บารมี 30 ทัศในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระพุทธศาสนาเถรวาทได้กล่าวถึงการบำเพ็ญ “บารมี” (pāramī / pāramitā) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในครั้งที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์ ที่เรียกว่า “บารมี 10 ทัศ” แต่จากการศึกษาพบว่า ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทฝ่าย “มหาวิหาร” (Mahāvihāra) กลับให้ความสำคัญของ “บารมี 30 ทัศ” มากกว่า “บารมี 10 ทัศ” ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึง “บารมี 30 ทัศ” ที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาบาลี (Aṭṭhakathā) โดยเปรียบเทียบกับคัมภีร์ของฝ่าย “อภัยคีรี” (Abhayagiri) และได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้
ในเรื่อง “บารมี 10 ทัศ” ในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น อาจกล่าวได้ว่ามีปรากฏครั้งแรกในขุททกนิกาย “พุทธวงศ์” (Buddhavaṃsa) ต่อมาได้มีวิวัฒนาการจาก “บารมี 10 ทัศ” ไปสู่ “บารมี 30 ทัศ” โดยอาศัย “นิทานกถา” (Nidānakathā) ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อ และพระอรรถกถาจารย์ฝ่าย “มหาวิหาร” ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 (คริสต์ศตวรรษที่ 5) เป็นต้นไปนั้น ต่างก็กล่าวและมุ่งเน้นถึง “บารมี 30 ทัศ” ทั้งสิ้น
Article Details
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
Baba, Norihisa (馬場紀寿). 2008. Jōzabu-bukkyō-no-shisō-keisei: Budda-kara-buddagōsa-e 上座部仏教の思想形成: ブッダからブッダゴーサへ (รูปแบบแนวคิดพระพุทธศาสนาเถรวาท: จากยุคพุทธกาลถึงยุคพระพุทธโฆสะ). Tokyo: Shunjusha.
Bapat, P.V.. 1973. Vimuttimagga and Visuddhimagga: A Comparative Study. Poona: P.V. Bapat.
Furuyama, Kenichi (古山健一). 1997. “Pāri-jupparamitsu-ni-tsuite パーリ十波羅蜜について(บารมี 10 ทัศในคัมภีร์บาลี).” Komazawa-daigaku-daiga-kuin-bukkyōgaku-kenkyūkai-nenpō 駒澤大学大学院仏教学研究会年報 30: 81-103.
Hayashima, Kyōshō (早島鏡正). 2001. “Shōjōdōron 清浄道論 (คัมภีร์วิสุทธิมรรค).”Butten-kaidai-jiten 仏典解題事典 (สารานุกรมอธิบายคัมภีร์พระพุทธศาสนา). Tokyo: Shunjusha. (first printed.1966): 122-123.
Katsumoto, Karen (勝本華蓮). 2002. “Sabutsu-no-ketsui: Pāri-bunken-ni-okeru-abhinīhāra 作仏の決意: パーリ文献におけるabhinīhāra (การตัดสินใจของพระโพธิสัตว์: “อภินิหาร” ในคัมภีร์บาลี).” Indo-tetsugaku-bukkyōgaku 印度哲学仏教学 17: 119-136.
Mayeda, Sengaku (前田專學). 2001. “Agonkyō 阿含経 (คัมภีร์พระสุตตันปิฎก).”Butten-kaidai-jiten 仏典解題事典 (สารานุกรมอธิบายคัมภีร์พระพุทธศาสนา). Tokyo: Shunjusha. (first printed. 1966): 60-62.
Mori, Sodō (森祖道). 1984. Pāri-bukkyō-chūshaku-bunken-no-kenkyū パーリ仏教註釈文献の研究 (งานวิจัยคัมภีร์อรรถกถาในพระพุทธศาสนาสายบาลี). Tokyo: Sankibo-busshorin.
Skilling, Peter. 1993. “A Citation from the *Buddhavaṃsa of the Abhayagiri School,” Journal of the Pali Text Society 18: 165-175.