เสียง: เครื่องมือสู่สติและสมาธิ

Main Article Content

ศุภร บุญญลาภา
วิไลพร สุจริตธรรมกุล

บทคัดย่อ

สติและสมาธิ คือ หนึ่งในเป้าหมายในการปฏิบัติธรรมที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่จะนำกรรมฐาน 40 จากคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ รวมถึงมีการนำมาอธิบายกันอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยสังเกตว่า คำสอนเรื่องการปฏิบัติต่าง ๆ กลับไม่ค่อยพบเห็นการนำเสียงมาใช้เป็นแนวทางมากนัก แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามารถพบเห็นการใช้เสียงได้เสมอ เช่น การสวดมนต์ ผู้สวดจะต้องกล่าวคำสวดมนต์ไม่ว่าจะกล่าวออกเสียงหรือกล่าวในใจ การบริกรรมภาวนา ผู้เจริญภาวนาอาจมีการบริกรรมโดยนึกคำหนึ่ง ๆ ไว้ในใจ การกระทำเหล่านี้ย่อมใช้เสียงเป็นตัวชักจูงเหนี่ยวนำทั้งสิ้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า เสียงสามารถเป็นเครื่องมือนำไปสู่สติและสมาธิได้หรือไม่ และถ้าสามารถสำเร็จผลเป็นสมาธิได้ จะได้ผลถึงฌานขั้นใด ผลการวิจัยพบว่า คำตอบนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของเสียงที่ผู้ปฏิบัตินำมาใช้ โดยเสียงที่ไม่ดี หรือที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็นเสียงที่ไม่พึงเสพ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความสงบ จึงไม่สามารถทำให้เกิดสติหรือสมาธิได้ แต่หากเป็นเสียงที่ดีหรือเสียงที่พึงเสพแล้ว ย่อมทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดสติหรือสมาธิได้ โดยฌานขั้นสูงสุดที่สามารถทำได้นั้น หากวิเคราะห์ด้วยมุมมองขององค์ฌาน ผู้ปฏิบัติอาจได้ระดับสติหรือสมาธิขั้นปฐมฌาน แต่หากวิเคราะห์ด้วยมุมมองของนิมิต ผู้ปฏิบัติจะได้เพียงสติเท่านั้น ไม่ถึงสมาธิขั้นปฐมฌาน

Article Details

How to Cite
บุญญลาภา ศุภร, และ สุจริตธรรมกุล วิไลพร. 2024. “เสียง: เครื่องมือสู่สติและสมาธิ”. ธรรมธารา 10 (2):124-52. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/272768.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2534.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.

พระอุปติสสเถระ. คัมภีร์วิมุตติมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

---2. หนังสือ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 55. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.

---3. บทความ

จิดาภา เกิดสุริวงษ์, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, พุทธชาติ แผนสมบุญ และจักรกริช กล้าผจญ. “ผลของโปรแกรมดนตรีพุทธบําบัดต่อการเพิ่มสมาธิต่อเนื่องสําหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร.” วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2565): 37-63.

เจตพล แสงกล้า และรศรินทร์ เกรย์. “การสวดมนต์ กับความสุขและสุขภาพจิตของพุทธศาสนิกชนไทย.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ปีที่ 16, ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565): 24-39.

เทพพร มังธานี. “ทฤษฎีการสวดมนต์.” วารสารคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 29, ฉบับที่ 3 (กันยายน - ธันวาคม 2555): 125-144.

พระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี และกาญจนา หาญศรีวรพงศ์. “วิธีการเข้าฌานในพระพุทธศาสนา.” วารสารร้อยแก่นสาร, ปีที่ 8, ฉบับที่ 5 (พฤษภาคม 2566): 591-607.

---4. วิทยานิพนธ์

กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊. “ผลของการสวดมนต์ตามแนวพุทธศาสนา และการทำสมาธิแบบอานาปานสติที่มีต่อความเครียดของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

พระสหชาติ อธิปญโญ (กำชามา). “ศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาในฌานสูตร.” สารนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

---5. ข้อมูลจากเว็บไซต์

พระอภิธรรมออนไลน์. “ปริจเฉทที่ 1 ชื่อจิตตสังคหวิภาค.” สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2566. http://abhidhamonline.org/aphi/p1/059.html.

พระอภิธรรมออนไลน์. “ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค.” สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566. http://abhidhamonline.org/aphi/p4/002.htm.