วิเคราะห์แนวคิดในประเด็น พระพุทธศาสนามหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิกะ

Main Article Content

พระมหาธัญสัณห์ กิตฺติสาโร

บทคัดย่อ

ในประเทศไทยมีความเชื่อว่า มหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิกะ และเมื่อถามถึงที่มาของแนวคิดนี้มักอ้างว่าเพราะทั้งนิกายมหาสังฆิกะและมหายานต่างเป็นอาจริยวาทและไม่เคร่งครัดพระวินัยเหมือนกันโดยไม่มีหลักฐานชั้นปฐมภูมิรับรอง ดังนั้นบทความนี้จึงมุ่งศึกษาประเด็นปัญหาเหล่านี้โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดว่ามหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิ‍กะมาจากสาเหตุอะไร 2) เพื่อศึกษาว่ามหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิ‍กะเพราะเป็นอาจริยวาทและไม่เคร่งครัดพระวินัยเหมือนกัน จริงหรือไม่ โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากหลักฐานชั้นปฐมภูมิ อาทิ พระไตรปิฎกบาลีเถรวาทและนิกายอื่น ๆ ที่เป็นภาษาสันสกฤตและจีนโบราณ รวมถึงคัมภีร์ต่าง ๆ ที่สำคัญ และจากหลักฐานชั้นทุติยภูมิ เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ


ผลการศึกษาพบว่า 1) สมมุติฐานเรื่องมหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิกะมาจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ (1) ความสอดคล้องกันของแนวคิดเรื่องคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าและเรื่องพระโพธิสัตว์ (2) ความเชื่อมโยงกันระหว่างคัมภีร์มหายานยุคต้นและคัมภีร์นิกายมหาสังฆิกะ 2) ทั้งมหายานยุคต้นและนิกายมหาสังฆิกะไม่ได้มีลักษณะของอาจริยวาทและไม่เคร่งครัดพระวินัย ดังนั้นแนวคิดเรื่องมหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิกะไม่ได้มาจากสาเหตุว่าเป็นอาจริยวาทและไม่เคร่งครัดพระวินัยเหมือนกัน

Article Details

How to Cite
กิตฺติสาโร พระมหาธัญสัณห์. 2024. “วิเคราะห์แนวคิดในประเด็น พระพุทธศาสนามหายานมีต้นกำเนิดมาจากนิกายมหาสังฆิกะ”. ธรรมธารา 10 (1):48-92. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/270195.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 1, 7, 11, 14, 25, 26, 32, 33. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2552.

พระคัมภีร์ทีปวงศ์: ตำนานว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป. กรุงเทพมหานคร: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2557.

พระคัมภีร์อนาคตวงศ์. แปลโดย ประภาส สุระเสน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุรวัฒน์, 2540.

มหาวัสตุอวทาน เล่ม 1. แปลโดย สำเนียง เลื่อมใส. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์, 2553.

---2. หนังสือ

พระภิกษุฟาเหียน. อุตตมสงฆ์ ฟาเหียน บันทึกการเดินทาง สืบพระศาสนาในประเทศอินเดีย พ.ศ. 942-957. แปลโดย โกษากร ประภาศิริ. กรุงเทพมหานคร: องค์การศาสนาประทีป, 2490.

พระภิกษุเสวียนจั้ง. ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง. พิมพ์ครั้งที่ 2. แปลโดย ชิว ซูหลุน. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2549.

พระภิกษุฮุยลิบ. ประวัติพระถังซัมจั๋ง. แปลโดย เคงเหลียง สีบุญเรือง. พิมพ์เป็นที่ระลึกในการฌาปนกิจศพ นายเคงเหลียน สีบุญเรือง ณ วัดเทพสิรินทราวาส วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พุทธศักราช 2484. กรุงเทพมหานคร: บริษัทการพิมพ์ไทย จำกัด, 2484.

พระภิกษุฮุ่ยโจ. อินเดีย พ.ศ. 1266. แปลโดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. กรุงเทพมหานคร: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2562.

พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (โพธิ์แจ้ง). สารัตถธรรมมหายาน. กรุงเทพมหานคร: วัดโพธิ์แมนคุณาราม, 2529.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพ มหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551.

สมภาร พรมทา. พุทธศาสนามหายาน : นิกายหลัก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. ปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพมหานคร: โสภณพิพรรณธนากร, 2478.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. พุทธศาสนามหายาน (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพมหานคร: ศยาม, 2550.

เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.

อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา, 2527.

---3. พจนานุกรม

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยง‍เชียง‍, 2548.

---4. บทความ

ชาญณรงค์ บุญหนุน. “การถอดรื้อประวัติศาสตร์การแตกนิกายของพุทธศาสนายุคแรกและความเข้าใจเกี่ยวกับนิกายเถรวาทและมหาสังฆิกะ.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 27, ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม–สิงหาคม 2563): 1-51.

