การสังเคราะห์วิธีวิทยาการวิจัยในงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน

Main Article Content

อังสุมารินทร์ นาคบำรุง
เกียรติสุดา ศรีสุข

บทคัดย่อ

การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านวิธีวิทยาการวิจัยในงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน ศึกษาวิธีสอนและวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการพัฒนาแผนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน และวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือการวิจัยในงานวิจัยที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน รวบรวมงานวิจัยฉบับเต็มที่มุ่งพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนจากฐานข้อมูลออนไลน์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแหล่งรวมวิทยานิพนธ์และงานวิจัย (TDC) จำนวนทั้งสิ้น 68 เรื่อง คำค้นที่ใช้ คือ “การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษนักเรียน” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัยที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ จำนวน 3 ฉบับ  ผลการวิจัยจากประชากรทั้งหมด พบว่า มีการผลิตงานวิจัยอย่างต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 – 2565 แต่มีแนวโน้มลดลง โดยประชากรส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching) ซึ่งเป็นการวัดทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษร่วมกัน มีกระบวนการสร้างแผนการสอนค่อนข้างครบถ้วน ยกเว้นการนำแผนการสอนไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ในการแก้ปัญหาสภาพจริงส่วนใหญ่ดำเนินการใช้วิธีการสอนโดยผู้วิจัยและไม่นิยมติดตามผลหลังจบการใช้แผนการสอน  โดยเครื่องมือทั้งหมดที่พบในประชากร มีทั้งหมด 4 ประเภท จำนวนที่พบตามลำดับมากไปน้อย ได้แก่ แบบทดสอบ/แบบวัดความรู้ แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล/แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์  ด้านขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ พบว่าการสร้างแบบบันทึกข้อมูล/แบบสังเกตถูกสร้างได้ตรงตามหลักวิชาการสร้างเครื่องมือทั้งหมด ส่วนเครื่องมือประเภทที่เหลือยังขาดขั้นตอนสำคัญอยู่ 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการนำเครื่องมือไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย และขั้นตอนการวิเคราะห์ผลการทดลองใช้ ในด้านการหาคุณภาพเครื่องมือ มีการหาค่าความเที่ยงตรง (Validity) และการหาความเป็นปรนัย (Objectivity) ได้ครบถ้วนทุกเครื่องมือ และประชากรงานวิจัยทั้งหมดมีการหาคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) เพียงลักษณะเดียว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adams, R. J. (2005). Reliability as a measurement design effect. Studies in Educational valuation, 31, 162-172.

Baron et al., (2017). Synthesis centers as critical research infrastructure. BioScience, 67 (8), 750–759.

Bowen, J.D., Madsen, H.S., and Hilferty, A. (1985). TESOL Technique and Procedure. Massachusetts: Heinle & Heinle.

Brown, G. (1987). Twenty–five years of Teaching Listening Comprehension. English Teaching Forum, 23, 11-15.

Bunyaratphan, S. (2020). Research methods for public administration. Bangkok: Sematham. [in Thai]

Chastain. (1988). Developing Second Language Skills Theory and Practice. US: Harcourt Brace Jovanovich.

Garside, R. (2014). Should we appraise the quality of qualitative research reports for systematic reviews, and if so, how? Innovation. European Journal of Social Sciences, 27, 67–79.

Gay, L.R, Miles, G. E., and Airasian, P. (2011). Educational Research: Competencies for Analysis and Applications. Boston: Pearson Education International.

Harmer, J. (1988). The practice of English language teaching. Essex, UK: Pearson.

Littlewood, W. (1990). Communicative Language Teaching. London: Cambridge University Press.

Nation, P. (1985). Listening Techniques for a Comprehension Approach to Language Learning. English Teaching Forum, 23, 17 –19.

Nunan, D. (1991). Communicative Tasks and the Language Curriculum. TESOL Quaterly, 25(2), 279-295.

Phajanthonphak, P., et al. (2021). English Learning problems for Thai people. Journal of MCU Ubon Review, 6(3), 911-920. [in Thai]

Phasiphon, C. (2011). Creation and development of tools for measuring and evaluating education.

Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]

Richard, J. C. (2006). Developing Classroom Speaking Activities: From Theories to Practice. Journal Watch,28(2), 1-10.

Rivers, W. M. & Temperley, M. S. (1978). A Practical guide to the teaching of English as a second or foreign language. New York: Oxford University Press.

Savignon, S. J. (2002). Interpreting communicative language teaching: Contexts and concerns in teacher education. New Haven, CT: Yale University Press.

Seargeant, PH. (2011). English in the World (1st Edition). London: Routledge.

Shirvan, M. et al., (2016). A Synthetic Approach to Methods in Language Teaching; The Nature of Approaches and Methods in Language Learning. Iran: University of Bojnord.

Srisa-at, B. (2017). Preliminary research. New and improved edition. (10th printing). Bangkok: Suviriyasan. [in Thai]

Srisuk, K. (2009). Research methods. Chiang Mai: Krongchang Printing Co., Ltd. [in Thai]

Suri, H. (2011). Purposeful Sampling in Qualitative Research Synthesis. Qualitative Research Journal, 11(2), 63-75.

Wrigley et al., (2003). The Language of Opportunity: Expanding Employment Prospects for Adults with Limited English Skills. Washington, DC: National Inst. for Literacy.

Yanus, N.A. (1985). Preparing and Using Aids for English Language Teaching. Kuala Lumpur: Oxford University Press.