ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเพื่อแสดงความเท่าเทียมของพลังพลเมืองดิจิทัลกับ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ผู้แต่ง

  • วัชรี หิรัญพันธุ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • จิราพร ประสารการ

คำสำคัญ:

การสื่อสารเพื่อแสดงความเท่าเทียม, พลังพลเมืองดิจิทัล, ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมของพลเมืองดิจิทัล
และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยนำแนวคิดพลเมืองดิจิทัล ทัศนคติต่อการสื่อสารเพื่อแสดงความเท่าเทียม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มคนอายุระหว่าง 15-50 ปี ที่เคยแสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทางสื่อออนไลน์มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 204 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างสื่อสารเพื่อแสดงความเท่าเทียมครั้งแรกในช่วงอายุ 15- 20 ปี โดยใช้สื่อ เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และ ทวิตเตอร์ สื่อสารโดยใช้ข้อความ และภาพ โพสต์ในพื้นที่ส่วนตัว การแชร์เนื้อหาความเท่าเทียม และให้ทัศนะเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ต่อความไม่เท่าเทียมในสังคม การไม่ได้รับความเท่าเทียมทางสังคมเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องแสดงความคิดเห็นบนสื่อสังคมออนไลน์  กลุ่มตัวอย่างมองว่าลักษณะของพลเมืองดิจิทัลนั้นควรเป็นคนทั่วไปที่ต้องการเรียกร้องเพื่อสังคม ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยภาพรวมระหว่างทัศนคติต่อการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมของพลเมืองดิจิทัล และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (r= .590) โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความสัมพันธ์กับประเด็นการยอมรับในความแตกต่างในสังคม ความสะดวกในการเรียกร้องสิทธิ และการให้เกียรติกันของคนในสังคม

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2561). ความเป็นพลเมืองดิจิทัล: พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://thaidigizen.com/digital-citizenship/ch1-digital-citizenship/

กรุณพร เชษฐ์พยัคฆ์. (2561). สังคมนิยมชายถูกสั่นคลอน เมื่อเกาหลีใต้ ส่งเสียงเคลื่อนไหวกับแคมเปญ MeToo. สืบค้น 10 ธันวาคม 2563, จาก https://thematter.co/social/metoo-movement-in-southkorea/47660

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล: พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21. (ม.ป.ป.). สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2563, จาก https://thaidigizen.com/digital-citizenship/ch1-digital-citizenship/

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน. (2564). เปิดกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่ #ทำแท้งปลอดภัย ได้ในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์. สืบค้น 26 มีนาคม 2564 จาก, https:// iLaw.or.th.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์. (2563). วัยรุ่นและเยาวชนกับสื่อสังคมออนไลน์. สืบค้น 17 มีนาคม 2564, จาก https://www.thaihealthreport.com/article-july03-2020

ซันนี่วอล์คเกอร์. (2561, 22 มกราคม). MeToo เมื่อการติดแฮชแท็กเป็นการแสดงพลังต่อต้านการคุกคามทางเพศจากผู้มีอำนาจ. สืบค้น 19 ธันวาคม 2563, จาก https://www.blognone.com/node/99259

ซิปอีเวนท์. (2563). พฤติกรรมของ GEN Z ในบทบาทใหม่กับการขับเคลื่อนทางสังคม. สืบค้น 17 มีนาคม 2564, จาก https://www.zipeventapp.com/blog/2020/07/09/gen-z

โซเชียลตื่นตัวชวนคนร่วมแสดงความเห็นหนุนแก้กฎหมาย#สมรสเท่าเทียม. (2563, 7 กรกฎาคม). ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/news/society/1883780

เดอะ บางกอก อินไซท์. (2563). ไม่เอา พ.ร.บ.คู่ชีวิต มาแรง ชาวเน็ตแห่ต้าน ชี้ไม่ใช่สมรสเท่าเทียม. สืบค้น 16 ธันวาคม 2563, จาก https://www.thebangkokinsight.com/391359/

ทั่วโลกร่วมประท้วงเรียกร้องยุติการเหยียดสีผิว. (2563, 8 มกราคม). ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/content/world/437536

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

บริษัท เอาเวอร์ กรีนฟิช จำกัด. (2563). สถิติดิจิทัล ของประเทศไทยจาก Digital Thailand ประจำปี 2020. สืบค้น 17 มีนาคม 2564, จาก https://blog.ourgreenfish.com

ปฏิภาณ ชัยช่วย และกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ. (2559). การสื่อสารประเด็นสาธารณะของสังคมไทยผ่านนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ เว็บไซต์ Change.org. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติการวัดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอนามัย. ไทยวัฒนาพานิช.

