จาตุรงคสันนิบาต (2): วิเคราะห์เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

วิไลพร สุจริตธรรมกุล
บารมี อริยะเลิศเมตตา
พงษ์ศิริ ยอดสา

บทคัดย่อ

เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตต้นเรื่องมาจากคัมภีร์อรรถกถามัชฌิมนิกาย ทีฆนขสูตร มีข้อมูลในลักษณะเดียวกันในคัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย มหาปทานสูตร และสามารถเชื่อมโยงเหตุการณ์กลับไปยังคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก คือ คัมภีร์ทีฆนิกาย มหาปทานสูตร ซึ่งสามารถใช้อนุมานเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตได้


บทความวิจัยฉบับนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาเหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตให้เห็นถึงที่มาที่ไปของเหตุการณ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่านการวิจัยเชิงเอกสาร (Document Research) โดยจะศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์จากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท รวมถึงข้อมูลพระสูตรอื่น ๆ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และข้อมูลเชิงวัฒนธรรม เพื่อพิสูจน์ว่า เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของวันมาฆบูชาเกิดขึ้นจริงในครั้งพุทธกาล


ผลการวิจัยพบว่า (1) มีความเป็นไปได้สูงที่เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตจะเกิดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ คือ พระจันทร์เต็มดวง ศาสนิกของแต่ละศาสนาตั้งแต่ก่อนพระพุทธศาสนากำเนิดขึ้นจะมารวมตัวกันเพื่อประกอบพิธีกรรม ส่วนมาฆนักษัตรหรือเดือน 3 แม้หลักฐานจากคัมภีร์จะไม่ชัดเจน แต่ก็สามารถใช้คำสำคัญด้านสภาพอากาศ คือ ฤดูหนาว หิมะตก ฝนตกนอกฤดูกาล จากเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับชฎิล 3 พี่น้องมาประกอบการสันนิษฐานได้ ซึ่งช่วงเวลานี้อาจอยู่ราวเดือน 12 ถึงเดือนอ้าย (เดือน 1) ตามระบบจันทรคติ จึงทำให้มีเวลามากพอสำหรับการเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ พบอัครสาวกและบริวาร 250 รูป และไปบรรจบที่เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในเดือน 3 ได้พอดี (2) พระภิกษุที่มาประชุมในครั้งนี้ไม่มีใครนัดหมายกันมาเพราะเป็นการประชุมธรรมดาของตน สอดคล้องกับธรรมเนียมทางศาสนาที่เหล่านักบวชทุกศาสนาจะใช้สัญญะแห่งพระจันทร์ในการรวมตัวกันในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ และที่ไม่มีการนัดหมายก็เนื่องด้วยเป็นความรับผิดชอบของพระภิกษุต้องปฏิบัติธรรมเนียมการรวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจของศาสนานั้น ๆ (3) พระภิกษุที่มาประชุมเป็นพระอรหันต์อภิญญา 6 แม้ในมหาปทานสูตรจะระบุว่าเป็นเพียงพระอรหันต์ขีณาสพ แต่คุณสมบัติเป็นผู้ได้วิโมกข์ 8 เข้าฌานสมาบัติได้ จึงทำให้สามารถน้อมใจไปสู่อภิญญาได้ และยังสอดคล้องกับการฝึกมาตรฐานของพระภิกษุในสามัญญผลสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ให้กับกุลบุตรที่จะต้องได้วิชชา 8 ซึ่งหนึ่งในนั้นมีคุณสมบัติของอภิญญา 6 รวมอยู่ด้วย (4) การอุปสมบทของพระภิกษุจำนวน 1,250 รูป คือ ฝ่ายอดีตชฎิลจำนวน 1,000 รูป และฝ่ายพระอัครสาวกพร้อมบริวาร 250 รูป ในคัมภีร์ระบุว่า ทั้งหมดนี้ล้วนได้รับการอุปสมบทแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา

Article Details

How to Cite
สุจริตธรรมกุล วิไลพร, อริยะเลิศเมตตา บารมี, และ ยอดสา พงษ์ศิริ. 2024. “จาตุรงคสันนิบาต (2): วิเคราะห์เหตุการณ์จาตุรงคสันนิบาตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. ธรรมธารา 10 (2):40-77. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/272872.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. คัมภีร์บาลี

