การกระจายตัวและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนวัดและบุคลากรทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย

Main Article Content

ศุภฤกษ์ โออินทร์
อริศา จิระศิริโชติ
กมลพร อุปการแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายตัวและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนวัดในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2565 งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารและจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสถิติเชิงพื้นที่ สังเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม แนวคิดการกระจายเชิงพื้นที่ และแนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม แล้วมาสรุปผลเป็นการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีวัดทั้งหมด 43,471 แห่ง พบมากที่สุดในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีวัดมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2,215 แห่ง ส่วนจังหวัดที่มีวัดน้อยที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต จำนวน 41 แห่ง โดยจังหวัดที่มีวัดเพิ่มมากที่สุดในช่วงปี พ.ศ. 2555-2565 คือ จังหวัดอุดรธานี มีวัดเพิ่มขึ้น 335 แห่ง ส่วนจำนวนบุคลากรทางพระพุทธศาสนาพบว่าในปี พ.ศ. 2565 มีพระภิกษุและสามเณร จำนวน 288,342 รูป ลดลงจากปี พ.ศ. 2555 ที่มีพระภิกษุและสามเณร จำนวน 355,295 รูป โดยจังหวัดที่มีบุคลากรทางพระพุทธศาสนามากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร จำนวน 18,055 รูป น้อยที่สุด คือ จังหวัดสตูล จำนวน 287 รูป จังหวัดที่มีจำนวนบุคลากรทางพระพุทธศาสนาลดลงส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงมากที่สุด คือ จังหวัดนครราชสีมา ลดลง 9,175 รูป และจังหวัดที่มีบุคลากรทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ จังหวัดหนองคาย เพิ่มขึ้น 501 รูป

Article Details

How to Cite
โออินทร์ ศุภฤกษ์, จิระศิริโชติ อริศา, และ อุปการแก้ว กมลพร. 2024. “การกระจายตัวและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนวัดและบุคลากรทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย”. ธรรมธารา 10 (1):128-53. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/267875.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. หนังสือ

กรมศิลปากร. ตำนานพระอารามหลวง. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2563.

สุพิศวง ธรรมพันทา. มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ภูมิไทย, 2543.

---2. บทความ

รัฐกรณ์ พงษ์ประเสริฐ. “ปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนสามเณรในพระพุทธศาสนา.” วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ 9 ฉบับที่ 5, (กรกฎาคม - สิงหาคม 2564): 2144-2153.

---3. วิทยานิพนธ์

ฑันฑิกา เดชะศิริ. “การกระจายตัวปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกทำเลที่ตั้งและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการธุรกิจรถเช่า กรณีศึกษาอำเภอเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.

ดำรงศักดิ์ มีสุนทร. “ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน กรณีศึกษา วัดนามสมมุติกับชุมชนนามสมมุติ จังหวัดกาญจนบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.

ภัทิรา ศิริมานนท์. “การศึกษาความศรัทธาในพุทธศาสนาและสัมพันธภาพกับผู้ร่วมวัยของผู้สูงอายุ.” สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.

อาทิตยา จารุจินดา. “พฤติกรรมทางศาสนาของคนในสังคมเมือง : กรณีศึกษา วัดสนามนอกและวัดสนามในตำบลวัดชะลอ อำเภอบางกราย จังหวัดนนทบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา. “สถิติผู้นับถือ.” สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566.https://e-service.dra.go.th/religion/buddhism?type=10.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. “ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ปี พ.ศ. 2565.” สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566. https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/1278/iid/41469.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. “จำนวนวัดในประเทศ ปี 2555-2564.” สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566, https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/805/iid/9905.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. “ระบบทะเบียนวัด.” สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566. http://binfo.onab.go.th/Temple/Dashboard.aspx.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. “ระบบทะเบียนวัด.” สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2566. http://binfo.onab.go.th/Temple/Temple-List-view.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. “สถิติบุคลากรและศาสนสถานทางศาสนาในประเทศไทย.” สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566. http://ittdashboard.nso.go.th/preview.php?id_project=56.

• ภาษาอังกฤษ

---1. หนังสือ

Wintrop, Robert H.. Dictionary of Concepts in Cultural Anthropology. New York: Greenwood Press, 1991.

---2. บทความ

Boonnoon, C.. “Declining Number of Buddhist Monks and Its Impact on the Future of Buddhism,” The Chulalongkorn Journal of Buddhist Studies, 7, (2013): 1–27. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjbs/article/view/244912.