การพัฒนาระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

บุหลัน เจนร่วมจิต
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง
ศิริพรรณ ชุมนุม
คมศร วงษ์รักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนที่พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 สร้างระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและคณะครูผู้มีประสบการณ์ด้านการเทียบโอน ผลการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ระยะที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพของระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และครูผู้สอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา จำนวน 32 คน และนักเรียนนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ภาคพิเศษ) รุ่นที่ 13 จำนวน 30 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนและแบบสอบถามเกี่ยวกับระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาระบบ พบว่า 1) ระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) งานเตรียมการ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อย คือ (1.1) แผนดำเนินงาน (1.2) คุณสมบัติผู้ขอรับการประเมิน (1.3) คุณสมบัติของคณะกรรมการประเมิน และ (1.4) งานกำหนดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน (2) งานดำเนินการ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ (2.1) ส่วนนำเข้า (2.2) ส่วนประเมินความรู้และประสบการณ์และ (2.3) ส่วนรายงานผล (3) งานรายงานผล และ (4) งานนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงงาน 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบประเมินผลการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อเทียบโอน พบว่า ผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นว่าระบบประเมินผลการเรียนรู้ฯ มีประโยชน์ มีความเป็นไปได้ มีความเหมาะสม และมีความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2536). การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในประมวลผลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. (หน่วยที่ 12, หน้า 5-40).นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2550). การเรียนรู้ใหม่ไปให้พ้นวิกฤติ. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วยช่วยกัน.

ราชกิจจานุเบกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551, 26 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก หน้า 3-19. (สืบค้นจาก http://www.vec.go.th/เกี่ยวกับสอศ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง.aspx).

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2544). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อโรงเรียน. (ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

รุ่ง แก้วแดง. (2545). การศึกษาเชิงสร้างสรรค์. รายงานการประชุมทางวิชาการ เรื่อง การศึกษาเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สมคิด พรมจุ้ย. (2535). การพัฒนาระบบประเมินตนเองสำหรับศูนย์ประสานงานการศึกษานอก โรงเรียนระดับอำเภอ (ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สุนทร ยุทธชนะ. (2545). การพัฒนารูปแบบการเทียบผลการเรียนสายวิชาชีพระหว่างการศึกษาตามอัธยาศัยกับการศึกษาในระบบโรงเรียน และการศึกษานอกระบบโรงเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สาโรช โศภีรักษ์. (2550). นวัตกรรมการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ. นนทบุรี: บุ๊ค พอยน์.

เสน่ห์ จุ้ยโต. (2551). การฝึกอบรมเชิงระบบ โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2549). มาตรฐานอาชีพ/มาตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.