อิทธิพลอักษรขอมไทยและอักษรไทย ในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

บุญชู ภูศรี
ณัชวินนท์ แสงศรีจันทน์
นงลักษณ์ สูงสุมาลย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง การศึกษาอักขรวิทยาและเนื้อหาคำบันทึกของผู้จารในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะวิจัยได้ปริวรรตบันทึกท้ายคัมภีร์ จำนวน 59 มัด ซึ่งจารด้วยอักษรธรรมอีสาน 52 มัด และจารด้วยอักษรขอมไทย 7 มัด โดยเลือกนำเสนอประเด็นรูปแบบใบลานอักษรขอมไทยและอักษรไทยที่ส่งอิทธิพลต่อรูปแบบการเขียนใบลานวัดหนองหลัก และประเด็นอักขรวิทยาอักษรขอมไทย อักษรไทย ที่มีอิทธิพลต่ออักขรวิทยาอักษรถิ่นในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก


ผลการวิจัยพบว่า อักษรขอมไทยและอักษรไทยส่งอิทธิพลต่อรูปแบบการสร้างใบลานของวัดหนองหลัก โดยพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเขียนใบลานแบบอักษรขอมไทย คือ การเขียนสารบัญที่ปกหน้า การบอกเลขหน้า (Angka) การเขียนศักราชโดยใช้พุทธศักราช และปีนักษัตร


ด้านตัวอักษร พบว่า มีสัณฐานของอักษรที่ได้รับอิทธิพลการเขียนจากอักษรไทย คือ พยัญชนะ อ และอิทธิพลการเขียนจากขอมไทย คือ พยัญชนะ ง ส่วนสระที่การเพิ่มองค์ประกอบเข้ามา คือ สระเอีย และมีการใช้ตัวเลขจากอักษรขอมไทยและอักษรไทย


ด้านอักขรวิธี พบว่า มีการใช้อักษรขอมไทยและอักษรไทยปะปนในระบบการเขียนอักษรท้องถิ่น และพบว่ามีการใช้อักขรวิธีอักษรขอมไทยปะปนในระบบการเขียนอักษรธรรมอีสาน คือ กรณีสระออ กรณีที่มีสะกด และสระอัว

Article Details

How to Cite
ภูศรี บุญชู, แสงศรีจันทน์ ณัชวินนท์, และ สูงสุมาลย์ นงลักษณ์. 2024. “อิทธิพลอักษรขอมไทยและอักษรไทย ในเอกสารใบลานวัดหนองหลัก จังหวัดอุบลราชธานี”. ธรรมธารา 10 (2):2-38. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dhammadhara/article/view/273058.
บท
บทความวิจัยทางพระพุทธศาสนา
Bookmark and Share

References

• ภาษาไทย

---1. หนังสือ

กรรณิการ์ วิมลเกษม. ตำราเรียนอักษรไทยโบราณ อักษรขอมไทย อักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมอีสาน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552.

ก่องแก้ว วีระประจักษ์. สารนิเทศจากคัมภีร์ใบลานสมัยอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, 2545.

บุญชู ภูศรี. บรรณนิทัศน์คัมภีร์ใบลานอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2564.

บุญชู ภูศรี. อุบลใบลานนิทัศน์ : อักษร ประวัติศาสตร์ และศาสนา. อุบลราชธานี: สำนักงานส่งเสริมบริหารงานวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2562.

เจ้าหน้าที่มณฑลทหารบกที่ 6 “ค่ายสรรพสิทธิประสงค์” จังหวัดอุบลราชธานี และคณะผู้ร่วมมือทุกฝ่าย. พระประวัติและพระกรณียกิจ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์. เรียบเรียงโดยหมุน โสมะฐิติ, เสนอ นาระคล, ประทิน ใจชอบ, ประสิทธิ์ เครือสิงห์ และระลึก ธานี. เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร (ชุมพร) จุฑาธุช ม.ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 24 มิถุนายน 2523. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนกำจัด จงเจริญการพิมพ์, 2523.

ที่ระลึกงานฉลองตราตั้งเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ พระครูศรีธรรมวิบูล. อุบลราชธานี: บริษัท ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป, 2556.

---2. บทความ

บุญชู ภูศรี. “อักษรขอมลาวและอักษรขอมอีสาน.” วารสารใบลาน, ปีที่ 1, ฉบับที่ 1, (มกราคม – มิถุนายน 2559): 7-22.

พระมหานันทวัฒน์ ธมฺมนนฺโท และภัทธิดา แรงทน. “การศึกษาวิเคราะห์บันทึกสำคัญท้ายคัมภีร์ใบลานอักษรธรรม วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 9, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 16), (มกราคม – มิถุนายน, 2566): 2-35.

วินัย พงษ์ศรีเพียร. “จารึกวัดพระธาตุศรีสองรัก: มรดกความทรงจำแห่งจังหวัดเลย ว่าด้วยสัญญาทางไมตรีศรีอโยธยา-ศรีศัตนาคนหุต พ.ศ. 2103.” 100 เอกสารสำคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย ลำดับที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2554: 5-37.

สุชาดา ศรีเศรษฐวรกุล. “การศึกษาเปรียบเทียบพระไตรปิฎกใบลานอักษรขอมคัมภีร์มัชฌิมนิกายที่พบในประเทศไทยและกัมพูชา.” วารสารธรรมธารา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1 (ฉบับรวมที่ 12), (มกราคม – มิถุนายน, 2564): 65-99.

---3. วิทยานิพนธ์

กิติรัตน์ สีหบัณฑ์. “การรวมคณะสงฆ์อีสานเข้ากับคณะสงฆ์ไทย (พ.ศ. 2434-พ.ศ. 2468).” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2533.

---4. รายงานที่ประชุมทางวิชาการ

กัญญาพิลาส เพชรนาม และบุญชู ภูศรี. “รูปแบบการเขียนศักราชในเอกสารใบลานวัดทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ.” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 6 ท้องถิ่น : พลวัต ประชารัฐ และการพัฒนา. 17 สิงหาคม 2561.

บุญชู ภูศรี. “เอกสารใบลานวัดกลางมิ่งเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด: การสำรวจและศึกษาข้อมูลเบื้องต้น.” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติพื้นถิ่นโขง ชี มูล ราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 3 ถอดรื้อพรมแดนความรู้ ความท้าทายของสหวิทยาการในการพัฒนาท้องถิ่นโขง ชี มูล เล่ม 1. 25 ตุลาคม 2561.