ระบบการเรียนการสอนกัมมัฏฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

Main Article Content

Wutthichai Wutthichayo Teerapaopong

บทคัดย่อ

     คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์ที่อธิบายหลักการปฏิบัติที่นำไปสู่มรรคผลนิพพาน โดยอาศัยหลักศีล สมาธิและปัญญา ซึ่งหากนำรายละเอียดที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาจัดองค์ประกอบและสร้างเป็นระบบขึ้น จะพบความเป็นระบบการเรียนการสอนกัมมัฏฐาน กล่าวคือ มีองค์ประกอบของผู้เรียน ได้แก่ พระภิกษุผู้มีศีล ผู้สอน ได้แก่พระพุทธเจ้า พระอริยสาวกหรือภิกษุพหูสูต วิธีการเรียนการสอน ได้แก่ สมถะและวิปัสสนา สภาพแวดล้อม ได้แก่ สัปปายะ 7 และผลผลิตที่เกิดจากการปฏิบัติ ได้แก่ การบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเมื่อได้พิจารณาจากองค์ประกอบและความสัมพันธ์ในระบบดังกล่าวพบว่า ระบบการเรียนการสอนกัมมัฏฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นลักษณะของการปฏิบัติแบบสมถะนำหน้าวิปัสสนา ซึ่งมีคุณสมบัติของผู้เรียนในลักษณะของการปฏิบัติแบบพระธุดงค์กัมมัฏฐาน โดยในระบบการเรียนการสอนกัมมัฏฐานเน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง และการนำระบบการเรียนการสอนกัมมัฏฐานในวิสุทธิมรรคมาใช้ในยุคปัจจุบัน อาจมีข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มรูปแบบตามคุณสมบัติดังที่ปรากฏในคัมภีร์ อันจะส่งผลกระทบต่อระบบการเรียนการสอนและการบรรลุเป้าหมายของระบบคือ การบรรลุมรรคผลนิพพานได้

Article Details

How to Cite
Teerapaopong, Wutthichai Wutthichayo. 2021. “ระบบการเรียนการสอนกัมมัฏฐานในคัมภีร์วิสุทธิมรรค”. ธรรมธารา 7 (2):157-95. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/247504.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

—1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.

—2. หนังสือ

ทัศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุธาการพิมพ์, 2550.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2547.

พระพุทธโฆสะเถระ. วิสุทธิมรรค แปล ภาค 1 ตอน 1 ฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2538.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. ประมวลสาระชุดวิชาการจัดระบบทางการศึกษา หน่วยที่ 1-2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

วริยา ชินวรรโณ และคณะ. สมาธิในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.

—3. วิทยานิพนธ์

พระมหาพิศิษย์ ธีรปญฺโญ (กังวานวาณิชย์). "การบริการจัดการสำนักกรรมฐาน: ศึกษาเฉพาะกรณีสัตยา นารายัน โกเอ็นก้า. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551.

—4. บทความ

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. “สมถวิปัสสนาในคัมภีร์อภิธรรมนิกายสรวาสติวาท,” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 4), (มกราคม-มิถุนายน 2560): 199.

พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย. “การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย,” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 6, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 10), (มกราคม-มิถุนายน 2563): 18.

• ภาษาอังกฤษ

—1. หนังสือภาษาอังกฤษ

Bhikkhu Nyanamoli (trans.), The Path of Purification, Visuddhimagga, Buddhist Publication Society, Kandy 2011.