การสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Main Article Content

รสิกา อังกูร
วิทยาธร ท่อแก้ว
สุภาภรณ์ ศรีดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชุมชนเชิงวัฒนธรรมตำบลไทรน้อยและชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านน้ำเชี่ยวเกี่ยวกับ (1) บริบทของชุมชน (2) กระบวนการและวิธีการสื่อสารภูมิปัญญา (3) การนำเสนอรูปแบบและกลยุทธ์การสื่อสารภูมิปัญญาของชุมชนท่องเที่ยว ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำกลุ่มท่องเที่ยว คณะกรรมการกลุ่ม ปราชญ์ชาวบ้าน นายกเทศมนตรีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกในชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตำบลไทรน้อยและชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านน้ำเชี่ยว และนักท่องเที่ยว จำนวน 40 คน เลือกแบบเจาะจงและเทคนิคสโนว์บอล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุมชนท่องเที่ยวไทรน้อยเป็นชุมชนที่มีอาชีพทำการเกษตร ทำขนมไทย ทำอิฐมอญ มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีบ้านเรือนทรงไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักผสานกับวิถีการดำรงชีวิตริมฝั่งแม่น้ำ มีการสืบทอดงานบุญโบราณ เป็นทุนทางวัฒนธรรมประเพณี มีปราชญ์ด้านขนมไทย และมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งจัดเป็นทุนทางทรัพยากรบุคคลของชุมชน ส่วนชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยวเป็นชุมชนทำประมงพื้นบ้านแบบมือเปล่า มีอัตลักษณ์ชุมชน คือ เป็นชุมชนสองศาสนาสามวัฒนธรรม มีงานประเพณีแข่งเรือพายด้วยลำไม้ไผ่ที่ผสานสามเชื้อชาติ มีป่าชายเลนและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นทุนทางธรรมชาติที่โดดเด่นในการทำการท่องเที่ยว มีทุนทางทรัพยากรบุคคลของชุมชน คือ มีปราชญ์ด้านประมงพื้นบ้านและผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งและมุ่งมั่นในการพัฒนา (2) กระบวนการสื่อสารภูมิปัญญาชุมชนท่องเที่ยวทั้งสองแห่งมุ่งเน้นใช้การสื่อสารใน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นการผลิต ขั้นการสืบทอด และขั้นการประยุกต์ ซึ่งใช้วิธีการสื่อสารภูมิปัญญาด้วยการสื่อสารชุมชน มีการสื่อสารชุมชนทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน การสื่อสารทั้งแนวราบและแนวดิ่ง การสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการควบคู่กัน ส่วนวิธีการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมใช้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมดำเนินการ ร่วม จัดสรรและแบ่งปันผลประโยชน์ และร่วมติดตามประเมินผล (3) รูปแบบการสื่อสารภูมิปัญญาของชุมชนท่องเที่ยวทั้งสองแห่ง คือการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการสื่อสารชุมชน โดยใช้ 2 กลยุทธ์หลักผสมผสานกัน กลยุทธ์แรก คือ แผนที่นำทางการสื่อสารภูมิปัญญาชุมชนอย่างยั่งยืน และกลยุทธ์ที่สอง คือ กรอบความคิดเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามแนวคิด WELCOME โมเดล ประกอบด้วย W (Wisdom) การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาสานต่อและสืบทอดอย่างเป็นระบบ E (Experience) การสร้างประสบการณ์ให้กับทั้งสมาชิกในชุมชน และนักท่องเที่ยว L (Learning) การสร้างการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมแก่นักท่องเที่ยว COM (Communication) การใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และ E (Elegance) การนำมาซึ่งความสง่างามและความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดภูมิปัญญาของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ทรงเจียระพานิช. (2552). นโยบายและการวางแผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ตาม
โครงการ “เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคัก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรุงเทพฯ.

กรวรรณ เวชชานุเคราะห์ และนิธิดา แสงสิงแก้ว. (2556). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน
กรณีศึกษาการจัดการการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์พื้นที่ชุมชนคลองโคน จังหวัดสมุทรสาคร (การศึกษา
ค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อเพื่อชุมชน: การประมวลองค์ความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เจนจีรา อักษรพิมพ์. (2560). กลยุทธ์การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร
วิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.12 (3).

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2558). อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลง. เชียงใหม่: ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐพงศ์ รักงาม. (มปป.) แนวคิดอัตลักษณ์ท้องถิ่นภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน
2561. จาก http://202.28.109.66/journalfiles/mcu59_2_06.pdf. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2561.

เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ. (2552). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว ของชุมชนตลาดน้ำ
ยามเย็น อัมพวา. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2560. จาก http://elib.ftu.ac.th/webopac/Record/29447/
Description#tabnav.

ปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการวิจัยใน
สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พจนา สวนศรี. (2560) การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2561. จาก http://issuu.com/somphopibmaysa/
docs/cbt_potjana.

พรทิพย์ ชนะค้า. (2547). กลยุทธ์การสื่อสารภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดบุรีรัมย์.
(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พลอยชมพู ฐิติยาภรณ์. (2553). การสื่อสารชุมชนท่องเที่ยวยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ฟองจันทร์ หลวงจันทร์ดวง. (2561). ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์
การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(2). สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562, จาก http://e-jodil.stou.ac.th/filejodil/
18_4_622.pdf.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาสี่ภาควิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559. จากhttp://www.dasta.or.th/ecatalog/th/component/
k2/item/54