การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนบ้านกัลยาณมิตรด้วยหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนบ้านกัลยาณมิตรด้วยหลักพุทธธรรม มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพบ้านกัลยาณมิตรและแนวคิดความเข้มแข็งของชุมชน 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน 3) เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนบ้านกัลยาณมิตร และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ “การบูรณาการการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนบ้านกัลยาณมิตรด้วยหลักพุทธธรรม” งานวิจัยนี้ได้ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนามที่จำเป็น (Field Work) โดยทำการศึกษารวบรวมเอกสารทางวิชาการ ศึกษาหลักธรรมจากคัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาพระพุทธศาสนา ข้อมูลจากตำราวิชาการ งานวิจัยต่าง ๆ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 กลุ่ม คือ 1) ผู้ที่อยู่ในส่วนก่อตั้งโครงการบ้านกัลยาณมิตร รวม 3 รูป/คน 2) คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการบ้านกัลยาณมิตร รวม 8 รูป/คน 3) ผู้รอบรู้เกี่ยวกับหลักพุทธธรรม รวม 4 รูป/คน และ 4) บุคคลที่เข้าร่วมโครงการบ้านกัลยาณมิตร รวม 10 คน และเสวนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 8 คน
ผลการวิจัยพบว่า โครงการบ้านกัลยาณมิตรก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 มีแนวคิดเพื่อฟื้นฟูศีลธรรมและสร้างเครือข่ายคนดี ขยายสู่ครอบครัวและชุมชน โดยใช้หลักพุทธธรรมเป็นตัวเสริมสร้างความเข้มแข็ง ได้แก่ หลักกัลยาณมิตรธรรม 7 หลักสังคหวัตถุ 4 หลักสาราณียธรรม 6 หลักจักร 4 และหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 เพื่อทำประโยชน์และรับผิดชอบร่วมกันในสังคม
การบูรณาการการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนบ้านกัลยาณมิตรด้วยหลักพุทธธรรมเพื่อนำไปสู่การสร้างชุมชนบ้านกัลยาณมิตรที่เข้มแข็งอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านวัฒนธรรม พบว่าให้ปลูกฝังสัมมาทิฐิตามหลักธรรม ปฏิบัติตามกฎระเบียบ เงื่อนไขการอยู่ร่วมกันในชุมชน มีมารยาททางสังคม ให้เกียรติกันและกัน และรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 2) ด้านสังคมพบว่า ให้สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก เป็นกัลยาณมิตรให้แก่กันและส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของตน 3) ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ให้มีความสะอาด ความสะดวก ปลอดภัย เป็นระเบียบ เดินทางสะดวก เอื้อต่อการเรียนรู้และทำความดี
องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ การตรวจสอบความเข้มแข็งของชุมชนโดยให้ผู้นำเป็นที่ยอมรับของชุมชนขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นพลวัตบนฐานความถูกต้อง เรียกว่า RIABS Model
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. คัมภีร์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
---2. หนังสือ
โกวิท พวงงาม. การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์, 2553.
---3. บทความ
จักรีศรี จารุเมธีญาณ และพระถนัด วฑฺฒโน. “ภาวะผู้นำกับการพัฒนาชุมชน.” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ 6, ฉบับเพิ่มเติม, (2561): 527-538.
ชัชพงศ์ เทียมทันวณิช และวรเชษฐ์ โทอื้น. “การนำหลักสังคหวัตถุธรรม 4 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านห้องพอก ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ปีที่ 9, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 212-226.
ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ์. “หลักธรรมกับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง.” วารสารธรรมวิชญ์, ปีที่ 2, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562): 312-317.
ประจักษ์ ขุราศี. “การบูรณาการหลักธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนในสังคมไทยให้เข้มแข็ง.” วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, ปีที่ 5, ฉบับที่ 3, (กันยายน 2561): 113-122.
พัชนี ตูเล๊ะ. “ปัจจัยที่ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนราธิวาส.” Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 11, ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม-สิงหาคม 2561): 3561-3575.
พระธนโชติ จนฺทโชโต และพระโสภณ พัฒนบัณฑิต. “การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของอุบาสก อุบาสิกาบ้านหนองคูม่วง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.” วารสารปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 4, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2562): 1-21.
พระปลัดบุญมี คุณากโร (โพธิศรีสม). “การศึกษาวิเคราะห์การใช้หลักสาราณียธรรมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ของชุมชนเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 4, (เมษายน 2563): 132-143.
ยุทธนา พูนเกิดมะเริง และพระสิทธิศักดิ์ พรมสิทธิ์. “กัลยาณมิตรกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพระพุทธศาสนา.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 10, (ตุลาคม 2563): 197-208.
สุรวุฒิ ปัดไธสง. “วัฒนธรรมชุมชน : เงื่อนไขความเข้มแข็งชุมชน/หมู่บ้าน.” วารสารพฤติกรรมศาสตร์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, (กันยายน 2545): 11-20.
---4. วิทยานิพนธ์
กัญจนพรรษณ์ จุพรมณี. “กาพัฒนาชุมชนเข้มแข็งเชิงพุทธบูรณการของหมู่บ้านศาลาเม็ง ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
---5. ข้อมูลจากเว็บไซต์
กองบรรณาธิการ. “เรื่องจากปก.” กัลยาณมิตร เพื่อนแท้สำหรับคุณ, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563. http://www.kalyanamitra.org/th/uniboon_detail.php?page=1902.
โครงการรักษาศีล 5. “โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5.” สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2563. https://www.sila5.com/detail/.
แนน ลั่นทม (Nan Luntom). “ประเภทของวัฒนธรรมไทย.” Thai love cultural, 15 กุมภาพันธ์ 2558. https://thailovecultural.wordpress.com/category/ประเภทของวัฒนธรรมไทย/.
มติมหาเถรสมาคม. “รายงานการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ‘หมู่บ้านรักษาศีล 5’ ชุดใหม่.” มหาเถรสมาคม, 21 มีนาคม 2561. http://mahathera.onab.go.th/index.php?url=mati&id=7935.
“วัตถุประสงค์ของบ้านกัลยาณมิตร.” กัลยาณมิตร เพื่อนแท้สำหรับคุณ, วันที่ 9 เมษายน 2558. https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=7773.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554).” กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. https://www.nesdc.go.th/download/plan10/draft_summary_plan10.pdf.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “Final Value Chain Thailand (10) การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม.” สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563. http://nscr.nesdb.go.th/wp-content/uploads/2020/07/finalVC10_v2.pdf.