พระพุทธศาสนามหายาน: เหตุใดคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีความหลากหลาย (2)

Main Article Content

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย (คงคารัตนรักษ์)

บทคัดย่อ

     แม้จะมีพระพุทธศาสนานิกายต่างๆ เกิดขึ้นในยุคพระเจ้าอโศกแต่นิกายทั้งหลายเหล่านั้นยังสามารถดำรงอยู่ร่วมกันภายใต้ชื่อ “พระพุทธศาสนา” เหมือนๆ กัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนนิยามความหมายของ “สังฆเภท” และผลจากการปรับเปลี่ยนนี้ ทำให้พระพุทธศาสนายอมรับแนวคิดที่มีความหลากหลาย ตราบเท่าที่หมู่สงฆ์ยังคงทำสังฆกรรมร่วมกัน เมื่อโลกของพระพุทธศาสนาในยุคนั้นเริ่มมีแนวความคิดในการยอมรับแนวคิดที่แตกต่าง รวมถึงการตีความคำสอนในรูปแบบที่แตกต่างออกไปเช่นนี้ ย่อมสามารถอธิบายได้ถึงปรากฏการณ์การกำเนิดขึ้นของพระพุทธศาสนามหายาน
     พระพุทธศาสนามหายานมีแนวคิดเกี่ยวกับการบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า โดยไม่จำกัดว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ แนวคิดนี้อยู่บนพื้นฐานการศึกษาเรื่องราวในอดีตของพระศากยมุนีพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งทำให้พบว่า การที่พระ-โพธิสัตว์จะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าได้นั้น พระโพธิสัตว์จะต้องพบกับพระพุทธเจ้าในอดีต ดังนั้น พระพุทธศาสนามหายานในยุคต้นจึงได้อธิบายถึงวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้สามารถพบกับพระพุทธเจ้าได้ ดังที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรมหายานต่าง

Article Details

How to Cite
ฐานิโย (คงคารัตนรักษ์) พระมหาพงศ์ศักดิ์. 2020. “พระพุทธศาสนามหายาน: เหตุใดคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีความหลากหลาย (2)”. ธรรมธารา 6 (2):175-211. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/242284.
บท
บทความแปลจากภาษาต่างประเทศ
Bookmark and Share

References

SASAKI, Shizuka (佐々木閑). Gōtama wa ikanishite Budda to natta no ka ゴータマは、いかにしてブッダとなったのか (พระสมณโคดมเป็นพระพุทธเจ้าเช่นไร). Tokyo: NHK Publishing, 2013.

SASAKI, Shizuka (佐々木閑). Bessatsu NHK hyappun de meicho shūchū kōgi Daijō Bukkyō kōshite Budda no oshie wa henyō shita 別冊NHK100分de名著 集中講義 大乗仏教 こうしてブッダの教えは変容した (วรรณกรรมชื่อดังใน 100 นาทีของ NHK พระพุทธศาสนามหายาน: เหตุใดคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมีความหลากหลาย). Tokyo: NHK Publishing, 2017.