พัฒนาการกำเนิดพระเครื่องในประเทศไทย: วิเคราะห์จุดเปลี่ยนแนวคิดและความเชื่อการสร้างพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยา

Main Article Content

ศุภสิณี รัตตะคุ
ภัทธิดา แรงทน

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอพัฒนาการกำเนิดพระเครื่องในประเทศไทยโดยศึกษาวิเคราะห์แนวคิดและความเชื่อการสร้างพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยา พบว่าพระเครื่องในปัจจุบันมีพัฒนาการมาจากพระพิมพ์ในอินเดียกระทั่งแพร่หลายมาสู่สุวรรณภูมิ หลังจากนั้นเริ่มมีการพัฒนาแนวคิดและความเชื่อการสร้างพระพิมพ์ไปใช้ในลักษณะเครื่องรางของขลังตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนแนวคิดการสร้างแตกต่างไปจากยุคก่อน เมื่อถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางเป็นช่วงที่ต้องทำศึกสงครามกับอาณาจักรโดยรอบพบว่า มีแนวคิดการสร้างพระเครื่องเพื่อใช้ในการศึกสงคราม เพราะเชื่อในอำนาจพุทธคุณและพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ว่าจะเป็นเกราะคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย มีชัยชนะเหนือศัตรูหมู่มาร กระทั่งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายมีพัฒนาการมวลสารและเขียนเลขยันต์บนหลังพระเครื่อง โดยเน้นยันต์ทางด้านทรหด มหาอุด คงกระพันชาตรี รูปแบบพุทธศิลป์ได้พัฒนามาเป็นอัตลักษณ์ของกรุงศรีอยุธยาเอง มีพิธีปลุกเสกบรรจุคาถาอาคมอันเป็นต้นแบบการสร้างพระเครื่องที่มีพัฒนาการสืบทอดกันเรื่อยมาถึงปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
รัตตะคุ ศุภสิณี, และ แรงทน ภัทธิดา. 2024. “พัฒนาการกำเนิดพระเครื่องในประเทศไทย: วิเคราะห์จุดเปลี่ยนแนวคิดและความเชื่อการสร้างพระเครื่องในสมัยกรุงศรีอยุธยา”. ธรรมธารา 10 (1):192-228. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/270685.
บท
บทความวิชาการทางพระพุทธศาสนา
Author Biography

ศุภสิณี รัตตะคุ, ศูนย์พุทธศาสตร์ศึกษา DCI

อายุ 45 ปี

Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. หนังสือ

กรมศิลปากร. พระพิมพ์: พระเครื่องเมืองไทย. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2564.

จิตร บัวบุศย์. ประวัติย่อพระพิมพ์ในประเทศไทย. พระนคร: อำพลพิทยา, 2514.

ชัยมงคล อุดมทรัพย์. อภินิหารพระเครื่องและเวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งวิทยา, 2512.

ยอช เซเดส์. ตำนานพระพิมพ์. พระนคร: รุ่งเรืองธรรม, 2513.

เสถียร โพธินันทะ. ปรัชญามหาญาณกรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2522.

ศรีศักร วัลลิโภดม. พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพมหานคร: มติชน, 2537.

อาทร จันทวิมล. ประวัติของแผ่นดินไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย, 2546.

---2. บทความ

ธนุตม์ ธรรมพิทักษ์. “พระเครื่องในกองทัพไทยสมัยอยุธยา.” วารสารศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, (มกราคม - มิถุนายน 2555): 21-28.

พระครูคัมภีร์ธรรมานุวัต และจินดา งามสุทธิ. “วิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาตั้งชื่อพระเครื่องเพื่อสร้างอุดมการณ์ทางความเชื่อในสังคมไทย.” วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, ปีที่ 19, ฉบับที่ 4 (ฉบับพิเศษ), (ตุลาคม – ธันวาคม 2562): 37-48.

รอบทิศ ไวยสุศรี. “การสร้างพระเครื่องในฐานะเป็นกุศโลบายสำหรับการปฏิบัติธรรม: กรณีศึกษาการสร้างพระเครื่องของ อาจารย์มนัส สิวาภิรมย์รัตน์.” วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปีที่ 28, ฉบับที่ 1, (มกราคม – เมษายน 2564): 1-56.

