อาบัติลักทรัพย์ในทุติยปาราชิก : การตีความแบบหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความหมายของอาบัติทุติยปาราชิก จากเดิมตามประเพณีที่พิจารณาอาบัติจากมูลค่าของทรัพย์สินที่มากกว่า 5 มาสก เป็นการลักทรัพย์ในระดับที่มีความผิดตามกฎหมายซึ่งเจ้าหน้าที่บ้านเมืองสามารถลงโทษทางอาญาได้ เหตุผลของเรื่องนี้คือพระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติปาราชิกแก่ผู้ลักทรัพย์หรือทำให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายซึ่งมีมูลค่าเกินกว่า 5 มาสกอันเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายของแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล และต่อมานำมาใช้ในการพิจารณาปรับอาบัติลักทรัพย์ที่เกิดขึ้นในสถานที่อื่น ๆ ที่กฎหมายของแคว้นมคธเข้าไม่ถึงด้วย เจตนารมณ์ของการบัญญัติสิกขาบทนี้คือ เพื่อให้พระภิกษุผู้ลักทรัพย์ซึ่งทำผิดตามกฎหมายพ้นจากสภาพความเป็นพระภิกษุแล้วไปรับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง ไม่ให้ความเป็นพระภิกษุคุ้มครองบุคคลผู้กระทำความผิด และใช้อัตราโทษเดียวกันนี้ในพื้นที่อื่น ๆ ด้วยเพื่อให้การปรับอาบัติลักทรัพย์ในสมัยนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้เขียนเห็นว่าไม่ควรยึดมูลค่า 5 มาสกเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาอาบัติทุติยปาราชิกเพราะค่าเงินในแต่ละสังคมและยุคสมัยไม่เท่ากัน มีผลทำให้การปรับอาบัติไม่เป็นธรรม ดังนั้น เพื่อคงเจตนารมณ์ของสิกขาบท การพิจารณาอาบัติทุติยปาราชิกจึงควรพิจารณาว่าการลักทรัพย์หรือการทำให้เสียทรัพย์นั้นอยู่ในระดับที่เป็นความผิดทางอาญาในสังคมที่พระภิกษุนั้นสังกัดหรือจำพรรษาอยู่หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย การลักทรัพย์ของผู้อื่นไม่ว่าจะมีมูลค่ามากหรือน้อยเพียงใดย่อมเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ หากมีการร้องทุกข์กล่าวโทษเพื่อเอาผิดตามกฎหมาย อาบัติทุติยปาราชิกในสังคมไทยจึงต้องพิจารณาที่การร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. คัมภีร์
กรมศาสนา. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ, 2525.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2538.
---2. หนังสือ
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. วินัยมุข เล่ม 1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2557.
คณะกรรมการแผนกตำรา. ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล เล่ม 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561.
คณะกรรมการแผนกตำรา. มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2560.
คณะกรรมการแผนกตำรา. อุปกรณ์วินัยมุขเล่ม 1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559.
คณะทำงานวัดเขาสนามชัย. สารพันปัญหาพระวินัย เล่ม 1. ม.ป.ท., 2558. https://drive.google.com/file/d/0B9k1g1uC3RG_alBGTjRlSTdHaEU/view.
ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์. สังคมกับกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2563.
ปลื้ม โชติษฐยางกูร. คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล). ข้อที่ควรจำในวินัยมุขเล่ม 1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์). นิติศาสตร์แนวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2555.
---3. พจนานุกรม
พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, 2558.
---4. บทความ
บรรณาธิการ. “เบญจศีลกับปาราชิก.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 22, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2558): 5-12.
วิจิตร เรือนอินทร์. “การบังคับให้พระภิกษุต้องสละสมณเพศเมื่อถูกกล่าวหาคดีอาญา.” วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2562): 293-306.
อำนาจ ยอดทอง. “อทินนาทานในปาราชิก: ปัญหาและทางออกในสังคมไทย.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 22, ฉบับที่ 1, (มกราคม-เมษายน 2558): 37-59.
---5. ข้อมูลจากเว็บไซต์
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กระดานสนทนา. “อยากสอบถามครับ 5 มาสกนี่มันเท่าไรกันเเน่ครับ.” 2 พฤษภาคม 2557.
https://www.dhammahome.com/webboard/topic/24794.
รุจิระ บุนนาค. “คดีอาญากับการสละสมณเพศ.” สำนักกฎหมาย มารุต บุนนาค อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ ออฟฟิศ, 22 มิถุนายน 2561. http://www.marutbunnag.com/article/548/.
พระวิทยา กิจฺจวิชฺโช. “5 มาสก เป็นเงินเท่าไร.” วัดป่าดอยแสงธรรมญาณสัมปันโน. https://www.doisaengdham.org/สายธารธรรม-โดยเจ้าอาวาส/5-มาสก-เป็นเงินเท่าไร.html.
Pantip. “ปัญหา 5 มาสก เป็นเท่าไหร่ตามพุทธวจนะ.” 28 มีนาคม 2558. https://pantip.com/topic/33436325.
---6. สื่อออนไลน์
พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท. “5 มาสกในอทินนาทานปาราชิกถ้าคิดเป็นเงินไทยในปัจจุบันจะเท่ากับกี่บาท.” เผยแพร่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562, วิดีโอยูทูป.
https://www.youtube.com/watch?v=MxtqTipNi9g.
---7. รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ กฎหมาย ประกาศ
ประมวลกฎหมายอาญา.” 13 พฤศจิกายน 2499. http://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา.” 5 มิถุนายน 2478. https://www.roadsafetythai.org/content/doc_20181208163504.pdf.
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. 25 ธันวาคม 2505. https://ssc.onab.go.th/th/file/get/file/202105080effa87d1b892bfc36a4bf48b4ddf3d2155505.pdf.
• ภาษาต่างประเทศ
---1. บทความภาษาอังกฤษ
Hinüber, Oskar Von. “Buddhist Law According to the Theravada-Vinaya A Survey of Theory and Practice.” Journal for International association of Buddhist Studies, 18 (1), (1995): 7-45.