การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของ กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

จันทิราพร ศิรินนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกัน ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานของผู้ประกอบการกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์ มีการกำหนดกฎเกณฑ์ โครงสร้างการบริหารงาน แบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละบุคคล นำความรู้ที่ได้จากการไปฝึกอบรมมาเผยแพร่ให้แก่สมาชิก จัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ปัญหาที่พบจากการดำเนินงานด้านทักษะการบริหารจัดการกลุ่ม ความเชื่อมั่นในตนเอง ความร่วมมือในการสร้างเครือข่าย ความรู้ความเข้าใจด้านการตลาด และการมีส่วนร่วมของสมาชิก 2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP จังหวัดบุรีรัมย์ ควรพัฒนาความสามารถในการจัดการกลุ่มโดยมีทักษะความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบ มุ่งมั่น กล้าตัดสินใจ แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ พัฒนาการวางแผนการผลิต เน้นการรักษาคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของลูกค้า นำนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิต พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย ขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น พัฒนาการจัดทำระบบบัญชีและจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอกเพื่อมาสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิก พัฒนาการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ประกอบการกลุ่มอื่น และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปราณี ตันประยูร. (2554). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

พิมพ์ชญาณ์ แจ่มใสตรี. (2554). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างในเขตชุมชน: กรณีศึกษาอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศิลปากร. นครปฐม.

วุฒิชัย จงคำนึงศีล. (2547). การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

อุษา โบมานน์. (2558). รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโอทอปภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

Miller, A. and Dess, G. G. (1996). Strategic Management. (2nd ed.). NY: McGraw-Hill.Lumpkin, G. T. and Dess, Gregory G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and linking it to Performance. Academy of Management Review, 21(1), 135-172.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). NY: Harper and Row Publication