แนวทางจัดการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะให้เป็นศูนย์ตามหลักพุทธบริหาร สำหรับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการขยะสำหรับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะให้เป็นศูนย์ตามหลักพุทธบริหารสำหรับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะให้เป็นศูนย์ตามหลักพุทธบริหารสำหรับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ วัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่มีบุคลากรอยู่ประจำ 25 คนขึ้นไป จำนวน 22 วัด และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาส พระภิกษุสามเณรและบุคลากร จำนวน 209 ท่าน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหาค่าร้อยละ และค่าความถี่ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ทำการศึกษาหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (best practices) เป็นต้นแบบในการกำจัดขยะให้เป็นศูนย์อย่างยั่งยืน 3 องค์กร ได้แก่ วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิพุทธฉือจี้ “สมณารามจิ้งซือ” ไต้หวัน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบข้อสรุปได้ว่า
1. สภาพการบริหารจัดการขยะสำหรับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขยะส่วนใหญ่เป็นขยะรีไซเคิลและขยะย่อยสลายได้ บริหารจัดการด้วยวิธีการคัดแยกแล้วนำขยะที่คัดแยกได้ไปขายหรือให้รถซื้อของเก่ามารับที่วัด ส่วนขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ จะส่งต่อให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปจัดการ สำหรับขยะสดจากเศษอาหารหรือขยะย่อยสลายได้นั้นจะนำไปเลี้ยงสัตว์ ฝังกลบ หรือหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ใช้บำรุงต้นไม้ในวัดตามความพร้อมของแต่ละวัด
2. การจัดการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะให้เป็นศูนย์ตามหลักพุทธบริหาร ส่วนใหญ่รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง มีเพียงบางส่วนที่รู้และเข้าใจไม่ถูกต้องในการจัดการขยะ ส่วนใหญ่ใช้หลัก 3R เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะ คือ Recycle หมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ Reuse ใช้ซ้ำ และ Reduce ลดการใช้วัสดุสิ่งของที่ก่อให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยาก
3. แนวทางการจัดการเรียนรู้และปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะให้เป็นศูนย์ตามหลักพุทธบริหารสำหรับวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุคลากรในวัดควรเริ่มจากการใช้ปัจจัย 4 อย่างคุ้มค่า หลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ ในการรับรู้ถึงปัญหาเกิดความสกปรก มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ สมุทัย โดยค้นหาปัญหาและสาเหตุของการเกิดขยะในวัด นิโรธ เป็นการกำหนดเป้าหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดขึ้น มรรค หาวิธีการที่เดินไปให้บรรลุเป้าหมาย ส่วนเจ้าอาวาสใช้หลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สำหรับพระภิกษุสามเณรในวัดใช้หลักปาริสุทธิศีล 4 คือ ปาฏิโมกขสังวรศีล อินทรียสังวรศีล อาชีวปริสุทธิศีล ปัจจัย-สันนิสิตศีล กับหลักสัปปายะ 7 คือ อาวาสสัปปายะ โคจรสัปปายะ ภัสสสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ โภชนสัปปายะ อุตุสัปปายะ อิริยาปถสัปปายะ ในด้านความเป็นกัลยาณมิตรใช้หลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน ปิยวาจา อัตจริยา สมานัตตตา ส่วนการปลูกฝังนิสัยคนในวัดใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อกำจัดขยะให้เป็นศูนย์ในวัดนั้นควรนำหลัก 1A3R มาใช้ คือ Avoid, Recycle, Reuse และ Reduce มุ่งลดการใช้วัสดุสิ่งของที่ย่อยสลายยากด้วยการบูรณาการตามหลักพุทธธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. พระไตรปิฎก
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
---2. ข้อมูลจากเว็บไซต์
เจ๊ดา วิภาวดี. “ทำความรู้จัก Zero Waste แนวคิดลดขยะเป็นศูนย์ ถึงเวลาหรือยัง ที่ต้องช่วยกัน.” ไทยรัฐ ออนไลน์, 17 ธันวาคม 2563. https://www.thairath.co.th/news/society/1996244.
ทีมข่าวคุณภาพชีวิต. “โมเดลจัดการขยะ 'วัดจากแดง' เริ่มต้นจาก 'วัด' สู่การขับเคลื่อนชุมชน.” กรุงเทพธุรกิจ, 3 กันยายน 2564. https://www.bangkokbiznews.com/social/958063.
นิธิกานต์ ปภรภัฒ. “จุฬาฯ กับนโยบายด้านการบริหารจัดการขยะและขยะอันตราย ขับเคลื่อนความยั่งยืน ในจุฬาฯ.” Chula, 22 ธันวาคม 2565. https://www.chula.ac.th/news/95183/.
มูลนิธิฉือจี้. “รู้จักมูลนิธิฉือจี้.” สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2566. https://www.tzuchithailand.org/th/index.php/about-us/tzu-chi-foundation/global-tzu-chi-history.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. “จำนวนวัดและพระภิกษุสามเณร.” สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566. https://aya.onab.go.th/th/page/item/index/id/18.
อรจินดา บุรสมบูรณ์. “ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอยุธยา เดินหน้าพัฒนาท่องเที่ยวมรดกโลกให้กลับมาฟื้นอีกครั้ง.” สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์, 12 กันยายน 2563. https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG200912130032841.
admin. “ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม.” Krumaiiam, 16 ตุลาคม 2564. https://www.krumaiiam.com/?p=1212.
AP THAILAND. “รวม 4 นวัตกรรมกำจัดขยะ ด้วยแนวคิด ZERO WASTE ลดขยะให้เหลือศูนย์.” AP THAILAND, 3 มกราคม 2566. https://www.apthai.com/th/blog/life-and-living/lifeandliving-zero-waste.
Little big green. “รู้จัก Zero Waste แนวคิดลดขยะให้เป็นศูนย์.” สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565. https://littlebiggreen.co/blog/zero-waste.
• ภาษาอังกฤษ
---1. ข้อมูลจากเว็บไซต์
Anwaar, Ahmad Gulzar. “Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives.” educare, 2 เมษายน 2564. https://educarepk.com/blooms-taxonomy-of-educational-objectives.html.