ซาซากิ ชิซุกะ. “แนวโน้มและพัฒนาการทฤษฎีการกำเนิดของพระพุทธศาสนามหายาน (1).” แปลโดย พระมหาพงศ์ศักดิ์ านิโย. วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 8), (มกราคม–มิถุนายน 2562): 1-35.

ซาซากิ ชิซุกะ. “แนวโน้มและพัฒนาการทฤษฎีการกำเนิดของพระพุทธศาสนามหายาน (2).” แปลโดย พระมหาพงศ์ศักดิ์ านิโย. วารสารธรรมธารา, ปีที่ 5, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 9), (กรกฎาคม–ธันวาคม, 2562): 1-34.

ซาซากิ ชิซุกะ. “วิธีเขียนแผนภาพการแตก 18 นิกาย.” แปลและเรียบเรียงโดย เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 4), (มกราคม–มิถุนายน 2562): 127–162.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ, “สิกขาบทในพระปาฏิโมกข์เกิดขึ้นเมื่อใด.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 1), (มกราคม – ธันวาคม 2558): 13-54.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (1).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 2), (มกราคม–ธันวาคม 2559): 67-103.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. “Samayabhedoparacanacakra: คำแปลพร้อมเชิงอรรถวิเคราะห์ (2).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 3), (กรกฎาคม–ธันวาคม 2559): 57-104.

เมธี พิทักษ์ธีระธรรม, ปิยาภรณ์ ว่องวรางกูร และพรพิมล ศรีหมอก. “พระสูตรที่นิกายวาตสีปุตรียะไม่ยอมรับว่าเป็นพระพุทธพจน์: ศึกษาในคัมภีร์อภิธรรมโกศภาษยะและกถาวัตถุ.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 26, ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม–สิงหาคม 2562): 121-163.

---5. ข้อมูลจากเว็บไซต์

“วินัยปิฎกฝ่ายธรรมคุปต์เทียบวินัยปิฎกฝ่ายเถรวาท.” Thai-Sanscript, 11 มิถุนายน 2564. https://blog.thai-sanscript.com/dharmaguptavinaya/.

---6. สื่อออนไลน์

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. “หัวข้อที่ 1 : การจัดทำพระไตรปิฎกฉบับวิชาการ | ‘พุทธศาสตร์เข้าใจอย่างเข้าถึง’ รุ่นที่ 4.” เผยแพร่เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564. เฟซบุ๊ก พุทธศาสตร์เข้าใจอย่างเข้าถึง: เวทีบริการวิชาการ, สื่อวิดีโอ, 1:03:22. https://web.facebook.com/DCIBS/videos/725118032213678.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. คัมภีร์

Takakusu, Junjirō, and Kaigyoku Watanabe. Taisho shinshu daizokyo vol. 1, 22, 24, 26, 27, 29, 49, 50, 70. Tokyo: Taishō Shinshū Daīzōkyō Kankōkai, 1924.

---2. หนังสือ

Hirakawa, Akira. A History of Indian Buddhism: From Śākyamuni to Early Mahāyāna. Translated by Paul Groner. Delhi: Shrijainendra, 2007.

---Masuda, Jiryo. Origin and Doctrines of Early Indian Buddhist Schools: A Translation of the Hsuan-Chwang version of Vasumitra’s treatise 異部宗輪論 translated with annotations. Leipzig: Verlag der Asia Major, 1925.

---3. บทความ

Dessein, Bart. “The Mahāsāṃghikas and the Origin of Mahāyāna Buddhism: Evidence Provided in the Abhidharmamahāvibhāṣāśāstra.” The Eastern Buddhist, 40, no.1/2, (2009): 25-61.

Heirman, Ann. “Vinaya: from India to China.” The Spread of Buddhism. Boston: Koninklijke Brill NV, 2007: 167–202.

Hirakawa, Akira. “The rise of mahāyāna buddhism and its relationship to the worship of stūpas.” Buddhism Critical Concepts in Religious Studies. Edited by Paul Williams Vol. III The Origins and Nature of Mahāyāna Buddhism; Some Mahāyāna Religious Topics. New York: Routlege, 2005: 181-226.

Karashima, Seishi. “Ajita and Maitreya: More evidence of the early Mahāyāna scriptures’ origins from the Mahāsāṃghikas and a clue as to the school-affiliation of the Kanaganahalli-stūpa.”Annual Report of The International Research Institute for Advanced Buddhology (ARIRIAB) at Soka University for the Academic Year 2017, Vol. XXI, (2018): 181-196.

Karashima, Seishi. “The relationship between Mahāsāṃghikas and Mahāyāna Buddhism indicated in the colophon of the Chinese translation of the Vinaya of the Mahāsāṃghikas.” Annual Report of The International Research Institute for Advanced Buddhology (ARIRIAB) at Soka University for the Academic Year 2017, Vol. XXI, (2018): 197-207.

Nattier, Janice J., and Charles S. Prebish. “Mahāsāṃghika Origins: The Beginnings of Buddhist Sectarianism.” History of Religions, 16, no. 3, (February, 1977): 237–272.