ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและปัจจัยทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ ไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการและปัจจัยทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ ปัจจัยทางจิตวิทยา และพฤติกรรมการซื้อของไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (2) วิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ลูกค้าที่ซื้อไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จาก 7 ร้าน ในปี พ.ศ. 2559 โดยทำการสุ่มอย่างง่ายกับลูกค้าแต่ละร้านในทุกวันจันทร์ พุธ และเสาร์ เนื่องจากลูกค้าที่มาใช้บริการจะมีหลากหลายอาชีพ และเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้านิยมมาใช้บริการจนครบตามจำนวน 385 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (chi-square) ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคลากรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนด้านการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลผลิตและคุณภาพ ด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ ปัจจัยจิตวิทยา ด้านความเชื่อมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลิกภาพ ด้านการเรียนรู้ ด้านทัศนคติ ด้านการรับรู้และด้านการจูงใจตามลำดับ และพฤติกรรมการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ พบว่าลูกค้าที่ซื้อไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่มีเหตุผลในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นสิริมงคล (ร้อยละ 28.57) จำนวนเงินที่ซื้อไม้ดอกไม้ประดับ/ชิ้น 1-500 บาท (ร้อยละ 43.12) ช่วงเวลาในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ เวลา 8.00 - 11.00 น. (ร้อยละ 48.31) ความถี่ในการซื้อ ไม้ดอกไม้ประดับ 1 ครั้งต่อเดือน (ร้อยละ 29.61) ซื้อไม้ดอกไม้ประดับในลักษณะซื้อปลีก (ร้อยละ 76.88) บุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับคือครอบครัว (ร้อยละ 53.77) และเลือกไม้ดอกไม้ประดับประเภทไม้พุ่ม (ร้อยละ 38.44) (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพรด้านจำนวนเงินที่ซื้อ ช่วงเวลาในการซื้อ ลักษณะการซื้อ และบุคคลที่มีอิทธิพลในการซื้อ ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยในทิศทางเดียวกัน ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์กัน และ (3) ปัจจัยด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อไม้ดอกไม้ประดับของลูกค้าในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ด้านเหตุผลในการซื้อ ช่วงเวลาในการซื้อ และลักษณะการซื้อ ตัวแปรมีความสัมพันธ์กันในระดับน้อยในทิศทางเดียวกัน ส่วนตัวแปรอื่นไม่มีความสัมพันธ์กัน
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี
เชาว์ ยันฮง (ZHAO YANHONG). (2556). พฤติกรรมการซื้อดอกกล้วยไม้ไทยของลูกค้าชาวจีนในคุนหมิง. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
โชติญา คูประชามิตร. (2557). ความสัมพันธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตด้าน
การเกษตรในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(3), 155-162.
นพดล ศึกษากิจ. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า นิสสัน ลิฟ ของ
ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
นิภาพร มีชำนาญ. (2554). กลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ประกอบการไม้ดอกไม้ประดับ: กรณีศึกษา หมู่บ้านดงบัง อำเภอเมือง
จังหวัดปราจีนบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2555). การเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเมืองระหว่างผู้บริโภคกับนักลงทุนที่ไม่ใช่มือ
อาชีพ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. กรุงเทพฯ:
Kotler P. (2012). Marketing Management: Analysis, Planning and Control. NJ: Prentice-Hall
Lovelock, C.H., & Wright, L. (2007). Principles of Service Marketing and Management. NJ: Pearson
Education Inc.
Mowen, J.C. and Minor, M. (1998). Customer Behavior. (5thed.). NJ: Prentice-Hall.
OK NATION BLOG. (2550). ไม้ดอกไม้ประดับ. From http://www.oknaiton.net/blog/starcocity/2007/07/22/entry-1
Rani Pinki. (2014). Factors influencing consumer behavior. India: Institute of Law Kurukshetra, University
Kurukshetra
Schimmenti, Asciuto, Galati, Valenti. (2011). Consumer of flowers and ornamental plants: an exploratory
survey in the Italian (Mezzogiorno) regions. Italy: University degli Studi di Palermo
Yamane, Taro. (1973). Statistics and Introductory Analysis. NY: Harper and Row Publication.