การศึกษาวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวที ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

อำนาจ สงวนกลาง

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญเชิงสัมพันธ์ของความกตัญญูกตเวทีในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นหลัก จากการศึกษาพบว่า ความกตัญญูกตเวทีหรือกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นคำสอนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้มีอุปการคุณเรียกว่า บุพพการีชนกับบุคคลผู้รู้อุปการคุณของบุคคลอื่นแล้วตอบแทนเรียกว่า กตัญญูกตเวทีชน ความกตัญญูกตเวที จึงหมายถึง การสํานึกรู้ในบุญคุณหรืออุปการคุณของผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีแก่ตนและการทําตอบแทนคุณด้วยการแสดงออกทางกายและทางวาจาด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง สรุปได้ว่า ความกตัญญูกตเวทีแบ่งออกเป็น 4 ประการ คือ 1. ความกตัญญูกตเวทีเป็นพื้นฐานของคนดี 2. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี 3. กตัญญูกตเวทีบุคคลในฐานะบุคคลหาได้ยากในโลก 4. ความกตัญญูกตเวทีเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต กล่าวได้ว่ามิติของความกตัญญูกตเวที ทั้ง 4 ประการนี้ จึงมีความสำคัญและเป็นหลักการทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่จะเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่คนในสังคม

Article Details

How to Cite
สงวนกลาง อำนาจ. 2021. “การศึกษาวิเคราะห์ความกตัญญูกตเวที ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. ธรรมธารา 7 (1):101-30. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244327.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Author Biography

อำนาจ สงวนกลาง, 0983840083

อำนาจ  สงวนกลาง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ต.ชมพู อ.เมือง จ.ลำปาง

52199

Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. พระไตรปิฎก

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

─2. หนังสือ

ธรรมสภา. พุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2540.

ปิ่น มุทุกันต์. แนวสอนธรรมะ ตามหลักสูตรนักธรรมตรี. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์คลังวิทยา, 2514.

พุทธทาสภิกขุ. พระคุณของแม่. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ดอกโมกข์, 2546.

─3. พจนานุกรม

ประยุทธ์ หลงสมบุญ. พจนานุกรม มคธ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: อาทรการพิมพ์, 2540.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546.

─4. วิทยานิพนธ์

พระครูเกษมสุตคุณ (เขมวีโร). “การศึกษาเปรียบเทียบคำสอนเรื่องกตัญญูในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาฮินดู.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.

พระมหาวชิรพงษ์ ปญฺญาวชิโร (มะพารัมย์). “การศึกษาเปรียบเทียบคําสอนเรื่องกตัญญูในลัทธิขงจื้อกับในพระพุทธศาสนาที่มีต่อครอบครัว.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.

─5. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ธรรมะไทย. “ประวัติพุทธสาวก.” สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563. http://www.dhammathai.org/monk/monk32.php.

พลังจิต. “อานิสงส์ของผู้มีความกตัญญู.” 5 ตุลาคม 2553. https://palungjit.org/threads/อานิสงส์ของผู้มีความกตัญญู. 260473/.