ตัวชี้วัดการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษาสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

บุญศรี พรหมมาพันธุ์
ศศิธร บัวทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 2) ประเมินคุณภาพตัวชี้วัดการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน (2) นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ 4 จำนวน 55 คน และ (3) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปี 2554 – 2559 จากแขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น รวมทั้งสิ้นจำนวน 105 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวชี้วัดการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 25 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านที่ 1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษา มี 6 ตัวชี้วัด ด้านที่ 2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มี 5 ตัวชี้วัด ด้านที่ 3 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข มี 5 ตัวชี้วัด ด้านที่ 4 การพัฒนาตนเอง มี 4 ตัวชี้วัด และด้านที่ 5 การติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ มี 5 ตัวชี้วัด และ 2) ตัวชี้วัดการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท มีความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2545). การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาหลักสูตรมหาบัณฑิตทาง
การศึกษา: การประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการดำเนินงานวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2556). ปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาตรี ของ
นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนิดา ชาอินทร์ และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาคณะ
สัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เชษฐา อาษาราช และคณะ. (2557). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะสําคัญดานความสามารถในการใชเทคโนโลยีตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารคณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 20(1), 38-50.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะหลักของอาจารย์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษา
ปริญญาโท สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (รายงานการวิจัย). นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประยูร เจริญสุข. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการสําหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

รัชดาภรณ์ ปิ่นรัตนานนท์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 8(1), 23-35.

รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล. (2556). การพัฒนาสมรรถนะตัวชี้วัดสมรรถนะ สาขาวิชาความปกติของการสื่อความหมาย (ดุษฎี
นิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553). วิธีวิทยาการประเมิน ศาสตร์แห่งคุณค่า. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมนชาติ แสงคำ. (2557). ความต้องการพัฒนาตนเองของครูโรงเรียนวัดลาดเป้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบ
มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ .2552. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). ระเบียบการรับสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นนักศึกษาระดับ
ปริญญาโทและประกาศนียบัตร ปีการศึกษา 2558. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. (2554). หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
วิชาเอกการประเมินการศึกษา. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

Spencer, M., & Spencer, S. M., (1993). Competence at Work: Models for Superiors Performance. NY:
John Wiley & Sons.