ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน ของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สาโรจน์ ไวยคงคา คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความพึงพอใจ, สื่อดิจิทัล, สมาร์ทโฟน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟนของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 3) เพื่อศึกษาด้านพฤติกรรมในการรับชมสื่อดิจิทัลที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟนของผู้สูงอายุที่แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

          กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร  จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า เรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคะแนนปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน พบว่าโดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัจจัยความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟนที่ไม่แตกต่าง ยกเว้น ด้านระดับศึกษาและรายได้ที่แตกต่าง ส่วนลักษณะทางประชากรศาสตร์ ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน ที่ส่งผลต่อปัจจัยความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจำแนกตามประเภทสื่อ 1.ด้านเนื้อหา    2.ด้านภาพนิ่ง 3.ด้านภาพเคลื่อนไหว 4.ด้านวีดีโอ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านรายได้และโครงสร้างของครอบครัว 2) พฤติกรรมในการรับชมสื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน 2.1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน แตกต่างกัน 2.2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมสื่อดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน จำแนกตามประเภทของสื่อดิจิทัลประกอบด้วย 1.ด้านเนื้อหา 2.ด้านเสียง 3.ด้านภาพนิ่ง 4.ด้านภาพเคลื่อนไหว 5.ด้านวีดีโอ แตกต่างกัน

Author Biography

สาโรจน์ ไวยคงคา, คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 แยกตามตำบล. สืบค้น 12 มกราคม

, จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/238

กันตพล บรรทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคน

ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1298

ชนกชนม์ แต่งเติมวงศ์. (2556). กระแสของ Social Network บนโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน. วารสารสังคมศาสตร์

และศิลปศาสตร์, 2(1), 28-42. สืบค้น 26 มกราคม 2564, จาก

http://www.re.kps.ku.ac.th/e-journal/index.php?option=com_attachments&task=download&id=244

ชลธาร วิริยะพุทธิวงศ์, วรชัย โสภวงศ์, ภูรินทร์ พวงศิริ, และวีรพงษ์ มณีอินทร์. (2554). สื่อดิจิทัลคืออะไร?.

สืบค้น 15 ตุลาคม 2561, จาก http://siamdm04.blogspot.com/2011/08/blog- post_20.html.

นลินี ศรีวิลาศ และปริญญา หรุ่นโพธิ์. (2560) พฤติกรรมการเข้าถึงและการใช้งานอินเตอร์เน็ตของกลุ่ม

ผู้สูงอายุ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. สาขาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ คณะวิทยาการ

จัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บีแอลที แบงค็อก. (2561, 4 ตุลาคม). เจาะตลาดสูงวัย บกระแส Aged Society. สืบค้น 12 มกราคม 2564,

จาก https://www.bltbangkok.com/news/4464/

พนม คลี่ฉายา. (2555). ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศ ศาสตร์, 31(2), 1-26. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/view/213605/148607

ฟายอสซีย์. (2559, 12 ตุลาคม). YouTube เผย Insight ของคนไทย ที่มีต่อการรับชมวิดีโอ. สืบค้น 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/youtube-insight-thai-consumer- 2016/

ภาณุ อดกลั้น. (2551). ทฤษฎีการสูงอายุ. สืบค้น 15 ตุลาคม 2561, จาก http://www.bcnu.ac.th/bcnu.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล. (2558). ผู้สูงอายุไทยกับการใช้เวลา

ว่าง. สืบค้น 10 ตุลาคม 2561, จาก https://nidapoll.nida.ac.th/data/survey/uploads/FILE- 1605601908347.pdf

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สำนักงานประชาสัมพันธ์. (2556). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม

ออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ค (Facebook). สืบค้น 26 มกราคม 2564, จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/49/files/handbook/

อัจฉรา อมะรักษ์. (2560). สื่อดิจิตอล. สืบค้น 12 มกราคม 2564,

จาก https://sites.google.com/a/rajsima.ac.th/techono4/hnwy-kar-reiyn-ru1/1-1-sux-dicitxl

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-05