มหาไวปุลย พุทธาวตังสกสูตร สุวรรณสิงห์ปริเฉท: บทแปลพากย์ไทยเชิงปรัชญา และกรอบใหม่ในการเข้าใจอวตังสกะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ (รวมถึงภาคถัด ๆ ไป) มีวัตถุประสงค์ คือ (1) แปล มหาไวปุลย พุทธาวตังสกสูตร สุวรรณสิงห์ปริเฉท (大方廣佛華嚴經金師子章) จากต้นฉบับภาษาจีนโบราณออกมาเป็นภาษาไทย ผ่านการแปลโดยอรรถที่ให้ความสำคัญต่อ 3 ด้านของความหมาย (sense) ได้แก่ (ก) เนื้อหา (content) (ข) ลีลา (style) และ (ค) ผลกระทบ (effect) ผสานกับการแปลโดยพยัญชนะซึ่งใช้วิธีการ “สับรหัส” (code-switching) ระหว่างภาษา (2) ทำอรรถาธิบายต่อต้นฉบับที่ได้ชื่อว่า “อ่านยาก” อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในเชิงลึกต่อไป รวมทั้งพิจารณาปัญหาอันเกิดจากการแปล และทางออกที่ผู้แปลเลือกใช้ เพื่อชี้ให้เห็นว่า “การแปลคือการตัดสินใจ” (3) วิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาใน มหาไวปุลย พุทธาวตังสกสูตร สุวรรณสิงห์ปริเฉท โดยจัดวางปริเฉทดังกล่าวเข้าไปในบริบทของ อวตังสกสูตร ศาสตรา และภาษยะต่าง ๆ ของสำนักอวตังสกะ (4) วิพากษ์ความเข้าใจแบบเหมารวมที่มีต่อ “ศูนยตา” ของอวตังสกะในวงปัญญาชนเถรวาทของประเทศไทย
บทแปลเชิงปรัชญาดังกล่าวจะไขปริศนาที่ว่า เหตุใดในสายตาของชาวอวตังสกะจึงเห็นว่า สาวกยานเป็นยานที่ไม่บรรลุ “ศูนยตา” อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ผู้วิจัยเสนอว่า (ก) เราไม่ควรใช้ “อนัตตลักขณะ” (แห่งเบญจขันธ์) ซึ่งเป็นแนวคิด และคำของเถรวาทไปเข้าใจอวตังสกะ เพราะอวตังสกะเข้าถึง “อสภาว/อสวภาวธรรม” (無自性法) ด้วย “ธาตุ” (性) เรียกว่า “ธาตุสมุปบาท” (性起) ใน “เอกธรรมธาตุ” (唯一法界) ในอาการของ “รูปและสาระเป็นอนันตรายะ/แทรกซึมเป็นหนึ่งเดียว” (事理無礙) และ “(ระหว่าง) รูปและรูปเป็นอนันตรายะ/แทรกซึมเป็นหนึ่งเดียว” (事事無礙) (ข) เราไม่ควรทึกทักว่า “อลักษณะธรรม” (無相法) ของนาคารชุนกับอวตังสกะเหมือนกันโดยหลักการ เพราะ “สมุปบาท” (起) ในแบบของนาคารชุนเป็น “โลกธาตุ” ในแนวราบผ่าน “ปัจจยาการ” และไม่เท่ากับ “ปรินิษปันนะ สวภาวะ” ที่ผสานทั้ง “โลกธาตุ” ในแนวดิ่ง (รูปและสาระ) และแนวราบ (ระหว่างรูปและรูป) ผ่าน “ตถาคตปริชาน/ฌาน” (如來智慧) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ภูตตถตา/พุทธตถตา/ตถตา/ตถาคตครรภ์ปฏิจจ-สมุปบาท” (真如/如來藏緣起) และ (ค) ด้วยวิภาษวิธีที่แปลกไปจากปกติ เราควรใช้คำเชิงยืนยันของอวตังสกะเพื่อเข้าใจอวตังสกะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ สำนักการศึกษา วัดพระธรรมกาย
References
• ภาษาไทย
---1. หนังสือ
พระอนุรุทธะ และพระสุมังคละ. อภิธมฺมตฺถสงฺคหปาลิยา สห อภิธมฺมตฺถวิภาวินี นาม อภิธมฺมตฺถสงฺคหฎีกา. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2542.
อุษา โลหะจรูญ. พระถังซัมจั๋ง ชีวิตจริงไม่อิงนิยาย. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ, 2551.
---2. พจนานุกรม
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ (ฉบับประมวลศัพท์). พิมพ์ครั้งที่ 35. ม.ป.ท.; ม.ป.พ., 2564. http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/268-Buddhist-Dictionary-Buddhist-Terms-Pr.35.pdf.
