ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความเข้าใจเนื้อหารายการพยากรณ์อากาศที่มีล่ามภาษามือไทยและคำบรรยายแทนเสียงระหว่างคนบกพร่องทางการได้ยิน คนหูหนวกกับคนหูปกติ

ผู้แต่ง

  • ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, การรับรู้เนื้อหา, คำบรรยายแทนเสียง, ล่ามภาษามือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความเข้าใจเนื้อหารายการพยากรณ์อากาศที่มีล่ามภาษามือไทยและคำบรรยายแทนเสียงระหว่างคนบกพร่องทางการได้ยิน คนหูหนวก กับคนหูปกติ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความเข้าใจเนื้อหารายการพยากรณ์อากาศที่มีล่ามภาษามือไทยและคำบรรยายแทนเสียงและความพึงพอใจระหว่างคนบกพร่องทางการได้ยิน คนหูหนวก และคนหูปกติ โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่จำนวน 200 คน เป็นการศึกษาความพึงพอใจและการรับรู้เนื้อหาที่มีต่อรายการพยากรณ์อากาศ ผลการศึกษาวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการดูรายการที่มีบริการคำบรรยายแทนเสียง รายการที่มีบริการล่ามภาษามือ ส่วนการหาความสัมพันธ์การรับรู้เนื้อหาจากรายการโทรทัศน์กับความพึงพอใจพบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างความพึงพอใจในรายการที่มีบริการคำบรรยายแทนเสียง รายการที่มีบริการล่ามภาษามือ ผลวิจัยนี้สอดคล้องกับการให้บริการเพื่อเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ของคนพิการและคนด้อยโอกาสตามนโยบายของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช)

References

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กําหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552. (2552, 8 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 126 ตอนพิเศษ 80 ง. หน้า 45-47.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2559, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง. หน้า 6-13.

พงศธร ลอตระกูล, ชื่นจิต เจริญพงชัย และ ล่ามภาษามือสุภัชชานันท์ รัญญะวิทย์ (2565, 21 มีนาคม). รายการเที่ยงทันข่าว. บริษัทบางกอก มีเดียแอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด.

ละเอียด ศิลาน้อย. (2560). การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 12(2), 50–61.

ไวยวุฒิ วุฒิอรรถสาร. (2562). ปัจจัยความสำเร็จในการให้บริการคำบรรยายแทนเสียงและล่ามภาษามือบนจอโทรทัศน์ ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 ความพลิกผันของศาสตร์ มนุษย์และสังคมในยุคดิจิทัล (น. 476-490). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2562). แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. ผู้แต่ง.

สุชาดา นิ่มนวล และ ทิวาพร เทศทิศ (2565, 10 มกราคม). รายการเข้มข่าวเย็น. บริษัทบางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด.

สุดถนอม รอดสว่าง. (2561). แนวทางการเขียนบทรายการโทรทัศน์ภาษามือเต็มจอสำหรับคนพิการทางการได้ยิน.วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12(2), 325–355.

Thai deaf TV [facebook post]. F live ผ่านทางเพจ คนหูหนวกรู้ สู้โควิด และ Thai Deaf TV ทุกวันศุกร์. เฟสบุ๊ก. https://m.facebook.com/deaftvthailand/

Baran, S., & Davis, D. (2012). Mass communication theory (6th ed.). Wadsworth.

Jensema, C., Sharkawy, S. E., Danturthi, R. S., Burch, R., & Hsu, D. (2000). Eye movement patterns of captioned television viewers. American Annals of the Deaf, 145(3), 275–285

Neves, J. (2007). Of pride and prejudice: The divide between subtitling and sign language interpreting on television. Sign Language Translator and Interpreter, 1(2), 251–274.

Romero Fresco, P. (2009). More haste than speed: Edited versus verbatim respoken subtitles. Vigo International Journal of Applied Linguistics, 6, 109–133.

Wieczorek, A. M., Klyszejko, Z., Szarkowska, A., & Krejtz, I. (2011). Accessibility of subtitling for the hearing - impaired. Proceedings of the Conference: Interfejs użytkownika-Kansei w praktyce (pp. 27-33). Warszawa.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01