การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ตอน ตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน สอบถามผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ผู้ดูแลหลักสูตรทวิภาคี หัวหน้าสาขา อาจารย์ผู้สอน อาจารย์นิเทศ ผู้บริหารสถานประกอบการและครูผู้ฝึกในสถานประกอบการ จำนวน 411 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบจดบันทึก และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ด้วยการสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการวางแผนและการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการประเมินผลและพัฒนา และการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ซึ่งอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 67.306 และมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร การมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคี
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
จินตนา รวมชมรัตน์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2559). ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (น.499-508).
กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
จีรพงษ์ หอมสุวรรณ. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถาบัน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
ธานินทร์ ศรีชมภู.(2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษาศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
บุญสืบ โพธิ์ศรี และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารหลักสูตรเพื่อสร้างคุณลักษณะแรงงานฝีมืออาชีพในระดับอาชีวศึกษา.
Veridian E-Journal, Silpakorn University 9(1), 1268-1287.
ประทีป นานคงแนบ. (2554). การพัฒนารูปแบบการนิเทศฝึกงานแบบผสม สำหรับนักศึกษาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษา
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ.(2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัญฑิต) สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
พฒศ์ศิวพิศ โนรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์.(2554). หลักการทฤษฏีและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วย การบริหาร
สถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบททวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อนันท์ งามสะอาด. (2549). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีด้วยหลักการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเดชอุดม
(วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
Follet, P.M. (1924). Creative Experience. London: Longman and Green.
Lehmann, W.L. (1997). The Dual System of Vocational training in Germany: Its Organization, Structure,
context and current Debate. (Abstract).
Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
McMillan, James.H. & Schumacher, Sally. (1997). Research in Education. A Conceptual Introduction. Fourth
Edition. New York: An imprint of Addison Wesley Longman, Inc.