การสื่อสารความหมายของโยคะผ่าน “เรือนร่าง” และ “อำนาจ” บนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สอนโยคะเพศหญิง

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา วัยเวก อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มาโนช ชุ่มเมืองปัก ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ความหมายโยคะ, เรือนร่าง, อำนาจ, สื่อสังคมออนไลน์, ผู้สอนโยคะเพศหญิง

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารความหมายของโยคะผ่านเรือนร่างและอำนาจบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สอนโยคะเพศหญิง”เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายของโยคะที่สื่อสารผ่านเรือนร่างและอำนาจบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สอนโยคะเพศหญิง 2) ศึกษาองค์ประกอบในการสื่อสารความหมายของโยคะผ่านเรือนร่างและอำนาจบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สอนโยคะเพศหญิง 3) ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารความหมายของโยคะผ่านเรือนร่างและอำนาจของผู้สอนโยคะเพศหญิง ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คือ

ยูทูบ (YouTube)          เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม จากโพสต์ของผู้สอนโยคะเพศหญิง จำนวน 300 โพสต์ และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้สอนโยคะหญิงที่มีประสบกาณ์ไม่น้อยกว่า 2 ปี  จำนวน 6 คน

           ผลการศึกษาส่วนแรก พบว่า ความหมายของโยคะที่สื่อสารผ่านเรือนร่างและอำนาจบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สอนโยคะเพศหญิง มี 5 ด้าน คือ 1) ด้านสุขภาพ 2)  ด้านการบำบัดรักษาโรค  3)  ด้านความงาม 4)  ด้านแฟชั่น  5)  ด้านธุรกิจ โดยผู้สอนโยคะเพศหญิงได้สร้าง (Reconstructed) ความหมายใหม่ของโยคะที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทในสังคมยุคปัจจุบัน เช่น ความหมายด้านความงาม ความหมายด้านแฟชั่น ความหมายด้านธุรกิจ และได้ธำรงรักษา (Maintain) ความหมายเดิมของโยคะด้านสุขภาพและด้านการบำบัดรักษาโรค รวมถึงรื้อถอน (Deconstructed) ความหมายของโยคะที่ผูกติดกับผู้ชายและนิยามความหมาย (Redefined) ของโยคะให้มีความเหมาะสมกับเรือนร่างของผู้หญิง

          ส่วนที่สอง พบว่า ผู้สอนโยคะเพศหญิงนำเสนอความหมายของโยคะผ่านองค์ประกอบของภาพนิ่ง มีจำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1) บุคคลในภาพ 2) ประเภทของภาพ 3) ฉากหลัง 4)  เสื้อผ้า/อุปกรณ์ 5) มุมกล้องและเลนส์ของกล้อง 6) จารีตของภาพ  และองค์ประกอบของภาพเคลื่อนไหว มีจำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1) ฉาก 2) แสงและเงา 3) สี  4) การแสดง 5) การถ่ายภาพ 6) เสียง ซึ่งผู้สอนโยคะเพศหญิงใช้เรือนร่างของตัวเองเป็นวัตถุดิบ และใช้อำนาจในการจัดการ บงการ ควบคุม เรือนร่างของตัวเอง แต่อำนาจที่ผู้หญิงมีเป็นเพียงอำนาจในแวดวงของโยคะเท่านั้น ผู้หญิงจึงต้องรักษาอัตลักษณ์ทางเพศในแวดวงโยคะเอาไว้ เพื่อรักษาอำนาจของตัวเอง

          ส่วนที่สาม  สื่อสังคมออนไลน์สร้างอิสระในการสื่อสารให้กับผู้สอนโยคะเพศหญิง เพื่อให้ผู้สอนโยคะเพศหญิงช่วงชิงพื้นที่ในการสื่อสารความหมาย และใช้พื้นที่เพื่อพัฒนาเรือนร่างของตัวเองให้กลายเป็นทุน  (Capital) และสั่งสมทุนเพื่อขยายไปยัง ทุนอื่น ๆ สื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นเส้นทางให้กับผู้สอนโยคะเพศหญิงก้าวสู่การสร้างอำนาจที่มาจากอิสระภาพทางเศรษฐกิจ

          เรือนร่าง (body) กลายเป็น “วัตถุดิบ” ผู้สอนโยคะเพศหญิงใช้เป็นพื้นที่ (Space) ในการแสดงอำนาจ (Power) เพื่อการจัดการ บงการ ควบคุมเรือนร่างของตัวเอง โดยผู้สอนโยคะเพศหญิงมีอิสระในการสื่อสารความหมายโยคะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งอิสระในด้านพื้นที่ เวลา ขนาด และรูปแบบในการสื่อสาร ผู้สอนโยคะเพศหญิงจึงสามารถใช้อำนาจในการ สร้างสรรค์ ปรับเปลี่ยน ปรุงแต่ง เรือนร่างได้อย่างอิสระในฐานะเจ้าของเรือนร่างของตัวเอง และสามารถช่วงชิงพื้นที่ในการกำหนดความหมายของโยคะจากผู้ชายและใช้อำนาจในการธำรง (Maintain)  รื้อถอน (Deconstructed) สร้าง (Reconstructed) นิยามความหมายของโยคะ (Redefined) ผ่านเรือนร่างของตัวเอง “สื่อสังคมออนไลน์สร้างอิสระและสร้างอำนาจให้ผู้สอนโยคะเพศหญิงสามารถจัดการบงการ ควบคุม เรือนร่างของตัวเอง แต่เป็นอำนาจที่อยู่ในแวดวง (Field) ของโยคะเพียงเท่านั้น”

References

Altglas,V. (2007). The Global Diffusion and Westernizationof Neo-Hindu Movements:
Siddha Yoga And Sivananda Centres. Religions of South Asia, 1(2), 217-237.
Brown, C. (2009). The Yoga Bible. Old Alresford: Godsfield.
Feuerstein, G. (2002). The Art and Science of Raja Yoga. Nevad: Crystal Clarity Publishers.
Kent, H. (1999). The Complete Illustrated Guide to Yoga. Great Britain: Element Books
Limited.
Keown, D. (2003). A Dictionary of Buddhism. New York: Oxford University Press Inc.
Kinsley, D.R. (1993). Hinduism A Cultural Perspective. New Jersey: Prentice Hall.
Malenovic. J. (2016). Social and Digital Mass Media Impaction the Perception of Yoga.
International Scientific Yoga Journal Sense, 6(6), 66-78
Mandir, R.Y. (2019). Top 10 reasons why Yoga is gaining popularity around the World.
Retrieved September 25, 2020, from https://www.yogateachertrainingris
hikesh.com/blog/top-10-reasons-why-yoga-is-gaining-popularity-around-the-world/
Metha, M. (2002). How to Use Yoga. London: Lorenz Books.
UNESCO. (n.d.). Yoga. Retrieved September 25, 2020, from https://ich.unesco.org/en
/RL/yoga- 01163
United Nations. (n.d.). International Day of Yoga 21 June. Retrieved September 25, 2020,
from https://www.un.org/en/observances/yoga-day
Walters, J.D. (2002). The Art and Science of Raja Yoga. California: Ananda Publications

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03