ใบลานเรื่อง “สมันตกูฏวัณณนา” ฉบับรดน้ำแดง รัชกาลที่ 2: การศึกษาต้นฉบับ และทบทวนกับฉบับพิมพ์ของสมาคมบาลีปกรณ์ (Pāli Text Society)
Main Article Content
บทคัดย่อ
สมันตกูฏวัณณนาเป็นวรรณคดีบาลีที่พระเวเทหเถระแต่งขึ้นในเกาะลังกา ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสรรเสริญภูเขาสมันตกูฏเป็นหลัก ต้นฉบับใบลานเรื่องนี้ในปัจจุบันเท่าที่พบในประเทศไทยมี 5 ฉบับ บทความนี้มุ่งศึกษาต้นฉบับหมายเลข 2298/ก/1-2 อันเป็นฉบับรดน้ำแดง สมัยรัชกาลที่ 2 โดยศึกษาลักษณะของต้นฉบับใบลาน เครื่องหมายต่าง ๆ ตัวเกษียน และการแก้ไขข้อความ และทบทวนกับฉบับพิมพ์ของสมาคมบาลีปกรณ์ (Pāli Text Society) เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะของต้นฉบับใบลาน
ผลการศึกษาพบว่า ต้นฉบับนี้มีเอกลักษณ์ตรงที่ความงดงามของลวดลายรดน้ำบนพื้นรักแดงของปกหน้าและปกหลัง มีการแก้ไขข้อความในหลายรูปแบบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า มีผู้นำต้นฉบับมาใช้งานหลังจากที่สร้างต้นฉบับเสร็จแล้ว ส่วนการทบทวนกับฉบับพิมพ์ของสมาคมบาลีปกรณ์พบข้อสังเกต 4 ประการ ได้แก่ (1) ต้นฉบับใบลานมีการจารรูปคำภาษาบาลีต่างจากฉบับพิมพ์ (2) ต้นฉบับใบลานช่วยสันนิษฐานคำที่ควรถูกต้องให้แก่ฉบับพิมพ์ได้ในกรณีที่ฉบับพิมพ์มีข้อบกพร่องที่อาจเกิดจากกระบวนการพิมพ์ (3) ฉบับพิมพ์มีเนื้อความที่สมบูรณ์กว่าต้นฉบับใบลาน และ (4) ต้นฉบับใบลานและฉบับพิมพ์สืบสายการคัดลอกต่างสาขากัน การทบทวนต้นฉบับทั้งสองนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ปัจจุบันจะมีคัมภีร์ทางพุทธศาสนาพิมพ์เผยแพร่เป็นจำนวนมากแล้ว แต่การศึกษาต้นฉบับใบลานก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและไม่ควรถูกมองข้าม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. คัมภีร์
ศานติ ภักดีคำ. ตำราไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2560.
---2. หนังสือ
กรรมการหอพระสมุดฯ. บาญชีคัมภีร์ภาษาบาลี แล คัมภีร์สันสกฤต อันมีฉบับในหอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร. ให้พิมพ์ในงานเฉลิมพระชันษาซายิด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณะ. ม.ป.ท.: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2464.
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และวิรัตน์ อุนนาทรวรางกูร. คัมภีร์ใบลานฉบับหลวงในสมัยรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2546.
จตุพร ศิริสัมพันธ์, พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, เอมอร เชาวน์สวน, สมภพ มีสบาย และศิวพร ฮาซันนารี. ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2548.
วิสุทธ์ บุษยกุล. แบบเรียนภาษาสันสกฤต. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
สุรสิทธิ์ ไทยรัตน์. คัมภีร์ใบลานในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
---3. บทความ
พระมหากวีศักดิ์ วาปีกุลเศรษฐ์. “ชาลีกัณหาอภิเสกกัณฑ์ ฉบับภาษาบาลีของวัดบวรนิเวศวิหาร: การศึกษาต้นฉบับ การปริวรรต และการแปล.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 28, ฉบับที่ 1, (มกราคม - เมษายน 2564): 57-108.
ศานติ ภักดีคำ. “อักษรขอม จากอักษรเขมรโบราณสู่อักษรลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ส่งอิทธิพลให้กัมพูชา.” สรรพศาสตร์ สรรพศิลป์ ถิ่นลพบุรี. ลพบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีและภาคี, 2559: 394-405.
สุปราณี พณิชยพงศ์. “การตรวจชำระและศึกษาพุทธานุสสติในคัมภีร์จตุรารักขาอรรถกถาบาลี.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562): 39 - 99.
---4. วิทยานิพนธ์
เจียระไน วิทิตกูล. “มหายุทธการวงส์: ราชาธิราชฉบับภาษาบาลี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.
พระมหากวีศักดิ์ วาปีกุลเศรษฐ์. “วรรณกรรมบาลีเรื่องสมันตกูฏวัณณนา: การศึกษาวรรณศิลป์และสังคม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563.
วัลลีย์ ภิงคารวัฒน์. “ชินาลังการ: การตรวจชำระและการศึกษาเชิงวิเคราะห์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522.
วาสน์ มุขยานุวงศ์. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์ชินจริต.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531.
• ภาษาต่างประเทศ
---1. คัมภีร์ภาษาบาลี
สมนฺตกูฏวณฺณนา. หนังสือใบลาน 2 ผูก. อักษรขอม. ภาษาบาลี. เส้นจาร. ฉบับรดน้ำแดง รัชกาลที่ 2. เลขที่ 2298/ก/1-2. กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก สำนักหอสมุดแห่งชาติ, ม.ป.ป.
Samantakūṭavaṇṇanā of Vedeha Thera. Edited by C. E. Godakumbura. London: Pāli Text Society, 1958.
---2. หนังสือภาษาอังกฤษ
In Praise of Mount Samanta (Samantakūtavaṇṇanā) by Vedeha Thera. Translated by Ann Appleby Hazlewood. London: Pāli Text Society, 1986.
---3. วิทยานิพนธ์
Sirisawad, Natchapol. “The Mahāprātihāryasūtra in the Gilgit Manuscripts: A Critical Edition, Translation and Textual Analysis.” PhD diss., Ludwig Maximilian University of Munich, 2019.