ศักยภาพชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตัวชี้วัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน การเรียบเรียงบทความนี้ มีวัตถุประสงค์นำเสนอชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยว ในภาคเหนือตอนบน ที่มีศักยภาพ และความพร้อมในการพัฒนาให้เป็น"แหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน" โดยได้นำตัวชี้วัดของการท่องเที่ยวชุมชนสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นวิธีการสร้าง หรือพัฒนาตัวบ่งชี้ โดยอาศัยข้อกำหนดเชิงทฤษฎี ที่ได้สังเคราะห์มาแล้วทั้งหมด 5 องค์ประกอบได้แก่ (1) การจัดการด้านการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว /ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแหล่งท่องเที่ยว (2) การจัดการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว (3) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว (4) การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน และศูนย์การบริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และ (5) บุคลากร และนักสื่อความหมายท้องถิ่น แต่ละองค์ประกอบจะประกอบด้วยตัวชี้วัด รวมทั้งหมด 28 ตัวชี้วัด นำมาวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่าง ชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยว 5 ชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ชุมชนที่มีศักยภาพและความพร้อมในการพัฒนาเป็น "การท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน” คือ ชุมชนบ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่, ชุมชนบ้านสามขา จังหวัดลำปาง ชุมชนดังกล่าวมีศักยภาพอย่างชัดเจน ตามองค์ประกอบ และตัวชี้วัด สามารถที่จะใช้เป็นชุมชนตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา และเสริมสร้างชุมชนอื่นๆ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนสร้างสรรค์ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ชูกลิ่น อุ่นวิจิตร. (2548). การพัฒนาชุมชนต้นแบบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในจังหวัดเชียงราย สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2559 จาก readgur.com/doc/.../การท่องเที่ยวโดยชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
ธีระสิน เดชารักษ์ . (2556). การรับรู้ของนักท่องเที่ยว ความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559 จากhtpp://www.dasta.or.th/.../1615-การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์.
นิสวันต์ พิชญ์ดำรง. (2553). ทุนวัฒนธรรม: ขุมทรัพย์ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐกิจและ สังคม, 47(4), 13-17.
ผู้จัดการออนไลน์. (2556). แม่กำปอง. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2560 จากwww.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID...
ภัยมณี แก้วสง่า และ นิศาชล จำนงศรี. 2555. การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย. Suranaree J. Soc. Sci., 6(1) (June), 93-111.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 33(2), 331-366.
ภิสันติ์ ตินะคัต. (2559). การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เครื่องมือของการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2559 จาก www.nuic.nu.ac.th/Upload/File/039.pdf
รางวัลลูกโลกสีเขียว. (2545). ป่าชุมชนห้วยทรายขาว พลิกฟืนผืนป่าด้วยวิถีศรัทธา .สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์2559,จาก pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2545/community-02.htmlTranslate this page
วรวิทย์ อวิรุทธ์วรกุล. (2553). การเพิ่มคุณค่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย: กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 47(4), 19-24.
วันเพ็ญ ผ่องกาย. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
วิกิตต์ หินแก้ว. (2553). การจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิผลการปฏิบัติงานของทีมผู้ตรวจสอบอาคาร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ศุภวรรษ เชื้อเมืองพาน. (2556). การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนกรณีศึกษาบ้านไร่กองขิงตำบลหนองควายอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, 41(1), 679-684.
สว่างพงศ์ (2554). บทความการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการทองเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.. ในการประชุมสัมมนาและงานส่งเสริมการขาย PATA Adventure Travel and Responsible Tourism Conference and Mart 2012 (AT & RTCM),. 4-7 กุมภาพันธ์ 2555. ณ เมืองพาโร ประเทศภูฎาน.
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2556). ท่องเที่ยวสร้างสรรค์: เครื่องมือสำคัญนำไปสู่ชุมชนยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2557, จาก doc.qa.tu.ac.th/documente/.../Creative%20Tourism% 2020%20aug%2055_spot.pdf
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์. (2556). หนังสือคุ่มือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. 2556
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2555). สัมมนาเชิงปฏิบัติการ. เอกสารประกอบสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน, 27-29 มิถุนายน 2555.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. (2551). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. ประชาคมวิจัย,(57), 15-21., สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2559 จาก https://www.vcharkarn.com/varticle/38304
สำนักงานเทศบาลตำบลทาปลาดุก. (2559) ประวัติหมู่บ้านทากู่. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2559, จากwww.tapladuk.go.th/index.php/ประวัติหมู่บ้าน/ม-1-บ้านทากุ่.
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2549). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2555). อพท.ดัน 6 ยุทธศาสตร์ ยกมาตรฐานการท่องเที่ยวยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2559, จาก www.dasta.or.th/th/ข้อบังคับ-อพท/item/538-538.
อนุวงค์ แซ่ตั้ง. (2551). ชุมชนบ้านสามขา ต้นแบบ “ฝาย” ของคนต้นน้ำ. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2559, จากhttps://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2551/community-07.html
Florida, R. (2002). The Rise of the creative class: and how it’s transforming work, leisure, community and everyday life. New York: Basic Books.
Johnstone, J. N. (1981). Indicators of Education Systems. London: UNESCO.
Richards, G. (2010). Creative Tourism and Local Development. pp.78-90. InWurzburger, R. et al. Creative Tourism: A Global Conversation: How to Provide Unique Creative Experiences for Travelers. Worldwide. Santa Fe: Sunstone Press.