กลยุทธ์การสื่อสารภาวะวิกฤตของมหาวิทยาลัยในสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้แต่ง

  • ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • การดา ร่วมพุ่ม อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ณัทธสิฐษิ์ สิริปัญญาธนกิจ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การสื่อสารภาวะวิกฤต, สถาบันอุดมศึกษา, โควิด 19, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งเสนอการวิเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารภาวะวิกฤตของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสัดส่วนนักศึกษาชาวจีนมากที่สุดในประเทศไทย ทั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ภายใต้แนวทางการสื่อสารภาวะวิกฤต 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเข้าควบคุมสถานการณ์ 2) การรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุด 3) การจัดตั้งศูนย์การจัดการภาวะวิกฤต 4) การสื่อสารให้ทันเหตุการณ์และสม่ำเสมอ 5) การเข้าใจพันธกิจของสื่อมวลชนในช่วงภาวะวิกฤต 6) การสื่อสารโดยตรงกับผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ 7) การตระหนักว่าธุรกิจต้องดำเนินต่อ และ 8) การเตรียมแผนเพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงวิกฤตอื่นที่เกิดขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้ดำเนินการทั้ง 8 ขั้นตอนครบถ้วน โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ การตัดสินใจที่รวดเร็วฉับไวภายใต้ฐานข้อมูลที่ครบถ้วน การใช้เนื้อหาเดียวผ่านผู้ให้ข้อมูลเพียงบุคคลเดียว และการใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม นำมาซึ่งความสำเร็จในการสื่อสารภาวะวิกฤตของกรณีศึกษานี้

Author Biography

ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

References

กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช, ศิวนารถ หงส์ประยูร, และพันธกานต์ ทานนท์. (2563). การใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสาร รูปแบบ และลักษณะการรายงานข่าวเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 จากสำนักข่าวซินหัวของเว็บไซต์ในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 14(1), 12-47.

กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ, และทัณฑกานต์ ดวงรัตน์. (2557). การสื่อสารรณรงค์พื้นที่สุขภาวะ

ในชุมชนเมือง ในมิติของการสื่อสารเพื่อความรับผิดชอบทางสังคม. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจ

บัณฑิตย์, 8(2), 33-51.

ฉัตรปวีณ์ จรัสวราวัฒน์. (2556). การบริหารงานในองค์กรในช่วงเหตุการณ์ที่วิกฤต. วารสารบัณฑิตศึกษา

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 1-14.

ทีมข่าวการศึกษา. (2563, 28 มกราคม). สุวิทย์ เผย น.ศ. จีนเรียนมหาลัยไทยกว่าหมื่น สั่ง ม.ดังแจงข้อเท็จจริงหลังถูกร้องเปิดให้ นทท.จีนเข้าพักหอน.ศ.. มติชน. สืบค้น 7 เมษายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_1926453

วิภัคฉณัฏฐ์ นิมิตพันธ์, และศิริจันทรา พลกนิษฐ. (2560). การจัดการภาวะวิกฤต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 7(1), 45-51.

สุขสันต์ จิตติมณี. (2563.). การจัดการความเสี่ยงในช่วงแรกของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 5(1), 128-145.

อภิญญา อิงอาจ, ณัฐพร กาญจนภูมิ, และพรพรรณ เชยจิตร. (2563). ความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี, วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2), 94-113.

อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์. (2552). กลยุทธ์การบริหารภาวะวิกฤตสำหรับผู้นำองค์กร, วารสารบริหารธุรกิจ, 32(122), 8-18.

อิสรีย์ อัครสุวพิชญ์. (2556). การสื่อสารภาวะวิกฤตของบริษัท ปตท.: กรณีน้ำมันรั่วที่อ่าวพร้าว จ.ระยอง. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://library1.nida.ac.th/termpaper6/lang/2556/20017.pdf

Argenti, P. A. (2009). Corporate Communication. McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-05