ครุธรรม 8 เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติหรือไม่ (1)

Main Article Content

วิไลพร สุจริตธรรมกุล, ดร.

บทคัดย่อ

จากเหตุการณ์ขบวนการฉีกครุธรรม ในปี พ.ศ. 2544 ณ ไต้หวัน ทำให้นักวิชาการและชาวพุทธทั่วไปเริ่มสงสัยว่าครุธรรมไม่ใช่พุทธบัญญัติ และเป็นเหตุให้เกิดความไม่เสมอภาคทางเพศในพุทธศาสนาหรือไม่ เพราะฉะนั้นบทความฉบับนี้จะวิเคราะห์ในประเด็นของครุธรรมเป็นพุทธบัญญัติหรือไม่ โดยใช้หลักฐานจากคัมภีร์บาลีของเถรวาทเป็นหลัก และเน้นเกี่ยวกับการพิสูจน์ข้อสงสัยในครุธรรมแต่ละข้อ 
ในบทความนี้จะนำเสนอและวิเคราะห์ครุธรรมข้อ 1 ถึง 4 ก่อน เริ่มจากนำข้อกล่าวหาหรือความเห็นของผู้ที่ไม่เห็นด้วยว่าครุธรรมเป็นพุทธบัญญัติมาเป็นโจทย์ จากนั้นจึงอาศัยข้อมูลทั้งในพระสูตร พระวินัย และอรรถกถาของบาลีมาวิเคราะห์พิจารณา จากการวิจัยพบว่า ยังมีความเข้าใจผิดในด้านคำแปลของครุธรรม การเข้าใจผิดในเรื่องการนำธรรมเนียมปฏิบัติของพวกนอกลัทธิมาใช้ในพระพุทธศาสนา และความสงสัยในความจำเป็นของการขอโอวาทและปวารณา (ครุธรรมบางข้อ) ที่ฝ่ายภิกษุณีต้องเกี่ยวข้องกับภิกษุ ซึ่งผู้วิจัยได้ยกหลักฐานทางบาลีมาประกอบการวิเคราะห์เพื่อให้เห็นนิยามและความหมายของครุธรรมแต่ละข้อชัดขึ้น รวมไปถึงการยกตัวอย่างการปฏิบัติและมุมมองของพระพุทธเจ้าในเรื่องการลงปาฏิโมกข์และการปวารณา
หลังจากวิเคราะห์พุทธบัญญัติแล้ว ในเบื้องต้นได้พิจารณาว่า ครุธรรมเป็นเหตุให้เกิดความไม่เสมอภาคจริงหรือไม่ในขั้นตอนต่อไป และเนื่องด้วยครุธรรมเป็นแม่แบบของวิถีชีวิตนักบวชหญิง ไม่ใช่แม่แบบการใช้ชีวิตของฆราวาส ดังนั้นในการวิเคราะห์เรื่องนี้จึงจำเป็นต้องเอาข้อบัญญัติของนักบวชเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณา เพื่อเอามาตรฐานของนักบวชมาวัดนักบวช

Article Details

How to Cite
สุจริตธรรมกุล วิไลพร. 2018. “ครุธรรม 8 เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติหรือไม่ (1)”. ธรรมธารา 1 (1):117-55. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160700.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

Chung, In Young. 1999. “A Buddhist View of Women: A Comparative Study of the Rules for Bhikṣuṇīs and Bhikṣus Based on the Chinese Prātimokṣa.” Journal of Buddhist Ethics 6: 29-105.

Shi, Zhenguan (釋真觀). 1996. “Cong-yindu-de-funu-shehui-diwei-kan “bajingfa” zhiding-zhi-yiyi 從印度的婦女社會地位看「八敬法」制定之意義 (จุดประสงค์ของการบัญญัติ “ครุธรรม 8” จากสถานภาพทางสังคมของสตรีอินเดีย).” Hù sēng 護僧 3(3). Gāoxióng: Zhōnghuá fójiào hù sēng xiéhuì.