การตั้งครรภ์บริสุทธิ์ (ตั้งครรภ์แบบไม่อาศัยเพศ) ในพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์

Main Article Content

Sermsuk Vijarnsathit

บทคัดย่อ

     ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์พบว่า สัตว์เพศเมียบางประเภท เช่น ไก่ หรือนกบางชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลาบางชนิดปลาฉลาม แมลงหลายชนิด สามารถออกไข่และฟักเป็นตัวได้เองโดยไม่ต้องอาศัยเพศผู้ (Parthenogenesis) สำหรับการตั้งครรภ์ที่ไข่เพศเมียไม่ได้ผสมกับอสุจิของเพศผู้หรือการตั้งครรภ์บริสุทธิ์ (Virgin Births) ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แม้ว่าปัจจุบันเราไม่สามารถเห็นได้ทางธรรมชาติ แต่จากห้องทดลองพบว่า หนูตัวเมียสามารถตั้งครรภ์ด้วยวิธีไม่อาศัยเพศหรือตั้งครรภ์โดยไม่ใช้อสุจิจากหนูตัวผู้ได้ และจากการค้นพบว่าเซลล์ไข่ (Oocyte) ของมนุษย์ในบางครั้งสามารถเกิดการแบ่งเซลล์พัฒนาไปเป็นตัวอ่อนมนุษย์ได้เองโดยไม่ต้องปฏิสนธิกับอสุจิ (Parthenote Embryo) ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้เช่นกันที่มนุษย์จะตั้งครรภ์ได้โดยไม่อาศัยอสุจิหรือตั้งครรภ์บริสุทธิ์ ซึ่งการค้นพบหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของมนุษย์และสัตว์ชนิดต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน สามารถนำมาสนับสนุนเนื้อหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์บริสุทธิ์ในอรรถกถาพระวินัยปิฎกได้
     ปัจจัยสำคัญต่อการเกิดแบบชลาพุชะ แม้จะมาจากสาเหตุการตั้งครรภ์ที่ต่างกันด้วยวิธีใดก็ตาม คือ อวัยวะที่ใช้ในการตั้งครรภ์หรือมดลูกที่มีระดูได้ และปฏิสนธิวิญญาณหรือคันธัพพะที่ปรากฏในครรภ์มารดา สอดคล้องกับเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่แม้ว่าจะสร้างเหตุของการตั้งครรภ์ได้ด้วยฝีมือมนุษย์ เช่น การสร้าง ตัวอ่อนมนุษย์ด้วยการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย การโคลน แต่ตัวอ่อนที่สร้างขึ้นมาได้นั้น ก็ไม่สามารถจะเพาะเลี้ยงให้โตเป็นมนุษย์ได้โดยปราศจากการย้ายตัวอ่อนสู่ครรภ์มารดาที่มีระดู (เยื่อบุโพรงมดลูก) เพื่อให้เกิดการฝังตัวเชื่อมต่อกายมารดาและเจริญเป็นมนุษย์ได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
Vijarnsathit, Sermsuk. 2020. “การตั้งครรภ์บริสุทธิ์ (ตั้งครรภ์แบบไม่อาศัยเพศ) ในพระพุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์”. ธรรมธารา 6 (2):29-60. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/234924.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

─2. หนังสือ

ปุ้ย แสงฉาย. มิลินทปัญหา ฉบับพร้อมด้วยอรรถกถา ฎีกา. กรุงเทพมหานคร: ลูก ส. ธรรมภักดี, 2528.

พระมหาหรรษา ธนมฺมหาโส. พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.

─3. วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์

พระโสภณ โสภโณ (พุ่มไสว). “การโคลนมนุษย์ในมุมมองของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทและผลกระทบทางสังคมในมุมมองของนักการศาสนาและนักวิทยาศาสตร์การแพทย์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, วิทยาลัยสหวิทยาการ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

พระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี). “วิเคราะห์การปฏิสนธิในคัมภีร์พระพุทธศาสนา: ศึกษากรณีพระโพธิสัตว์สุวรรณสาม.” สารนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.

เสริมสุข วิจารณ์สถิตย์, พญ.. “พัฒนาการของกำเนิดมนุษย์ในครรภ์เชิงเปรียบเทียบทรรศนะทางพระพุทธศาสนาและสูติศาสตร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

─4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

นัยนา เปลี่ยนดี, สุรไกร เพิ่มคำ และภาควิชาการจัดการศัตรูพืชคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “พฤติกรรมการถ่ายทอดลูกหลานของแมลง.” คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2561. http://natres.psu.ac.th/Department/PestManagement/Depart/Semina50/behaviors.ppt.

เบกกี ลิตเติ้ล. “ฉลามให้กำเนิดลูกโดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์.” National Geographic ฉบับภาษาไทย. 19 เมษายน 2560. https://ngthai.com/featured/758/birth-without-sex/.

มาลินี อัศวดิษฐเลิศ. “Parthenogenesis การตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องอาศัยเพศชาย.” คลังความรู้ SciMath. 19 สิงหาคม 2554. http://www.scimath.org/article-science/item/2147-parthenogenesis.

พบแพทย์ ข้อมูลสุขภาพที่ครบถ้วนและเชื่อถือได้. “กินน้ำอสุจิมีโอกาสท้องได้มั้ย ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์นะคะ.” สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561. https://www.pobpad.com/ถาม/หัวข้อ/กินน้ำอสุจิท้องได้มั้ย.

แพททริเกีย เอ็ดมอนด์. “มังกรโคโมโดวางไข่ได้เอง แม้ไม่มีตัวผู้ผสมพันธุ์.” National Geographic ฉบับภาษาไทย. 21 พฤศจิกายน 2560. https://ngthai.com/animals/5721/this-lady-lizard-can-reproduce-without-a-mate/.

• ภาษาต่างประเทศ

─1. บทความภาษาอังกฤษ

de Carli, Gabriel Jose and Tiago Campos Pereira. “On human parthenogenesis.” Medical Hypotheses, Vol. 106, no. 2, (September 2017): 57-60.

de Fried, Ester Polak, Pablo Ross, Gisela Zang, Andrea Divita, Kerrianne CunniFF, Flavia Denaday, Daniel Salamone, Ann Kiessling and Jose Cibelli. “Human parthenogenetic blastocysts derived from noninseminated cryopreserved human oocytes.” Fertility and Sterility, Vol. 89, no. 4, (April 2008): 943-947.