พงษ์ วิเศษสังข์. (2554). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Information Technologies and Social Changes. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เหยียดสีผิว กระแสที่ยังจุดติดเสมอในอิตาลี. (2556, 30 กรกฎาคม). วอยซ์ทีวี. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.voicetv.co.th/read/77077

รัชดา ไชยคุปต์. (2562, 16 กันยายน). รู้จักและเข้าใจความเสมอภาคทางเพศ. คมชัดลึก. https://www.komchadluek.net/news/scoop/388697

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563, 17 มิถุนายน). ความเสมอภาคทางสังคม. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ความเสมอภาคทางสังคม

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). บุญศิริการพิมพ์.

สุกัญญา สุดบรรทัด. (2560). วิถีแห่งพลเมืองเน็ต. สืบค้น 18 กันยายน 2563, จากhttps://www.law.cmu.ac.th/law2011/goto.php?action=document&id=3585

สุพิชัย ศิริรักษ์. (2550). สิทธิและเสรีภาพของคนงานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อานนท์ วรยิ่งยง, ทศพร วิมลเก็จ, วิภา ด่านธำรงกูล, อัมราวดี อินทะกนก,เกรียงไกร พึ่งเชื้อ, ณัฐวรรณ ดีเลิศยืนยง, ..., สมชาย อิสระวาณิชย์. (2547). เครือข่ายสังคมและเพศสัมพันธ์กลุ่มชายชอบชาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์. (2561). สิทธิมนุษยชนคืออะไร. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.amnesty.or.th/latest/blog/62/

Bettinghaus, E. P., & Cody, M. J. (1987). Persuasive communication, (4th ed.). Holt, Rinehart and Winston.

Digital Technologies Hub. (2019). Digital cityzenchip. Retrieved January 15, 2021, from https://www.digitaltechnologieshub.edu.au/teachers/topics/digital-citizenship

Duck, S. (2007). Human relationships (7th ed.). Sage.

Electronic Transactions Development Agency. (2018). Thailand internet user profile 2018.

Retrieved December 22, 2020, from https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html

Gavino, M. C., Williams, D., Jacobson, D., & Smith, I. (2019). Latino entrepreneurs and social media adoption: personal and business social network platforms. Management Research Review, 42(4), 469-494. doi: 10.1108/MRR-02-2018-0095

Giles, H., & Wiemann, J. M. (1987). Language, social comparison, and power. In S. Chaffee & C. R. Berger (Eds.), Handbook of communication science (pp. 350-384). Sage.

Gleason, B. (2016). New literacies practices of teenage twitter users. Learning, Media and Technology, 41(1), 31-54.

Gleason, B., & Von Gillern, S. (2018). Digital citizenship with social media: Participatory practices of teaching and learning in secondary education. Educational Technology & Society, 21(1), 200–212.

Human Rights Day. (2020, December 10). Retrieved January 3, 2021, from https://www.daysoftheyear.com/days/human-rights-day/

Internet Rights and Principles Dynamic Coalition. (2014). The charter of human rights and principles for the internet (4th ed.). Retrieved from https://www.ohchr.org/Documents/Issues/Opinion/Communications/InternetPrinciplesAndRightsCoalition.pdf

Mondel, P. (2021). Top 6 factors of social change – explained. Retrieved from https://www.yourarticlelibrary.com/sociology/top-6-factors-of-social-change-explained/35127

Persell, C. H. (1987). Understanding society: an introduction to sociology (2nd ed.). Harper & Row.

Ribble, M. S., Bailey, G. D., & Ross, T. W. (2004). Digital citizenship addressing appropriate technology behavior. ISTE International Society for Technology in Education, 32(1), 6- 12.

Saheb D. (2021). 7 Main factors which affect the social change in every society. Retrieved December 7, 2020, from https://www.shareyouressays.com/knowledge/7-main-factors-which-affect-the-social-change-in-every-society/112456

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-05