นิตยสารธรรมจักษุ (พ.ศ. 2437-2454): ความเป็นมาและสารัตถะ

Main Article Content

พระมหาสราวุธ โพธิ์ศรีขาม
ณัชพล ศิริสวัสดิ์

บทคัดย่อ

        นิตยสารธรรมจักษุ (พ.ศ. 2437-2454) เป็นนิตยสารทางพุทธศาสนาเล่มแรกของประเทศไทย ก่อตั้งโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อฝึกหัดแปลพระสูตรและอธิบายธรรมะแก่บุคลากรของมหามกุฏราชวิทยาลัย และเพื่อเผยแผ่พุทธธรรม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมาของนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ. 2437-2454 เพื่อวิเคราะห์สารัตถะและกลวิธีนำเสนอพุทธธรรมที่ปรากฏในนิตยสารธรรมจักษุ พ.ศ. 2437-2454 และเพื่อศึกษาบทบาทสำคัญของพุทธธรรมในนิตยสารธรรมจักษุที่มีต่อพุทธศาสนาไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร
        จากการศึกษาความเป็นมาของนิตยสารธรรมจักษุ สรุปได้ 3 ประการ คือ 1) การเข้ามาของสื่อสิ่งพิมพ์ของตะวันตก 2) ความปริวิตกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อการเข้าใจพุทธธรรมของพระภิกษุสามเณรในสยามประเทศ 3) การเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการเผยแผ่พุทธธรรมของมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนการศึกษาสารัตถะและกลวิธีนำเสนอพุทธธรรมที่ปรากฏในนิตยสารธรรมจักษุ พบว่า สาระสำคัญของพุทธธรรม จำแนกเนื้อหาออกเป็น 10 หมวด ได้แก่ 1. พุทธสมัย (พระสูตรแปล) 2. วรรณาพุทธสมัย (อธิบายความพระสูตรแปล) 3. พุทธานุพุทธประวัติ 4. คำอธิบายความแห่งพุทธานุพุทธประวัติ 5. ปกิณกเทสนา 6. กถามรรค 7. ธรรมหฤทัย 8. สุภาษิต นิทานสาธก 9. หนังสือนักปราชญ์เก่า 10. เรื่องเบ็ดเตล็ด อาจสรุปได้ว่า ความเป็นมาและสารัตถะพุทธธรรมที่ปรากฎในนิตยสารธรรมจักษุ สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ความเข้าใจที่มีต่อพุทธธรรม และการเผยแผ่พุทธธรรมของฝ่ายศาสนจักร สามารถประยุกต์เข้ากับบริบทสังคมไทยร่วมสมัยภายใต้สังคมไทยที่มีความเจริญก้าวหน้าตามกระแสโลกตะวันตก

Article Details

How to Cite
โพธิ์ศรีขาม พระมหาสราวุธ, และ ศิริสวัสดิ์ ณัชพล. 2023. “นิตยสารธรรมจักษุ (พ.ศ. 2437-2454): ความเป็นมาและสารัตถะ”. ธรรมธารา 9 (2):76-119. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/266986.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. พระไตรปิฎกและอรรถกถา

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2514.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

---2. หนังสือ

กริสโวลด์, อเล็กซานเดอร์ บี.. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม. แปลโดย สุภัทรดิศ ดิศกุล. ม.จ. จงจิตรถนอม ดิศกุล ทรงพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในมหามงคลสมัย พระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พุทธศักราช 2508. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2508.

เจ้าพระยาทิพากรวงษ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค). หนังสือแสดงกิจจานุกิตย์ The Modern Buddhist, LIST OF COMMON TREES, SHRUBS, ETC. IN SIAM. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พิมพ์พระราชทาน ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร. 3 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันอาทิตย์ ที่ 26 มิถุนายน พุทธศักราช 2559. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พบลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน), 2559.

พระไพศาล วิสาโล. พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2559.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศาสนาฝ่ายหีนยานกับมหายาน และเรื่องสร้างพระบฏหลวง. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2556.

______. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไปมากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472.

ภัทรพร สิริกาญจน. พระพุทธศาสนาในประเทศไทย: เอกภาพในความหลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ว่าด้วยการกำหนดสี และความหมายดวงตรามหาวิทยาลัย พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2437.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2438.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2442.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2443.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2448.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2449.

______. ธรรมจักษุ เล่ม 17. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2454.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. ประมวลพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ลายพระหัตถ์เกี่ยวกับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2514.

ยิ้ม ปัณฑยางกูร. ปัญหาพระยามิลินท์ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2520.

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2504.

สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย. ประวัติมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2521.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. พุทธธรรมที่เป็นรากฐานสังคมไทย ก่อนสมัยสุโขทัยถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง. โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.

---3. วิทยานิพนธ์

พาสนา กิจถาวร. “บทบาทของคณะสงฆ์ในเรื่องการศึกษา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. หนังสือ

Skilling, Peter, and Santi Pakdeekham. Pali and vernacular literature transmitted in Central and Northern Siam. Bangkok: Fragile Palm Leaves Foundation, Lumbini International Research Institute, 2004.

---2. บทความ

Hallisey, Charles. “Roads taken and not taken in the study of Theravāda Buddhism.” Defining Buddhism(s) A Reader. Edited by Karen Derris and Natalie Gummer. (Chicago: University of Chicago Press, 1995): 37.

---3. วิทยานิพนธ์

Sirikanchana, Pataraporn. “The Concept of ‘Dhamma’ in Thai Buddhism: A Study in the Thought of Vajiranana and Buddhadasa.” PhD diss., University of Pennsylvania, 1985.