การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่อง ปฏิสนธิวิญญาณในพระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

ชินวัชร นิลเนตร

บทคัดย่อ

     บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปฏิสนธิวิญญาณในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. เพื่อศึกษาปฏิสนธิวิญญาณแบบข้ามภพข้ามชาติ 3. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปฏิสนธิวิญญาณกับเบญจขันธ์ ไตรลักษณ์ และปฏิจจสมุปบาท โดยใช้วิธีการวิจัยด้านเอกสารโดยการศึกษา สืบค้น รวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา โยชนา และหนังสือวิชาการ ตลอดถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ปฏิสนธิวิญญาณ คือ ปฏิสนธิจิต เป็นปฐมจิตและเป็นวิญญาณทำหน้าที่รู้แจ้งอารมณ์ 6 ประการ คือ (1) จักขุวิญญาณ (2) โสตวิญญาณ (3) ฆานวิญญาณ (4) ชิวหาวิญญาณ (5) กายวิญญาณ (6) มโนวิญญาณ เป็นองค์ประกอบสำคัญอันจะทำให้ชีวิต คือ ขันธ์ 5 เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ มีหน้าที่หลัก 8 อย่าง คือ (1) ทำหน้าที่รับรู้หรือรู้แจ้งอารมณ์ทางมโนทวาร เรียกว่า มโนวิญญาณ (2) ทำหน้าที่รับรู้หรือรู้แจ้งอารมณ์ทางตา เรียกว่า จักขุวิญญาณ (3) ทำหน้าที่รับรู้หรือรู้แจ้งอารมณ์ทางหู เรียกว่า โสตวิญญาณ (4) ทำหน้าที่รับรู้หรือรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก เรียกว่า ฆานวิญญาณ (5) ทำหน้าที่รับรู้หรือรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ (6) ทำหน้าที่รับรู้หรือรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย เรียกว่า กายวิญญาณ (7) ทำหน้าที่เคลื่อนจากภพเก่า เรียกว่า จุติจิต และ (8) ทำหน้าที่เกิดในภพใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต ซึ่งกระบวนการ
ดังกล่าวนั้นเป็นปรากฏการณ์แบบข้ามภพข้ามชาติตามกระบวนการปฏิจจสมุปบาท และอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นวัฏจักร ดุจวงล้อจนกว่าจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นการตัดวงล้อแห่งปฏิจจสมุปบาทอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น การเกิดใหม่จะมีขึ้นไม่ได้เพราะวงจรแห่งสังสารวัฏถูกตัดขาด และในพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้นไม่มีการรอคอยการเกิดใหม่ พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของจิตเป็นสำคัญ เมื่อจุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตจะเกิดขึ้นทันที สัตว์ที่ตายไปแล้วจะต้องมีภพภูมิรองรับและเกิดในทันที จนกว่าวงล้อแห่งปฏิจจสมุปบาทจะถูกตัดขาดอย่างสิ้นเชิง

Article Details

How to Cite
นิลเนตร ชินวัชร. 2021. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่อง ปฏิสนธิวิญญาณในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. ธรรมธารา 7 (1):173-210. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/244334.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

─1. พระไตรปิฎก

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2534.

─2. หนังสือ

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: กองทุน ป.อ. ปยุตฺโต, 2555

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

พระเมธีธรรมาภรณ์. พุทธศาสนากับปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ จำกัด, 2533.

─3. พจนานุกรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

─4. บทความ

กนกวรรณ กรุณาฤทธิโยธิน, พระครูโกศลศาสนบัณฑิต (กฤษณะ) และพระราชปริยัติกวี (สมจินต์). “อาลยวิชญาณตามแนวคิดของพุทธปรัชญาสำนักโยคาจารในทัศนะของพุทธปรัชญาเถรวาท.” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ 6, ฉบับพิเศษ, (พฤษภาคม 2561): 395-405.

พรพิมล จอโภชาอุดม และพิศาล จอโภชาอุดม. “แนวคิดเรื่องวิญญาณในพุทธปรัชญา.” วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 37-53.

วัชระ งามจิตเจริญ. “แนวคิดเรื่องอันตรภพในพุทธศาสนาเถรวาท.” วารสารศิลปะศาสตร์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2551): 19-56.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. “แนวคิด ‘สุขภาพ’ ในพุทธศาสนาเถรวาท.” วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, ปีที่ 32, ฉบับที่ 3, (พฤษภาคม-มิถุนายน 2560): 283-288.