จาตุรงคสันนิบาต (1): ที่มาของพุทธประเพณีมาฆบูชาในสังคมไทย

Main Article Content

พงษ์ศิริ ยอดสา
วิไลพร สุจริตธรรมกุล

บทคัดย่อ

         จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง เหตุการณ์ 4 ประการที่เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวพระอรหันต์ขีณาสพผู้มีอภิญญา ได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา จำนวน 1,250 รูป มารวมตัวกันตามธรรมดาของตนไม่มีผู้ใดนัดหมาย ณ เวฬุวันมหาวิหาร จาตุรงคสันนิบาตเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 3 หรือวันมาฆบูชา ชาวพุทธไทยรับรู้จากการพระราชกุศลมาฆบูชาคราวรัชกาลที่ 4 ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และส่งต่อมายังราษฎรทั่วไปให้ได้ถือเอากิจกรรมนี้ไปปฏิบัติบูชาในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติ
         การพระราชกุศลมาฆบูชาตามที่มาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นการปฏิบัติตามแบบโบราณบัณฑิต มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นพระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียและศรีลังกา เนื่องจากมีแบบของโบราณบัณฑิตดังกล่าวให้ข้อมูลที่ตรงกับคัมภีร์อรรถกถา มัชฌิมนิกาย ทีฆนขสูตร และจุดนี้เองนำไปสู่การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องจาตุรงคสันนิบาต นอกจากนั้น ยังพบข้อมูลเรื่องจาตุรงคสันนิบาตเพิ่มเติมในคัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย มหาปทานสูตรอีกแห่งหนึ่ง เมื่อศึกษาข้อความจากคัมภีร์อรรถกถาทั้งสองพบว่า มีความสอดคล้องกันทั้งเหตุการณ์และบริบทรอบข้าง เพียงแต่รายละเอียดของจาตุรงคสันนิบาต มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งความสอดคล้องกันของอรรถกถาทั้งสองนี้สามารถนำไปสู่การศึกษาข้อมูลในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎกได้ แม้ว่าในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย ทีฆนขสูตร จะไม่ปรากฏเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงองค์จาตุรงคสันนิบาตก็ตาม แต่ก็ยังมีคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาปทานสูตร อีกหนึ่งคัมภีร์ที่อาจเป็นกุญแจไขคำตอบเรื่องเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎกก็เป็นได้

Article Details

How to Cite
ยอดสา พงษ์ศิริ, และ สุจริตธรรมกุล วิไลพร. 2022. “จาตุรงคสันนิบาต (1): ที่มาของพุทธประเพณีมาฆบูชาในสังคมไทย”. ธรรมธารา 8 (2):135-72. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/256525.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาบาลี

---1. คัมภีร์

มหามกุฏราชวิทฺยาลเยน ปกาสิตํ. สฺยามรฏฺสฺส เตปิฎกํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2538.

มหามกุฏราชวิทฺยาลเยน ปกาสิตํ. สฺยามรฏฺสฺส เตปิฏกฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2535.

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. (พิมพ์ครั้งที่ 6) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555.

---2. หนังสือ

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. เอกสารประชาสัมพันธ์งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลมาฆบูชา ประจำปี 2561. โรงพิมพ์อักษรไทย: กรุงเทพมหานคร, 2561.

พัฒน์ เพ็งผลา. บาลีสันสกฤตในภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541.

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทย ถนนรองเมือง, 2463.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์). วันสำคัญของชาวพุทธไทย. มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต): ม.ป.พ., 2556. https://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/important_buddhist_days_in_thailand.pdf.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พุทธประวัติ เล่ม 1. ม.ป.ท.: โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ, 2455.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พุทธประวัติ มัชฌิมโพธิกาล (พุทธประวัติ เล่ม 2). ม.ป.ท.: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2493.

สุรสิทร์ ไชยรัตน์. คัมภีร์ใบลานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.

---3. บทความ

เด่นพงษ์ แสนคำ และอัครยา สังขจันทร์. “บทวิเคราะห์รัฐไทยกับการปฏิรูปพุทธศาสนาในสมัย ร.4 และ ร.5.” วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2563): 141-170.

นพดล ปรางค์ทอง. “‘จาตุรงคสันนิบาต’ ในพระไตรปิฎก และการแสดงโอวาทปาติโมกข์ในสมัยพระโคดมพุทธเจ้า.” วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2563): 89-97.

พิเศษ ปิ่นเกตุ. “ความสืบเนื่องของพระราชพิธีในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์.” วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, ปีที่ 12, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2563): 7-22.

สาโรจน์ บัวพันธุ์งาม. “การกลายเสียงสระของคำยืมภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย.” วารสารดำรงวิชาการ, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1, (มกราคม-มิถุนายน 2560): 147-174.

อาทิตย์ ศรีจันทร์. “พระราชพิธีสิบสองเดือน: อรรถกถาธิบายแห่งความศิวิไลซ์และการจัดระเบียบจักรวาลวิทยาแบบสมัยใหม่ในพระราชพิธีของสยาม.” วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557):149-184.

---4. วิทยานิพนธ์

โดม ไกรปกรณ์. “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.

ณัฐกานต์ บุญยะดาษ. “การศึกษาพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในพระราชนิพนธ์เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

พิชัย ยินดีน้อย. “การศึกษาประกาศการพระราชพิธี ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย (รัชกาลที่ 1-6).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.

---5. ข้อมูลจากเว็บไซต์

วิภัส เลิศรัตนรังษี. “โลกการเมืองในพระราชพิธีสิบสองเดือน,” ACADEMIA, สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564. https://www.academia.edu/40804994/_2562_โลกการเมืองในพระราชพิธีสิบสองเดือน.

nakhonsithammarat. “ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานพระราชพิธี งานรัฐพิธี และงานพิธีต่างๆ.” สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565. http://www.nakhonsithammarat.go.th/web_52/datacenter/doc_download/k_ceremory.pdf.

Plookpedia. “ประเพณีหลวงและประเพณีราษฎร์.” true ปลูกปัญญา, 21 เมษายน 2560. https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/57572/-timhis-tim-his-cul-otherknowledge-.

---6. สื่อออนไลน์

ณัชพล ศิริสวัสดิ์. “พุทธศิลป์อินเดียในคติมหายาน อ.ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ Ep1.” วิดีโอยูทูป Chedha Tingsanchali, เผยแพร่เมื่อ 2 มีนาคม 2564, 13:25-14:10. https://www.youtube.com/watch?v=mTXXqkMwMDo.

พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย), “ไขข้อสงสัย ครั้งที่ 30 | 09-10-64 | ThanavuddhostoryOfficial,” วิดีโอยูทูป พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ThanavuddhoStoryOfficial, เผยแพร่เมื่อ 9 ตุลาคม 2564, 15:15-18:10. https://www.youtube.com/watch?v=vh4NqLej5Lo.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. หนังสือ

Warder, A.K.. Indian Buddhism. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers, 2000.

---2. พจนานุกรม

Davids, T.W. Rhys and William Stede. The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary. The Pali Text Society, 1921-1925.

---3. บทความภาษาอังกฤษ

von Hinüber, Oskar. “Building the Theravada Commentaries Buddhaghosa and Dhammapala as Authors, Compilers, Redactors, Editors and Critics.” Journal of the International Association of Buddhist Studies, Vol 36/37, (2013/2014): 355-364.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

“Magha Puja Day.” translate by Thanapol Chadchiadee and Marco Roncarati, Ministry of Culture, 23 August 2015. https://www.m-culture.go.th/en/article_view.php?nid=29.