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ปฐโม ภาโค. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ปฐโม ภาโค. วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ทุติโย ภาโค. สยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ปฐโม ภาโค. วินยปิฏเก ปริวาโร. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ปฐโม ภาโค. สุตฺตนฺตปิฏเก ทีฆนิกายสฺส มหาวคฺโค. สยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฏกํ. วินยปิฏเก มหาวคฺคสฺส ปฐโม ภาโค. สุตฺตนฺตปิฏเก มชฺฌิมนิกายสฺส มชฺฌิมปณฺณาสกํ. สฺยามรฏฺฐ: มหามกุฏราชวิทฺยาลย, 2552.

---2. คัมภีร์แปลภาษาไทย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. เล่มที่ 4, 5, 9, 10, 11, 13, 18, 20, 21, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

ปปัญจสูทนี ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. เล่มที่ 5, 7, 10, 13, 18, 20, 34, 44. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2555

พระวิสุทธาจารมหาเถระ. ธาตสัตถุสังคหปาฐนิสสยะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

---3. พจนานุกรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), 2559.

---4. บทความในวารสาร

นพดล ปรางค์ทอง. “‘จาตุรงคสันนิบาต’ ในพระไตรปิฎก และการแสดงโอวาทปาติโมกข์ในสมัยพระโคดมพุทธเจ้า.” วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, (มกราคม - มิถุนายน 2563): 89-97.

พงษ์ศิริ ยอดสา และวิไลพร สุจริตธรรมกุล. “จาตุรงคสันนิบาต (1): ที่มาของพุทธประเพณีมาฆบูชาในสังคมไทย.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมที่ 15), (กรกฎาคม - ธันวาคม 2565): 135-172.

พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย. “พระอรหันต์ปัญญาวิมุต ต้องอาศัยฌานสมาบัติ ในการบรรลุธรรมหรือไม่.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, (มกราคม 2558): 159-184.

พระมหาพจน์ สุวโจ และชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. “เหตุใดเมืองราชคฤห์จึงเป็นสถานที่จัดปฐมสังคายนา?.” วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562): 127-136.

วิไลพร สุจริตธรรมกุล. “ครุธรรม 8 เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติหรือไม่ (1).” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (มกราคม - ธันวาคม 2558): 117-155.

---5. วิทยานิพนธ์

ธนศักย์ เลิศมงคลโชค. “การศึกษาวิเคราะห์อภิญญาในพุทธปรัชญาเถรวาท.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

---6. ข้อมูลจากเว็บไซต์

พระมหาสมปอง มุทิโต. “คัมภีร์อภิธานวรรณา.” mahapali.com, สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2566. https://www.mahapali.com/files/download/fafb46d52ebdff30a511a45946498ea1.pdf.

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก. “ปทานุกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับประชาชน.” songkhla.tmd.go.th, สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2567. http://www.songkhla.tmd.go.th/attachment/images/Patanukom.pdf.

• ภาษาต่างประเทศ

---1. หนังสือ

Bhikkhu Khantipalo. Lay Buddhist Practice The Shrine Room, Uposatha Day, Rains Residence. Kandy, Sri Lanka: Buddhist, 1982.

---2. พจนานุกรม

Davids, T.W. Rhys and William Stede. The Pali Text Society’s Pali-English Dictionary. London: The Pali Text Society, 1921-1952.

---3. บทความ

Hatwar, H.R., B.P. Yadav and Y.V. Rama Rao. “Predication of western disturbances and associated weather over Western Himalayas.” Current Science, Vol. 88, no. 6, (March 2005): 913-920.

Mushiga, Tomaka. “Origin and Development of “the Head of Gayā.” Journal of Indian and Buddhist Studies, Vol. 69, no. 3, (March 2021): 991-994.

---4. ข้อมูลจากเว็บไซต์

Rathanasara, Ven. K.. “The Significance of the Full Moon.” Mhammakami Buddhist Society, 28 August 2018. https://dhammakami.org/2018/08/26/the-significance-of-the-full-moon/.

Swathi Chatrapathy. “What Brings Snowfall to India - A Quick Understanding with an Expert.” Indiahikes, 5 Febuary 2021. https://indiahikes.com/blog/snowfall-winter-2018-himalayan-treks#gref.