---3. บทความ
นิพัทธ์ แย้มเดช และ จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. “จารึกปราสาทพิมานอากาศของพระนางศรีอินทรเทวี: สารัตถะและความสำคัญในการสดุดีพระเกียรติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.” วารสารไทยคดีศึกษา, ปีที่ 15, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561): 92-142.
พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. “สมถวิปัสสนาในคัมภีร์อภิธรรมนิกายสรวาสติวาท,” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 4), (กรกฎาคม - ธันวาคม 2560): 194-230.
มิโตะโมะ เคนโย. “กำเนิดนิกายสรวาสติวาท (2),” แปลโดย เมธี พิทักษ์ธีระธรรม. วารสารธรรมธารา, ปีที่ 3, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 5), (มกราคม - มิถุนายน 2560): 48-76.
เมธี พิทักษ์ธีระธรรม และ สมบัติ มั่งมีสุขศิริ. “คัมภีร์มูลมัธยมกการิกา: คำแปลโศลกที่ 1.1-1.2 และคำแปลอรรถาธิบายของคัมภีร์ประสันนปทา,” วารสารปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563): 43-60.
---4. วิทยานิพนธ์
ละอองดาว นนทะสร. “การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ รัตนโคตรวิภาค มหายาโนตตรตันตรศาสตร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสันสฤตศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.
• ภาษาต่างประเทศ
ภาษาจีน
---1. หนังสือ
Matsumoto, Shiro 松本史郎. Yuanqi yu kong 緣起與空 (ปฏิจจสมุปบาทและศูนยตา). Translated by Shao Ping肖平, Yang Jinping楊金萍. Beijing: Zhongguo renmin daxue shubanshe 中國人民大學出版社, 2006.
---2. บทความ
Lin, Yicheng 林益丞. “Zhanzhuan yu juanshe——yi Huayanjingguanmaiyiji yu Huayanjingshu wei bijiao 展轉與卷攝——以《華嚴經關脈義記》與澄觀《華嚴經疏》為比較 (พัฒนาและหลอมรวม——การศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง บันทึกว่าด้วยพัฒนาการทางความหมายแห่ง อวตังสกสูตร และ อวตังสกสูตรฎีกา ของเฉิงกวาน).” Zhonghua foxue yanjiu中華佛學研究 (Chung Hwa Buddhist Journal), 22, (2021): 31-66.
Zai, Lianzhang 載璉璋. “Guo Xiang de zishengshuo yu xuanminglun 郭象的自生說與玄冥論 (ว่าด้วยทุกสิ่งเกิดเองและแนวคิดแบบเสวียนหมิงของกัวเซี่ยง).” Zhongguowenzheyanjiu jikan中國文哲研究集刊 (Bulletin of the Institute of Chinese Literature and Philosophy), 9, (September 1995): 39-78.
---3. พจนานุกรม
Fo Guang Shan quanqiu zixunwang 佛光山全球資訊網 (Fo Guang Shan Online Service). “Fo Guang Dacidian 佛光大辭典 (The Fo Guang Dictionary of Buddhism).” Accessed September 18, 2022. https://www.fgs.org.tw/fgs_book/fgs_drser.aspx.
---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์
Fojiao dianzi fodian jijinhui 佛教電子佛典基金會 (Comprehensive Buddhist Electronic Text Archive Foundation). CBETA Online (ฐานข้อมูลคัมภีร์พุทธจีน). Accessed on September 18, 2022. https://cbetaonline.dila.edu.tw/zh/. (permanent link)
Zhongguo zhexueshu dianzihua jihua 中國哲學書電子化計劃 (Chinese Text Project). Accessed on September 18, 2022, https://ctext.org/zh. (permanent link)
ภาษาอังกฤษ
---1. หนังสือ
Chang, Garma. The Buddhist Teaching of Totality: The Philosophy of Hwa Yen Buddhism. University Park: Pennsylvania State University Press, 1971.
---2. บทความ
Lai, Whalen. “Chinese Buddhist Causation Theories: An Analysis of the Sinitic Mahāyāna Understanding of Pratitya-samutpāda.” Philosophy East and West, Vol. 27, no. 3, (July, 1997): 241-264.
Swanson, Paul L.. “Zen is Not Buddhism: Recent Japanese Critiques of Buddha-Nature.” Numen, Vol. 40, (1993): 115-149.
Takasaki, Jikidō (高崎直道). “The Tathāgatôtpattisambhava-nirdeśa of the Avataṃsaka and the Ratnagotravibhā - with Special Reference to the Term of ‘tathāgata-gotra-sambhava’.” Indoguku Bukkyōgaku Kenkyū, Vol. 7, no. 1, (1958).