การเล่าเรื่องผ่านสัญญะทางสังคมในซีรีส์เรื่อง Squid Game

ผู้แต่ง

  • ฐิยากร แสวงพรรค คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ธีรติร์ บรรเทิง คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

รูปแบบการเล่าเรื่อง, สัญญะทางสังคม, Squid Game

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการเล่าเรื่องและการนำเสนอสัญญะทางสังคมของซีรีส์เรื่อง Squid Game 2) ศึกษาการตีความและความคิดเห็นของผู้ชมเรื่อง Squid Game ใน Generation Y โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล มีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการนำเสนอสัญญะทางสังคมของซีรีส์เรื่อง Squid Game ซึ่งจะนำมาประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิเทศศาสตร์จำนวน 4 ท่าน ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) จากกลุ่มเป้าหมาย Generation Y ที่มีอายุตั้งแต่ 27-42 ปีจำนวน 6 ท่าน

ผลจากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า การเล่าเรื่องของซีรีส์เรื่อง Squid Game นั้นนี้มีรูปแบบการเล่าเรื่องผ่านเกมที่จำลองถึงสังคมขนาดย่อย มีการนำเกมการละเล่นเด็กของประเทศเกาหลีใต้เข้ามาประยุกต์ใช้ ซีรีส์มีการขับเคลื่อนผ่านความดราม่าของตัวละครมากกว่าความซับซ้อนของเกมและเรื่องราว องค์ประกอบในแต่ละฉากและตัวละครยังมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ทั้งนี้ยังอัดแน่นไปด้วยสัญญะที่นำเสนอถึงความไม่เท่าเทียมระหว่างชนชั้นทางสังคมผ่านการสอดแทรกในรูปแบบของทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่สัญญะทางวัตถุ เหตุการณ์ และการกระทำของตัวละครที่ปรากฏบนซีรีส์ โดยการตีความผ่านความหมายของสัญญะต่าง ๆ (Process of Signification) และการเล่าเรื่องตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Narrative Theory) รวมถึงความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูลหลักจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสัมภาษณ์กลุ่มค่อนข้างไปในทิศทางเดียวกันในส่วนของการตีความหมายและความคิดเห็นหลังรับชมซีรีส์ ซึ่งอาจหมายความว่า Squid Game เป็นซีรีส์ที่ไม่ซับซ้อน มีจุดพลิกผันให้ผู้คนประหลาดใจ และส่งผลให้ผู้ชมมีอารมณ์ร่วมไปกับซีรีส์ได้ ในด้านของการอภิปรายผลแสดงให้เห็นว่าผู้ชมส่วนใหญ่เกิดการตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาทางสังคมตั้งแต่เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้น ซึ่ง Squid Game ถือว่าเป็นซีรีส์ที่ตีแผ่เรื่องสังคมทุนนิยมและอำนาจจากคนชนชั้นสูงได้อย่างประสบความสำเร็จ

References

กฤษริน รักษาแก้ว, และ นันทิยา ดวงภุมเมศ. (2560). อิทธิพลของรายการในสื่อใหม่ที่มีต่อมุมมองต่อโลกของเด็กและเยาวชน. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(3), 152-169. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/103822/82909

กาญจนพิชญ์ ศิริภูวณิชย์, และ อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องข้ามสื่อในการ์ตูนไทยของเอกสิทธิ์ไทยรัตน์. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1), 89-115.

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์ Critical theory แนวคิดและตัวอย่างงานวิจัย. ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค (พิมพ์ครั้งที่ 4). แบรนด์เอจ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาพพิมพ์.

จิณณรัตน์ ธัญศิรอนันต์. (2562). การเปิดรับสื่อ การรับรู้ทัศนคติ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชัน TIKTOK [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Graduate School of Communication Arts and Management Innovation. http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1630162523.pdf

ดิสนีย์ อิทธิหิรัญวงศ์. (2553). การรับรู้ ทัศนคติ และความตระหนักเรื่องปัญหาสังคมของผู้ชมภาพยนตร์เพื่อสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33049

ธนพร ทองแดง. (2561). รูปแบบการดำเนินชีวิต การเปิดรับสื่อวีล็อก ความน่าเชื่อถือ และการตัดสินใจท่องเที่ยวของผู้ชมวีล็อก [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2549). โครงสร้าง ระบบ และไวยการณ์ของหนังสือพิมพ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51742

ประพนธ์ ตติยวรกุลวงศ์. (2553). การเล่าเรื่องและทัศนคติของผู้ชมเกี่ยวกับความรุนแรงในภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36706

ผู้จัดการออนไลน์. (2564, 7 ตุลาคม). Scoop พิเศษ: ถอดปรากฏการณ์ซีรีส์ระดับโลก Squid Game มีอะไรมากกว่าความบันเทิง. MGR online. https://mgronline.com/drama/detail/9640000099404

พชรวรรณ น้อยสุข. (2563). สัญญะและการนําเสนอความเหลื่อมล้ำทางสังคมผ่านภาพยนตร์ชนชั้นปรสิต (Parasite) [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภัทราพร ภูริวังสกุล. (2562). รหัสสัญญะที่สำคัญของสื่อการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ: การศึกษาฮิคารุ เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. Nida Wisdom Repository. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5062?locale-attribute=en

ภาณุ อารี. (2564, 8 พฤศจิกายน). เมื่อ GEN Y และ GEN Z กลายเป็นผู้บริโภคหลักของโลก ผู้สร้างคอนเทนต์ควรปรับตัวอย่างไร. Movies Matter. https://filmclubthailand.com/articles/film-business/when-gen-y-and-gen-z-are-becoming-majority-consumers/

ภูมิสิษฐ์ กฤตพิพัฒนโชติ์. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบการเล่าเรื่องและสื่อความหมายในมิวสิกวิดีโอเพลงลูกทุ่งยุคคลาสสิกกับยุคร่วมสมัย [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. dhurakij pundit communication arts journal. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/dpuca/article/view/174484

สควิดเกม เล่นลุ้นตาย: เหตุใดซีรีส์เกาหลีชวนระทึกเรื่องนี้กำลังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก. (2564, 2 ตุลาคม). BBC News ไทย. https://www.bbc.com/thai/international-58765805

สุมาภา ประดับแก้ว. (2556). การวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ที่กำกับโดยคมกฤษ ตรีวิมล. [ปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้]. MJU Library. http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/thesis/2557/sumapha_pradubkaew/สุมาภา%20ประดับแก้ว.pdf

ณภัทร สุธัญญา. (2566, 6 เมษายน). 20 อันดับหนังเอาชีวิตรอดปี 2023 รวมแนวภัยพิบัติ ระทึกขวัญ ซอมบี้. Mybest. https://my-best.in.th/50827

Asia Contents Awards. (2565). https://asiacontentsawards.com/eng/

Brandon Katz. (2021, October 7). Squid game’ is growing faster than any other Netflix original hit. Observer. https://observer.com/2021/10/netflix-squid-game-viewership-ratings-bridgerton-witcher-stranger-things/

Xinxi, G. (2550). ศึกษาการเล่าเรื่องและวัฒนธรรมในภาพยนตร์นอกกระแสไทยและจีนกรณีศึกษาเรื่อง “Mary is Happy Mary is Happy” และ “Ne Zha” [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/3331

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02