยอาหารและการสลายสารอาหารระดับเซลล์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชรินทร์ทิพย์ ศุขศาสตร์. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามประเด็นวิทยาศาสตร์กับสังคมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการโต้แย้งอย่างมีเหตุผลและเจตคติต่อชีววิทยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชาญวิทย์ คําเจริญ และดารกา พลัง. (2562). การใช้สื่อจําลองโต้ตอบเสมือนจริง: การเคลื่อนที่แนววิถีโค้ง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 13-24.

บุศมาพร กันทะวัง. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมเพื่อส่งเสริมการรู้พันธุศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิติมา รุจิเรขาสุวรรณ. (2555). ประสิทธิผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุลที่พัฒนาขึ้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ภาควิชาเคมี สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันทยา อัครอารีย์. (2558). ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับพันธุศาสตร์. เข้าถึงจาก http:// biology.ipst.ac.th/?p=2402.

ปวันรัตน์ ศรีพรหม. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศุภกร สุขยิ่ง, ธิติยา บงกชเพชร และ นุชจิรา ดีแจ้ง (2563). การจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้ข่าวเป็นสื่อ เรื่อง สภาพสมดุลเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 18(2), 31-44.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หน่วยงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย. (2564). ความแตกต่างทางพันธุกรรม: สู่การแพทย์จีโนมิกส์ถอดรหัสพันธุกรรมรักษาตรงเหตุ. Genomics Thailand, 1(1), 1-4.

อัญญา ปลดเปลื้อง. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานในวิชาปฏิบัติ การบริหารการพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(4), 156-173.

Abrams, L. R., McBride, C. M., Hooker, G. W., Cappella, J. N., & Koehly, L. M. (2015). The many facets ofgenetic literacy: assessing the scalability of multiple measures for broad use in survey research.PloS one, 10(10), e0141532.

Aivelo, T., & Uitto, A. (2021). Factors explaining students’ attitudes towards learning genetics and belief in genetic determinism. International Journal of Science Education, 43(9), 1408-1425.

Boerwinkel, D. J., Yarden, A., & Waarlo, A. J. (2017). Reaching a consensus on the definition of geneticliteracy that is required from a twenty-first-century citizen. Science & Education, 26(10), 1087-1114.

Bowling, B. V., Acra, EE, Wang, L., Myers, M. F., Dean, G. E., Markle, G. C., … Huether, C. A. (2008). Development and evaluation of a genetics literacy assessment instrument for undergraduates.

Genetics, 178, 15–22.

Bloom, J. W. (1992). Philosophy of Science, Cognitive Psychology and Educational Theory and Practice. New York: State University of New York Press.

Çalik, M., and Cobern, W. W. (2017). A cross-cultural study of CKCM efficacy in an undergraduate chemistry classroom. Chemistry Education Research and Practice, 18, 691–709.

Cebesoy, Ü. B., & Tekkaya, C. (2012). Pre-service science teachers’ genetic literacy level and attitudes towards genetics. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 31, 56-60.

Chapman, R., Likhanov, M., Selita, F., Zakharov, I., Smith-Woolley, E., & Kovas, Y. (2017). Genetic Literacy

and Attitudes Survey iGLAS): International population wide assessment instrument. The European Proceedings of Social & Behavioural Sciences EpSBS, 33(6), 45-66.

Chapman, R., Likhanov, M., Selita, F., Zakharov, I., Smith-Woolley, E., & Kovas, Y. (2019). New literacy challenge for the twenty-first century: genetic knowledge is poor even among well educated.Journal of community genetics, 10(1), 73-84.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Donovan, B. M., Weindling, M., Salazar, B., Duncan, A., Stuhlsatz, M., & Keck, P. (2021). Genomics literacymatters: Supporting the development of genomics literacy through genetics education couldreduce the prevalence of genetic essentialism. Journal of Research in Science Teaching,58(4), 520-550.

DNA electrophoresis. Retrieved from https://javalab.org/en/dna-electrophoresis/.

Gilbert, J. K. (2006). On the nature of “context” in chemical education. International journal ofscience education, 28(9), 957-976.

Goltz, H. H., & Acosta, S. (2015). A rare family: Exploring genetic literacy in an online support group.Journal of Family Strengths, 15(2), 6.

Slovinsky, E., Kapanadze, M., & Bolte, C. (2021). The Effect of a Socio-Scientific Context-Based Science Teaching Program on Motivational Aspects of the Learning Environment. EURASIA Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 17(8), em1992.

Subasic, K., Kronk, R., Mantione, A., & Vital, M. (2021). Exploring Genetic Literacy in a Small HispanicPopulation. Journal of Transcultural Nursing, 32(4), 344–349.

Weiler, T., & Landa-Galindez, A. (2022). Online interactive genetics education during internal medicineclinical clerkship. Genetics in Medicine, 24(6), 1362-1371.