ภาพตัวแทนครอบครัวไทยเชื้อสายจีนผ่านละครโทรทัศน์

ผู้แต่ง

  • รุจฬ์สวัตต์ ครองภูมินทร์ -
  • สมสุข หินวิมาน

คำสำคัญ:

ภาพตัวแทน, ครอบครัวไทยเชื้อสายจีน, ละครโทรทัศน์, การถอดรหัส

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “ภาพตัวแทนครอบครัวไทยเชื้อสายจีนผ่านละครโทรทัศน์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) จากละครโทรทัศน์เรื่อง ด้ายแดง (2562) กรงกรรม (2562) เสน่ห์นางงิ้ว (2561) และเลือดข้นคนจาง (2561) รวมไปถึงการวิเคราะห์ผู้รับสาร (audience analysis) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างภาพตัวแทนของความเป็นครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในละครโทรทัศน์ และการถอดรหัสภาพตัวแทนครอบครัวไทยเชื้อสายจีนที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ของสมาชิกครอบครัวไทยเชื้อสายจีนด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ภายใต้สถานการณ์บริบทของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนในสังคมไทยปัจจุบัน

ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ที่เป็นตัวบทเปรียบเทียบกับการรับรู้ตามบรรทัดฐานหลักของสังคมจะประกอบด้วย (1) ครอบครัวเป็นพื้นที่ในการพยายามรักษาค่านิยมขนบธรรมเนียมเดิม ได้แก่ ความกตัญญูคือคุณธรรมที่ต้องยึดถือ และความขยันทำมาหากินคุณธรรมสร้างค่าให้ตนเอง (2) ครอบครัวเป็นพื้นที่ในการต่อรองขนบธรรมเนียมที่ไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน ได้แก่ การยกย่องบุรุษเพศกับความเท่าเทียมทางเพศ จากครอบครัวขยายสู่ครอบครัวเดี่ยว และระบบกงสีที่ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิม และ (3) กลวิธีในการสร้างความชอบธรรมผ่านภาษาของละครโทรทัศน์ ส่วนการถอดรหัสของสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้รับสารเปรียบเทียบระหว่างโลกความเป็นจริงของตนเองกับภาพตัวแทนที่ถูกนำเสนอในตัวบทจะประกอบด้วย (1) ความท้าทายของขนบธรรมเนียมประเพณีและบรรทัดฐานเดิมที่มีต่อผู้ชมละครโทรทัศน์ ได้แก่ รุ่นใหม่กับจิตสำนึกที่เปลี่ยนไปในภาพตัวแทนครอบครัวไทยเชื้อสายจีน และสตรีเพศกับต่อรองอำนาจในภาพตัวแทนครอบครัวไทยเชื้อสายจีน และ (2) บทบาทหน้าที่ของละครโทรทัศน์กับการทบทวนตนเองของผู้รับสาร ได้แก่ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครอบครัว และระดับโครงสร้างมิติต่าง ๆ ของครอบครัว

 

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). สื่อสารมวลชนทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เกษียร เตชะพีระ. (2548). เจ๊กและแขกกับสังคมไทย: พินิจปัญหาคนไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูจากประสบการณ์คนไทยเชื้อสายจีน: การสัมมนาวิชาการประจำปี 2548. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

ปรีดา อัครจันทโชติ. (2018). ความเป็นจีนในละครโทรทัศน์ไทย. วารสารนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 36(1). 1-20.

สมสุข หินวิมาน. (2548). ทฤษฎีการสื่อสารกับโลกาภิวัตน์ในปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 8-15, นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมสุข หินวิมาน. (2558). อ่านทีวี : การเมืองวัฒนธรรมในจอโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: พารากราฟ.

สมสุข หินวิมาน. (2562). สื่อศึกษา หน่วยที่ 1-8, แนวทางการศึกษาภาพตัวแทน. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมิตร ปิติพัฒน์. (2525). การเปลี่ยนแปลงครอบครัวจีนในประเทศไทย. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. 122-125.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์.

Cavallaro, D. (2001). Critical and cultural theory. A&C Black.

Goldenberg, H., & Goldenberg, I. (2012). Family therapy: An overview.

Hall, S. (Ed.). (1997). Representation: Cultural representations and signifying practices (Vol. 2). Sage.

Kingsley, D. (1966). Human Society. The Macmillan Co. New York.

Williams, R. (2011). The Long Revolution. Cardigan: Parthian Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06