การบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างคุณค่าตามคติสุวรรณภูมิ กรณีวัดพระปฐมเจดีย์

Main Article Content

สมบูรณ์ วัฒนะ
เริงวิชญ์ นิลโคตร
ประยูร สุยะใจ
สุวิญ รักสัตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าวัดพระปฐมเจดีย์และบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างคุณค่าตามคติสุวรรณภูมิ กรณีวัดพระปฐมเจดีย์ เป็นการวิจัยคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและการสังเกตภาคสนาม


ผลการวิจัยพบคุณค่าหลายประการของวัดพระปฐมเจดีย์ ประกอบด้วย (1) วัดพระปฐมเจดีย์มีต้นทุนทางประวัติศาสตร์ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของประเทศ (2) เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการคณะสงฆ์ระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค (3) ปฏิบัติงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่นจนถึงหน่วยงานภาครัฐ (4) เจ้าอาวาสเป็นพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะภาค มีภาวะผู้นำสูง วิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหารจัดการพัฒนาวัดและชุมชนที่ทันต่อสถานการณ์ (5) มีความเอื้อเฟื้อต่อสังคมและชุมชน และ (6) เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา


ส่วนการบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างคุณค่าตามคติสุวรรณภูมิ กรณีวัดพระปฐมเจดีย์ โดยการให้ความอนุเคราะห์ให้แก่วัดและประชาชนทั่วไป ได้แก่ (1) ทำบุญสังฆทานและรับบริจาคเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัด (2) การออกร้านจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคในบริเวณวัด (3) จัดทำวัตถุมงคลมอบให้แก่ผู้มาทำบุญเสริมสร้างกุศล (4) รับบริจาคเพื่อสาธารณกุศล (5) เป็นศูนย์การเรียนรู้พระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ (6) เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน
ในส่วนหลักพุทธธรรมและสังเวชนียสถานจำลองในวัดพระปฐมเจดีย์ พบว่า การเป็นพื้นที่สร้างการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ได้แก่ การได้มาสักการะองค์พระปฐมเจดีย์ที่เป็นสื่อให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ และใช้หลักธรรมเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม อนุตตริยะ 6 และวัดพระปฐมเจดีย์นับได้ว่าเป็นต้นแบบในการสร้างคุณค่าตามคติสุวรรณภูมิ เพราะเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาที่มีศาสนวัตถุที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ก่อเกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจและอาชีพแก่ชุมชนรอบข้าง เอื้อประโยชน์และสร้างคุณค่าให้กับประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาคุณภาพชีวิต

Article Details

How to Cite
วัฒนะ สมบูรณ์, นิลโคตร เริงวิชญ์, สุยะใจ ประยูร, และ รักสัตย์ สุวิญ. 2023. “การบูรณาการพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างคุณค่าตามคติสุวรรณภูมิ กรณีวัดพระปฐมเจดีย์”. ธรรมธารา 9 (1):80-111. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/262747.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. หนังสือ

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด. แผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม 2561-2564. นครปฐม: สำนักงานจังหวัดนครปฐม, 2564. http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfocenter1/drawer022/general/data0001/00001321.pdf.

---2. บทความ

ชุตินันท์ สาแก้ว และ สิทธิพร ภิรมย์รื่น. “การศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาเมืองนครปฐมเพื่อการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน.” วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 7, ฉบับที่ 3, (กันยายน – ธันวาคม 2557): 1265– 1283.

---3. รายงานวิจัย

รสิกา อังกูร. “ความพร้อมของวัดในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยผ่านการนำชมศิลปวัฒนธรรม.” รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544.

----4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา. “สถิติผู้นับถือ.” สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2565. https://e-service.dra.go.th/religion/buddhism?type=10.

สหประชาชาติ ประเทศไทย. “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน.” สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565. https://thailand.un.org/th/sdgs/11.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. “ข้อมูลวัด และ พระทั่วประเทศ พ.ศ. 2564.” สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565. https://www.onab.go.th/th/page/item/index/id/1.