การสื่อสารกฎหมายคุ้มครองเด็กบนโลกออนไลน์จากการกระทำของผู้ปกครอง

ผู้แต่ง

  • ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การคุ้มครองเด็กออนไลน์, การแชร์ภาพลูกของพ่อแม่, ความเป็นส่วนตัวของเด็ก, ภาพโป๊เปลือยเด็ก, สื่อลามกอนาจารเด็ก

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ศึกษากฎหมายและมาตรการคุ้มครองเด็กจากการกระทำของผู้ปกครอง ด้วยการเผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับเด็กบนโลกออนไลน์ กรณีการโพสต์ภาพ/ภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปเด็ก สื่อลามกอนาจารเด็ก การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก ใช้วิธีวิจัยเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ เอกสาร ตำรา บทความ รายงานการวิจัย ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหา และสื่อสารให้สังคมได้เกิดความตระหนักรู้ในเรื่องนี้

          ผลการศึกษาพบว่า 1) กรณีการโพสต์ภาพ/ภาพเคลื่อนไหวหรือคลิปเด็ก เป็นการละเมิดสิทธิเด็กที่ได้ รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญไทย และมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กกำหนดข้อห้ามไว้อย่างกว้าง ๆ ไม่มีกฎหมายเฉพาะบังคับใช้โดยตรง 2) กรณีสื่อลามกอนาจารเด็ก ใช้กฎหมายอาญาเป็นหลัก ร่วมกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ 3) การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก กฎหมายหลักที่ใช้คุ้มครอง ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายสามารถบังคับใช้ได้จริงยกเว้นการแชร์ภาพเด็กที่ยังไม่มีการนำไปใช้ที่เป็นรูปธรรม

          สำหรับมาตรการส่งเสริมเพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็กให้เข้มแข็งขึ้น นอกเหนือจากกฎหมายที่มีสภาพบังคับแล้ว มาตรการที่สำคัญดำเนินการโดยศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว และป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้แก่ มาตรการป้องกัน รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจในการพิทักษ์สิทธิเด็ก ป้องกันความรุนแรงในครอบครัว มาตรการสืบสวนขยายผล ขยายผลการจับกุมคดีความผิดเกี่ยวกับเด็กไปยังตัวการร่วม ผู้สนับสนุน และผู้อยู่เบื้องหลัง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ดำเนินการสอบสวนคดีเกี่ยวกับเด็กโดยทีมสหวิชาชีพ และมาตรการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูลคดีเกี่ยวกับเด็กที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นปัจจุบัน

Author Biography

ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช, สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 0954498561

References

ทีมข่าวอาชญากรรม. (2564, 8 มกราคม). แม่แท้ ๆ ทำกับลูกได้ ปคม.บุกรวบ ถ่ายภาพโป๊ลูก 7 ขวบ แลกเงิน ร้อยซ้ำให้ชายอนาจารหนูน้อย. ข่าวสด. https://www.khaosod.co.th/crime/news_5690061

จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน. (2559). ภาพโป๊: กฎหมายสื่อลามกและศีลธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

นเรศวร, 12(1), 77-100.

ทีมข่าวทั่วไทย. (2563, 13 พฤษภาคม). อ๋อม-สกาวใจ แจ้งบก.ปอท. เจอทวิตเตอร์ เอาภาพตัดต่อ ลามก อนาจาร. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1842639

ทีมข่าวสังคม. (2563). จับหนุ่มเจ้าของทวิตเตอร์ “หลานของผม” รับแอบถ่ายคลิปแฟนแต่มโนเป็นหลาน. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/news/society/1775266

วรางค์สิริ จารุทิพย์มงคล, จรัล เล็ง วิทยา, และกำธร กำประเสริฐ. (2563). ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายว่า

ด้วยความผิดฐานครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรม

ท้องถิ่น, 4(3), 33-58.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). รักลูกต้องหยุดโพสต์. สืบค้น 30 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/34882-รักลูกต้อง ‘หยุด’ โพสต์.html

Ouvrein, G. & Verswijvel, K. (2019). Sharenting: Parental adoration or public humiliation? A focus group study on adolescents' experiences with sharenting against the background of their own impression management. Children and Youth Services Review, 99, 319-327. doi:10.1016/j.childyouth.2019.02.011.

Verswijvel, K., Walrave, M., Hardies, K., & Heirman, W. (2019). Sharenting, is it a good or a bad thing? Understanding how adolescents think and feel about sharenting on social network sites. Children and Youth Services Review, 104, 104401. doi:10.1016/j.childyouth. 2019.104401.

กฎหมาย

ประมวลกฎหมายอาญา

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-05