คำว่า "ลทฺธิ" ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร.

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงที่มาของทัศนคติในด้านลบของคำว่า “ลัทธิ” ในภาษาไทย โดยทำการศึกษาจากบริบทการใช้งานของคำว่า “ลทฺธิ” ที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถาพระพุทธศาสนาเถรวาทผลการศึกษาพบว่า คำว่า “ลทฺธิ” (laddhi) ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์นิทเทส และต่อมาพบในคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งมีลักษณะการใช้งานค่อนข้างไปในทางลบ โดย “กลุ่มเป้าหมาย” จะแบ่งออกเป็น (1) นักบวชนอกพระพุทธศาสนา (2) พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่มีความเห็นเป็นปฏิปักษ์กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (3) พระภิกษุในพระพุทธศาสนาต่างนิกายที่ไม่ใช่เถรวาท ซึ่งมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถาของกถาวัตถุ
จากลักษณะการใช้งานของคำว่า “ลัทธิ” ในภาษาไทยพบว่ามีทิศทางค่อนข้างไปในทางลบ เฉกเช่นเดียวกับที่พบในบริบทการใช้คำว่า “ลทฺธิ” ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงชวนให้คิดได้ว่า ทัศนคติการใช้คำว่า “ลัทธิ” ในภาษาไทย อาจได้รับอิทธิพลมาจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคคัมภีร์อรรถกถา

Article Details

How to Cite
ฐานิโย, ดร. พระมหาพงศ์ศักดิ์. 2018. “คำว่า ‘ลทฺธิ’ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. ธรรมธารา 4 (2):37-59. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/145795.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

ป. หลงสมบุญ. 2540. พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักเรียนวัดปากน้ำ.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). 2550. ศัพท์วิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

ภัทรพร สิริกาญจน บรรณาธิการ. 2546. ความรู้พื้นฐานทางศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2556. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

แสง จันทร์งาม. 2542. ศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

หลวงวิจิตรวาทการ. 2523. ศาสนาสากล เล่ม 1 ว่าด้วยยุคดึกดำบรรพ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ลูก ส. ธรรมภักดี.

Mayeda, Sengaku (前田專學).2001. “Agonkyo 阿含経 (คัมภีร์พระสุตตันปิฎก).”Butten-kaidai-jiten 仏典解題事典 (สารานุกรมอธิบายคัมภีร์พระพุทธศาสนา). Tokyo: Shunjusha. (first printed. 1966): 60-62.

Mizuno, Kogen (水野弘元). 1964. Pari-bukkyo-wo-chushin-toshita-bukkyo-no-shinshikiron パーリ仏教を中心とした仏教の心識論 (จิตในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาพระพุทธศาสนาสายบาลี). Tokyo: Sankibobusshorin.

Waardenburg, Jacques. 1999. Classical approaches to the study of religion: aims, methods and theories of research. New York: de Gruyter.