การตรวจชำระและศึกษาพุทธานุสสติในคัมภีร์จตุรารักขาอรรถกถาบาลี

Main Article Content

Supranee Panitchayapong

บทคัดย่อ

การปฏิบัติธรรมแบบพุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ได้รับการสรรเสริญจาก  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เป็นเลิศกว่าบรรดากรรมฐานทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ จึงถูกจัดเป็นกรรมฐานตัวแรกของจตุกรรมฐานซึ่งเป็นที่นิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในหมู่พระภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัทในประเทศแถบเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ เช่น ศรีลังกา ไทย และเมียนมาร์ เป็นต้น งานวิจัยนี้ศึกษาการเจริญพุทธานุสสติในคัมภีร์นอกพระไตรปิฎกบาลีฉบับหนึ่ง ชื่อว่า “จตุรารักขาอรรถกถา” แม้ว่าจะมีเอกสารใบลานคัมภีร์จตุรารักขาอรรถกถาเป็นจำนวนมากถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ และวัดวาอารามต่าง ๆ ในประเทศไทย แต่ยังไม่พบว่า คัมภีร์ฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่สำหรับผู้อ่านแต่อย่างใด ดังนั้นก่อนที่จะศึกษาเนื้อหาในคัมภีร์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจชำระการปฏิบัติธรรมแบบพุทธานุสสติก่อน โดยการตรวจชำระนี้ ได้ใช้เอกสารใบลานอักษรขอมที่เก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ จำนวน 5 ฉบับ จากนั้นจะเป็นการวิเคราะห์รายละเอียดอื่น ๆ ของคัมภีร์ ได้แก่ ลักษณะของเอกสารใบลานคัมภีร์   จตุรารักขาอรรถกถา ผู้แต่งและวันที่แต่ง สถานที่แต่งและการแพร่หลาย รวมทั้งเนื้อหาสำคัญของคัมภีร์ การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ผู้แต่งคัมภีร์จตุรารักขาอรรถกถามีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกและอรรถกถาบาลีเป็นอย่างดี ท่านสามารถที่จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พุทธานุสสติ คือ การปฏิบัติธรรมโดยการระลึกถึงคุณสมบัติของกายสองกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ รูปกาย และธรรมกาย     ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่เหนือปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเป็นเรื่องอจินไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณสมบัติของพระธรรมกายของพระองค์นั้นมีมากเหลือคณานับไม่มีที่สิ้นสุด คุณสมบัติเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงที่พบได้ทั่วไปในอรรถกถาบาลีทั้งหลายซึ่งถูกแต่งขึ้นในช่วงราวศริสต์ศตวรรษที่ 4-5


 

Article Details

How to Cite
Panitchayapong, Supranee. 2019. “การตรวจชำระและศึกษาพุทธานุสสติในคัมภีร์จตุรารักขาอรรถกถาบาลี”. ธรรมธารา 5 (2):39-98. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/193947.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

กรมศิลปากร. 2560. พระมหากษัตริย์ของไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่งจำกัด.

สุรสิทธิ์ ไทยรัตน์. 2556. คัมภีร์ใบลานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

ทวี เขื่อนแก้ว. 2524. สวดมนต์ฉบับภาคเหนือ. เชียงใหม่: รุ่งเรืองการพิมพ์.

วัดป่าแพ่ง. ปั๊บสูตรมนต์ตั๋นตั้งลำ (ฉบับวัดป่าแพ่ง). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์แสงเทียนสังฆภัณฑ์.

Ānanda Bhikkhu. 2006. “Caturārakkhā Bhāvanā: Four Protective Meditations” Accessed June 6, https://www.ancient-buddhist-texts.net.

Bimalendra Kumar. 1992. Gandhavaṃsa: A History of Pali Literature. New Delhi: Eastern Book Linkers.

Cabaton, A.. 1980. Catalogue Sommaire des Manuscrit Sanscrits et Pālis. Paris: Ernest Leroux.

Devundara, Śrī Vācissara. 1983. Maha Pirit Pota. Colombo: Guṇasēna.

Geiger, Wilhelm, Batakrishna Ghosh and University of Calcutta. 1943. Pāli Literature and Language. Calcutta: University of Calcutta.

Hundius, Harald and David Wharton. 2011. “Digital Library of Lao Manuscripts” Accessed June 6, https://www.laomanuscripts.net.

Malalasekera, G.P.. 1928. The Pāli Literature of Ceylon. Colombo: Gunasena.

Minayeff. 1886. “Gandhavaṃsa.” In Journal of the Pali Text Society. pp. 54-80.

Müller, Edward. 1883. “Khuddhasikkhā-Mūlasikkhā.” Journal of the Pali Text Society 1: pp. 86-132.

Norman, K.R. 1993. "External Sandhi in Pāli with Special Reference to the Suttanipāta." In Journal of the Pali Text Society 19, pp. 203-13.

Panitchayapong, Supranee. 2018. “An Edition and Study of the Buddhānussati in the Pāli Caturārakkhā-aṭṭhakathā.” Journal of Ñāṇasaṃvara Centre for Buddhist Studies 1: pp.163-196.

Saddhātissa, H.. 1990. Pāli Literature of South-East Asia. Singapore: Singapore Buddhist Meditation Centre.

Vanaratne, Ranjith. 1980. Theravadi Samanera Banadaham Pota. Colombo: Samayawadhana.

Warder, A.K.. 1967. Pali Metre: A Contribution to the History of Indian Literature. London: The Pali Text Society.