ภาษา ภาษาธรรม ของพระนาคารชุนในคัมภีร์ "มูลมัธยมกการิกา"

Main Article Content

สมบัติ มั่งมีสุขศิริ, ผศ.ดร.

บทคัดย่อ

พระนาคารชุน เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คัมภีร์ชิ้นเอกที่เป็นผลงานของท่านที่นิยมศึกษากันมากที่สุดในหมู่นักปราชญ์ด้านพุทธศาสนามหายาน ก็คือ “คัมภีร์มูลมัธยมกการิกา” ในคัมภีร์ ท่านนาคารชุนได้อธิบายแนวคิดทางปรัชญาฝ่ายมหายานไว้อย่างลึกซึ ้งซึ่งชาวบ้านสามัญชนคนธรรมดาเข้าใจได้ยาก โดยเฉพาะคำสอนเรื่อง ศูนยตา (ภาษาบาลี คือ สุญญตา) และปฏิจจสมุปบาท (ภาษาสันสกฤต คือ ประตีตยะสะมุตปาทะ) เมื่อพิจารณาจากรูปแบบการประพันธ์และวัตถุประสงค์ของคัมภีร์ จะพบว่าคัมภีร์มูลมัธยมกการิกานี้ มุ่งให้เป็นคู่มือสำหรับพระสงฆ์เพื่อการโต้วาทีกับสำนักปรัชญาอื่นทั้งที่เป็นพุทธและฮินดู เน้นที่แนวภาษาธรรม คือ เน้นความลึกซึ่ง ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจทางพุทธศาสนาที่ลึกซึ้ง หลากหลาย แต่หากพิจารณาให้ลึกถึงเป้าหมายที่แท้จริงของพระนาคารชุน จะพบว่าท่านต้องการให้ละทิฐิหรือทฤษฏีทั้งหมดที่เป็นแนวการสอนแบบภาษาธรรม แล้วกลับไปสู่แนวทางภาษาคนคือ การกลับไปสู่แนวทางการปฏิบัติคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าซึ่งทรงสอนตามการพิจารณาบุคคล สถานที่ สถานการณ์ซึ่งมีเป้าหมายคือ คนส่วนใหญ่หรือชาวบ้านทั่วไปเป็นหลัก บทความนี้มุ่งวิเคราะห์คัมภีร์มูลมัธยมกการิกาของพระนาคารชุนตามกรอบแนวคิดเรื่อง ภาษาคน ภาษาธรรม ที่พุทธทาสภิกขุเป็นผู้เริ่มใช้และทำให้แพร่หลายในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อหามุมมองใหม่ โดยอาศัยกรอบความคิด ทฤษฎี หลากหลายจากนักปราชญ์ นักวิชาการผู้รู้ด้านพุทธศาสนา โดยจะเน้นที่นักปราชญ์ชาวไทยเป็นหลัก เพื่อให้ทราบมุมมองและแนวคิดที่จะเป็นประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตตามแนววิถีพุทธสำหรับคนไทยในปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
มั่งมีสุขศิริ สมบัติ. 2018. “ภาษา ภาษาธรรม ของพระนาคารชุนในคัมภีร์ ‘มูลมัธยมกการิกา’”. ธรรมธารา 2 (1):35-65. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160732.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

สมบัติ มั่งมีสุขศิริ. 2559. การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์มูลมัธยมการิกาของพระนาคารชุน. เอกสารอัดสำเนา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมภาร พรมทา. 2540. พุทธศาสนามหายาน นิกายหลัก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. 2550. มหายาน ภาษาคน ภาษาธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

Bapat, P.V. 1997. 2500 Years of Buddhism. 6th ed. New Delhi: Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India.

Kalupahana, David J. 1999. Mūlamadhyamakakārikā of Nāgaārjuna. Delhi: Motilal Banarsidass.

Kubo, Tsugunari, and Akira, Yuyama. 2007. The Lotus Sutra (Taishō Volume 9, Number 262), Translated from the Chinese of Kumārajīva. BKD English Tripiṭaka 13-1. Berkeley: Numata Center for Buddhist Translation and Research.

Porter, Karl H., ed. 1999. Encyclopedia of Indian Philosophy: Buddhist Philosophy from 100 to 350 A.D. Volume VIII. Delhi: Motilal Banarsidass.

Zangmo, Tashi and Chime, Dechen, trans. 1997. Dharmasaṃgrahaḥ (Excellent Collection of Doctrine) of Nāgārjuna: Bibliotheca Indo-Tibetica Series – XXVII. Varanasi : Central Institute of Higher Tibetan Studies.

พุทธทาสภิกขุ. 2556. ภาษาคน ภาษาธรรม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2559, https://www. youtube.com/watch?v= jPg0kib7qBY.

สมภาร พรมทา. 2554. Philosophy and Language. Chapter VI pp. 75-79. เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559, http://www.stc.arts.chula.ac.th/wisdommag.