การศึกษาการสืบสายคัมภีร์ใบลานจากศัพท์ต่างที่ปรากฏ : กรณีศึกษาคัมภีร์ทีฆนิกายฉบับใบลานอักษรขอม

Main Article Content

บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์

บทคัดย่อ

        โครงการพระไตรปิฎกวิชาการได้ทำงานสำรวจและรวบรวมต้นฉบับใบลานคัมภีร์ทีฆนิกายจากคัมภีร์ใบลาน 5 สายจารีต ได้แก่ สายอักษรสิงหล พม่า ขอม ธรรม และมอญ  รวมทั้งสิ้นมากกว่า 100 ฉบับ แล้วคัดเลือกต้นฉบับใบลานเก่าแก่และเหมาะสมที่สุดจากแต่ละสายจารีตจำนวนทั้งสิ้น 48 ฉบับ เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาเปรียบเทียบต้นฉบับใบลานจำนวนมากเช่นนี้ นอกจากจะช่วยให้มองเห็นความคลาดเคลื่อนในการสืบทอดคัมภีร์ใบลานสายต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้สาวย้อนกลับไปหาคำอ่านดั้งเดิมได้อย่างถูกต้องแม่นยำอีกด้วย  ศัพท์ต่างระหว่างต้นฉบับใบลานที่เป็นพระไตรปิฎกบาลีทั้งที่ปรากฏข้ามสายอักษรและทั้งที่ปรากฏอยู่ในสายอักษรเดียวกันเปรียบเสมือนจิ๊กซอว์เล็ก ๆ ที่เมื่อนำมาต่อเข้าด้วยกันแล้วจะทำให้เห็นภาพใหญ่ของการสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีได้  บทความนี้ได้มุ่งเน้นศึกษาจิ๊กซอว์ดังกล่าวที่พบในต้นฉบับใบลานอักษรขอมของคัมภีร์ทีฆนิกาย จนนำไปสู่ข้อสรุปว่า ประเทศไทยสามารถรักษาสืบทอดคัมภีร์พระไตรปิฎกบาลีมาได้อย่างตลอดต่อเนื่อง แม้จะประสบวิกฤตปัญหาที่คัมภีร์ใบลานได้สูญหายหรือถูกทำลายไปตามธรรมชาติหรือศึกสงครามต่าง ๆ อาทิเช่น เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่สอง เป็นต้น อีกทั้งยังสันนิษฐานได้อีกว่าพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานอักษรขอมน่าจะมีการสืบสายต่อกันมาอย่างน้อย 2 สายย่อย คือ ต้นฉบับสายก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ และต้นฉบับสายกรุงรัตนโกสินทร์


 

Article Details

How to Cite
ชวลิตเรืองฤทธิ์ บรรเจิด. 2022. “การศึกษาการสืบสายคัมภีร์ใบลานจากศัพท์ต่างที่ปรากฏ : กรณีศึกษาคัมภีร์ทีฆนิกายฉบับใบลานอักษรขอม”. ธรรมธารา 8 (1):3-30. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/247867.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

---2. หนังสือ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานหอพระสมุด หอพระมณเฑียรธรรม หอวชิรญาณ หอพุทธสาสนสังคหะ แลหอสมุดสำหรับพระนคร. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร. 2459.

---3. บทความ

บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานเพื่อวินิจฉัยคำต่างในพระไตรปิฎก: กรณีศึกษาจากสุภสูตรแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8) (มกราคม-มิถุนายน 2562): 118-158.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. หนังสือภาษาอังกฤษ

Geiger, Wilhelm. A Pāli Grammar. Translated by Batakrishna Ghosh. Revised and Edited by K. R. Norman. Oxford: PTS. 2005.

Yamanaka, Yukio. Dīghanikāya vol. 1: Sīlakkhandhavagga. Dhammachai Tipiṭaka Series. Forthcoming.

---2. บทความภาษาอังกฤษ

Chaowarithreonglith, Bunchird. “Tracing Back Manuscript Lineages Through Variant Readings: Focused on Khom Script Manuscripts of the Dīghanikāya.” Journal of Indian and Buddhist Studies, 151, (2020): 1155-1159.

von Hinüber, Oskar. “Pāli Manuscripts of Canonical Texts from North Thailand - A Preliminary Report.” Journal of the Siam Society, 71, (1983): 75-88.

Somaratne, G. A. “Middle Way Eclecticism: The Text-Critical Method of the Dhammachai Tipiṭaka Project.” Journal of Buddhist Studies, 12, (2015): 207–239.

Wynne, Alexander. “A Preliminary Report on the Critical Edition of the Pāli Canon Being Prepared at Wat Phra Dhammakāya.” Thai International Journal for Buddhist Studies, 4, (2013): 135–170.