ชัยนาท: รูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
จังหวัดชัยนาทยังไม่มีรูปแบบการบันทึกภาพทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการพัฒนาจังหวัดเป็นการเฉพาะ การวิจัยนี้จึงมีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาจังหวัด โดยการศึกษาภาพถ่ายในอดีต ศึกษาและเปรียบเทียบการบันทึกภาพในอดีตและปัจจุบัน และศึกษารูปแบบการบันทึกภาพทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาจังหวัดตามลำดับ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวม ภาพถ่ายและข้อมูลเกี่ยวกับภาพจากส่วนราชการและชุมชนที่มีภาพร่องรอยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม ในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหวัด ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องและภูมิปัญญาการบันทึกภาพจำนวน 15 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ เป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการบันทึกภาพและช่างภาพจำนวน 45 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วไป เป็นเด็ก เยาวชนและผู้ใช้ภาพเพื่อการพัฒนาจังหวัดจำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม และการประชุมปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงคุณภาพแบบอุปมัย ผลการวิจัยพบว่า ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทในอดีต เป็นภาพภาพถ่ายที่ตั้งเมืองโบราณ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และภาพถ่ายกิจกรรม พิธีกรรม และสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นความเชื่อ ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวชัยนาท ที่สะท้อนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทได้ค่อนข้างสมบูรณ์ว่า เดิมเป็นที่ตั้งชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมสมัยลพบุรี เป็นเมืองหน้าด้านทางใต้สมัยสุโขทัย เป็นเมืองลูกหลวงในสมัยอยุธยา เป็นเมืองกันทัพพม่าในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น และเป็นจังหวัดชัยนาทหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จนปัจจุบันจึงเป็นแหล่งอารยธรรมทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัยกว่า 1,000 ปี มีการสืบทอดความเชื่อเรื่องผี ลัทธิพราหมณ์ฮินดูและพุทธศาสนามาโดยลำดับ ภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมในอดีตและปัจจุบันมีข้อมูลการบันทึกคล้ายคลึงกันแต่แตกต่างกันที่เทคนิควิธี คุณค่าและคุณภาพของภาพ ภาพถ่ายทั้งในอดีตและปัจจุบันมีจุดด้อยที่ไม่มีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ ขาดการดูและรักษาและการจัดการที่ดี ขาดการสร้างสรรค์ในการบันทึกเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาจังหวัดในภาพรวม รูปแบบการบันทึกภาพเพื่อจัดเก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชัยนาทที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาจังหวัด เป็นรูปแบบเชิงอธิบาย (Semantic Model) ประกอบด้วย 4 เป้าหมายการบันทึก คือภาพเพียงพอ มีคุณภาพ มีการจัดเก็บและการใช้อย่างเป็นระบบ และมีการจัดการที่ดี บันทึกภาพใน 3 แนวทาง โดยบันทึก ภาพทางประวัติศาสตร์แบบมุ่งเน้นสาระ คุณค่าและเทคนิคแบบผสมผสาน บันทึกภาพทางสังคมและวัฒนธรรมแบบมุ่งเน้นอัตลักษณ์ สร้างสรรค์ ใช้เทคนิคเฉพาะ และจัดการภาพเพื่อการใช้ประโยชน์ ภายใต้ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ คือความร่วมมือของชาวชัยนาท การจัดการความรู้ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีกลไกการจัดการที่ดี
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กฤษณ์ ทองเลิศ และคณะ. (2547). เกณฑ์การประเมินคุณค่าผลงานภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ของนักศึกษาในมุมมอง
ของผู้เรียนถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ต่อสิต กลีบบัว. (2553). การเมืองในการถ่ายภาพท่องเที่ยว:การครอบงำและการต่อรองทางวัฒนธรรม. (วิทยานิพนธ์
การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
นิตยา ชำนาญป่า. (2553). ภาพถ่ายกับงานประวัติศาสตร์ศิลปะ (การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศิลปากร. นครปฐม.
รัฐ จันทร์เดช. (2522). ประวัติศาสตร์ศิลป์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
สมเกียรติ ตั้งนโม. (2546). การวิจัยวัฒนธรรมทางสายตา. เชียงใหม่: โครงงานวิจัยศิลปะตามโครงการสนับสนุนการวิจัย
คณะวิจิตรศิลป์.
สำนักงานจังหวัดชัยนาท. (2556). ข้อมูลทั่วไปจังหวัดชัยนาท ปี 2556. ชัยนาท: กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร.