การสร้างฐานข้อมูลคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน แนวทางการอ่านและปริวรรตคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน ในกรณีที่พบปัญหาตัวอักษรคลุมเครือ

Main Article Content

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล, ดร.

บทคัดย่อ

บทความนี้เขียนขึ้นจากองค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์จริงในการสร้างฐานข้อมูลคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานทุกสายจารีต ของ “โครงการพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ (DTP)” โดยบทความนี้นำเสนอกรณีศึกษาในการอ่านและปริวรรตเนื้อความคัมภีร์ใบลานสายอักษรขอมและอักษรธรรม ของพระไตรปิฎกทีฆนิกาย
จากการศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน  พบว่าข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานมีลักษณะต่างจากฉบับพิมพ์ คือ ไม่มีการเว้นวรรค มักไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนที่ชัดเจน  และมีลักษณะตัวอักษรที่คลุมเครือจำนวนมาก  ตามแต่ลายมือของผู้จารแต่ละคน รวมทั้งความนิยมของแต่ละท้องถิ่นตามยุคสมัยด้วย จากการศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน  พบว่าข้อความในคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานมีลักษณะต่างจากฉบับพิมพ์ คือ ไม่มีการเว้นวรรค มักไม่มีเครื่องหมายวรรคตอนที่ชัดเจน  และมีลักษณะตัวอักษรที่คลุมเครือจำนวนมาก  ตามแต่ลายมือของผู้จารแต่ละคน รวมทั้งความนิยมของแต่ละท้องถิ่นตามยุคสมัยด้วย
การอ่านและปริวรรตคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานที่ได้ผลดี จะต้องพิจารณาเนื้อความเป็นพยางค์ไม่ใช่เป็นตัวอักษรแต่ละตัว  ผู้อ่านและปริวรรตคัมภีร์ใบลานที่มีความคุ้นเคยกับลักษณะตัวอักษรในภาษานั้นๆ เช่นชาวกัมพูชาอ่านใบลานอักษรขอม จะมีแนวโน้มอ่านตัวอักษรคลุมเครือได้ถูกต้องมากกว่า  เพราะมีประสบการณ์การอ่านลายมือเขียนตัวอักษรในภาษานั้นๆมากกว่า และผู้อ่านที่มีความรู้หลักไวยากรณ์ภาษาบาลี  ทำให้สามารถอ่านเข้าใจบริบทของเนื้อหา  และอ่านตัวอักษรในฐานะที่เป็นภาษาไม่ใช่รูปภาพ  จะอ่านและปริวรรตคัมภีร์ใบลานได้ถูกต้องมากกว่า การอ่านและปริวรรตคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานที่ได้ผลดี จะต้องพิจารณาเนื้อความเป็นพยางค์ไม่ใช่เป็นตัวอักษรแต่ละตัว  ผู้อ่านและปริวรรตคัมภีร์ใบลานที่มีความคุ้นเคยกับลักษณะตัวอักษรในภาษานั้นๆ เช่นชาวกัมพูชาอ่านใบลานอักษรขอม จะมีแนวโน้มอ่านตัวอักษรคลุมเครือได้ถูกต้องมากกว่า  เพราะมีประสบการณ์การอ่านลายมือเขียนตัวอักษรในภาษานั้นๆมากกว่า และผู้อ่านที่มีความรู้หลักไวยากรณ์ภาษาบาลี  ทำให้สามารถอ่านเข้าใจบริบทของเนื้อหา  และอ่านตัวอักษรในฐานะที่เป็นภาษาไม่ใช่รูปภาพ  จะอ่านและปริวรรตคัมภีร์ใบลานได้ถูกต้องมากกว่า
การอ่านและปริวรรตคัมภีร์ใบลานที่ได้ผลดี ผู้อ่านต้องทำความคุ้นเคยกับลายมือของผู้จารคัมภีร์ฉบับนั้นๆ เมื่อพบตัวอักษรที่คลุมเครือจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับตัวอักษรคล้ายกันที่ปรากฏในที่อื่นๆของคัมภีร์จำนวนมาก
การสร้างฐานข้อมูลคัมภีร์พระไตรปิฎกจากชุดคัมภีร์ใบลานเป็นงานที่ท้าทายซับซ้อนและมีรายละเอียดมาก จะต้องแก้ปัญหาคำคลุมเครือที่พบในแต่ละจุดด้วยความละเอียดรอบคอบ มีหลักการในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน โดยสั่งสมแนวทางการแก้ไขปัญหาที่พบจำนวนมากเป็นองค์ความรู้ในการอ่านและปริวรรตคัมภีร์ใบลาน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่มีเนื้อหาตรงตามต้นฉบับมากที่สุด





Article Details

How to Cite
ศรีเศรษฐวรกุล สุชาดา. 2018. “การสร้างฐานข้อมูลคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน: แนวทางการอ่านและปริวรรตคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน ในกรณีที่พบปัญหาตัวอักษรคลุมเครือ”. ธรรมธารา 3 (1):167-91. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/160773.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share