การศึกษาวิเคราะห์บันทึกสำคัญท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรม วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อบันทึกสำคัญจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรม วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ใบลานที่มีอายุระหว่าง 500 – 150 ปี อยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2110 – พ.ศ. 2396 จำนวน 93 เรื่อง
ผลการวิจัยพบว่า ข้อบันทึกสำคัญจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรมมี 4 ด้านหลัก คือ (1) ด้านบุคคล มีหลากหลายกลุ่มบุคคล จำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ นักบวชและคฤหัสถ์ เป็นผู้มีส่วนในการสร้างคัมภีร์ใบลาน ต่างกันที่สมณศักดิ์ในการเรียกขาน ซึ่งมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตในด้านความเชื่อของท้องถิ่น การใช้สมณศักดิ์ต่างกันเพื่อบ่งชี้ความสามารถด้านการศึกษาและด้านการบริหาร (2) ด้านความปรารถนา ผู้สร้างคัมภีร์ตั้งความปรารถนาให้เกิดประโยชน์กับตนเองในชาตินี้และชาติหน้า ผู้ที่ต้องการสู่ทางพ้นทุกข์จึงสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานไว้ โดยผูกคาถาว่า นิพพานปัจจโย โหตุ คำปรารถนาได้สืบต่อถึงปัจจุบันเมื่อทำบุญกุศลทุกครั้งมักจะอธิษฐานกำกับว่า นิพพานปัจจโย โหตุ (3) ด้านสถานที่ อักษรธรรมอีสานได้รับอิทธิพลมาจากอักษรธรรมล้านช้างและพื้นที่ภาคอีสาน ด้วยเหตุสภาพพื้นที่ใกล้กัน วัฒนธรรมทางการศึกษา และการใช้อักษรธรรมในการติดต่อสื่อสาร และ (4) ด้านคำถ่อมตน จารึกถึงความถ่อมตนด้านความรู้ของผู้จาร มีปรากฎน้อยมากในงานวิจัยนี้
และพบจุดที่น่าสังเกตที่สำคัญ คือ 1) การใช้ศักราช ใช้แบบจุลศักราช มีความหมาย 2 นัยยะ คือ ใช้บอกจุลศักราชปกติและใช้บอกพุทธศักราช 2) การใช้ปี 2 แบบ คือ ปีหนไทยและปีนักษัตรไทย 3) ยาม มียามกองงาย ยามแถใกล้เที่ยง ยามกองเที่ยง หรือ ยามเที่ยง ยามกองแลง ยามแถใกล้ค่ำ 4) เดือนที่สร้างมากที่สุด คือ เดือนเมษายน 5) ข้างขึ้นข้างแรมที่พบมากที่สุด คือ ข้างขึ้น และ 6) สร้างเสร็จในวันพระมีมากถึง 12 เรื่อง
ผู้วิจัยกล่าวได้ว่า การจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรม ถือเป็นการสืบเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษที่ต้องการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นและคงอยู่ไปนานเท่านาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. คัมภีร์
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและและอรรถกถาแปล เล่มที่ 4, 20. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552
---2. หนังสือ
กรมศิลปากร. ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 18 จังหวัดยโสธร. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์. 2555.
______. ศาสนวงศ์ หรือ ประวัติศาสนา. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โสม ฉนฺโน). พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2411 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พิมพ์เป็นที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค). พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, 2477.
บุญชู ภูศรี. อุบลใบลานนิทัศน์: อักษร ประวัติศาสตร์ และศาสนา. อุบลราชธานี: สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลป-วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2562.
พระโพธิวงศาจารย์. ทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์โบราณ. พระนคร: ศรีหงส์. 2471.
พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: ศรีปัญญา. 2557.
ศานติ ภักดีคำ. พระมหาเจษฎาราชอาณาจักรในจารึกทำเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมืองวัดพระเชตุพน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2562.
สิลา วีรวงส์. ประวัติศาสตร์ลาว. แปลโดย สมหมาย เปรมจิตต์. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2540.
สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. กรุงเทพมหานคร: โจเชฟปริ้นติ้ง จำกัด, 2545.
---3. พจนานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพ-มหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน, 2554.
---4. บทความ
ติ๊ก แสนบุญ. “พุทธหัตถศิลป์อีสาน เนื่องในวัฒนธรรมทางภาษาของ ‘คัมภีร์ใบลาน’.” นิตยสารศิลปวัฒนธรรม, ปีที่ 30, ฉบับที่ 8, (มิถุนายน 2552): 54-56.
บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกบาลีฉบับใบลานเพื่อวินิจฉัยคำต่างในพระไตรปิฎก: กรณีศึกษาจากสุภสูตรแห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8), (มกราคม – มิถุนายน 2562): 118-158.
สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล. “การสืบทอดพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมในประเทศไทยและกัมพูชา.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8), (มกราคม – มิถุนายน 2562): 74-113.
---5. วิทยานิพนธ์
เพ็ญพักตร์ ลิ้มศิริพัฒน์. “อักษรธรรมอีสาน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525.
---6. ข้อมูลจากเว็บไซต์
บุญชู ภูศรี. “ยามไทบ้าน ในเอกสารใบลานภาคอีสาน.” บุญชู ภูศรี : ค้น คิด เขียน, 21 พฤศจิกายน 2560. http://b-poosri.blogspot.com/2017/11/blog-post_46.html.