ศุภสิณี รัตตะคุ, ภัทธิดา แรงทน และพูไทย วันหากิจ. “แนวคิดและความเชื่อในการสร้างพระเครื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน.” วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม – ธันวาคม 2565): 21-35.

---3. ข้อมูลจากเว็บไซต์

แทน ท่าพระจันทร์. “ชมรมพระเครื่อง : พระยอดขุนพล เนื้อชินเงิน กรุวัดราชบูรณะ อยุธยา.” ข่าวสดออนไลน์, 11 มกราคม 2561. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_702556.

แทน ท่าพระจันทร์. “พระนาคปรกกรุพะงั่ว : ชมรมพระเครื่อง.” ข่าวสดออนไลน์, 17 เมษายน 2562. https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/amulets/news_2422470.

นุ เพชรรัตน์. “ตำนาน “พระยอดธง” สมัยอยุธยา พุทธคุณ แคล้วคลาด พระพุทธรูปลอยองค์ เพื่อชัยชนะ.” คมชัดลึก, 27 กันยายน 2565. https://www.komchadluek.net/amulet/521054.

พระเครื่องตั้มศรีวิชัย. “พระยอดขุนพล กรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา.” สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566. https://www.tumsrivichai.com/บทความพระเครื่อง/พระยอดขุนพล-กรุวัดราชบูรณะ-อยุธยา.html.

พระเครื่องตั้มศรีวิชัย. “พระหูยาน กรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา.” สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566. https://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=534550078&Ntype=40.

พลายชุมพล(นามแฝง). “เนินเรียบผงสุพรรณ.” ไทยรัฐออนไลน์, 27 มกราคม 2562. https://www.thairath.co.th/news/society/1480155.

วัลลภ ธรรมบันดาล. “ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ตอนที่ 2.” GotoKnow, 23 มีนาคม 2558. https://www.gotoknow.org/posts/587815.

วัลลภ ธรรมบันดาล. “ตำนานพระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ตอนที่ 3.” GotoKnow, 23 มีนาคม 2558. https://www.gotoknow.org/posts/587816.

เว็บ-พระ. “พระหูไหคล้องคอช้าง พิมพ์หลวงพ่อโต สมัยอยุธยา.” สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566. https://www.web-pra.com/auction/show/3312284.

ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. “ประวัติความเป็นมาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2566. https://ww2.ayutthaya.go.th/content/history_1.

สมเจตน์ ทิพย์โชค. “ตำนานพระนางพญา ‘หนึ่งในเบญจภาคี’.” GotoKnow, 22 มิถุนายน 2555. https://www.gotoknow.org/posts/330329.

สมาคมนักสะสมพระกรุ พระเก่าและผู้ค้าวัตถุโบราณแห่งประเทศไทย. “โคนสมอ ดีเสมอ.” facebook, 29 พฤษภาคม 2563. https://www.facebook.com/293654740803300/posts/1567150180120410.

สยามธุรกิจ. “พระกริ่งคลองตะเคียน (1).” siamturakij, 3 กรกฎาคม 2556. https://www.siamturakij.com/news/16-.

สัญญา นาคบุตร. “พระปิดตาพิชัย หน้าเดียวหลังจารยันต์ เนื้อดินผสมผงใบลาน.” zoonphra, 21 กันยายน 2562. http://www.zoonphra.com/shop/catalog.php?storeno=c002&idp=9591.

c_visit(นามแฝง). “พระนาคปรก ‘กรุพระงั่ว’ อยุธยา.” oknation, 24 กันยายน 2566. https://www.oknation.net/post/detail/634e104a44734d67fec7f780.

Poster 24(นามแฝง). “ประวัติความเป็นมา “พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล” ของดีเมืองอยุธยา !.” ส่องพระ, 14 กุมภาพันธ์ 2565. https://song-pra.com/พระเครื่องในแต่ละภาค/พระเครื่องในภาคกลาง/ประวัติความเป็นมา-พระข/.

Poster 24(นามแฝง). “ประวัติความเป็นมาสุดขลัง ‘พระปรุหนัง เนื้อชินเงิน’ กรุวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา !.” ส่องพระ, 31 มกราคม 2566. https://song-pra.com/ประวัติพระ/ประวัติความเป็นมาสุดขล-2/.