การให้ความหมาย และรูปแบบการดำเนินกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานต่อพนักงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย

Main Article Content

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
จันทนา แสนสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาการให้ความหมายของกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารที่รับผิดชอบหลักด้านความสุขในการทำงานของพนักงาน โดยพิจารณาจากโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการองค์กรต้นแบบของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โรงแรมที่ได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย จากเอออน ฮิววิท รวมทั้งโรงแรมในประเทศไทยที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขอย่างเป็นรูปธรรม จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า (1) ความหมายของกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงาน หมายถึง “แนวทางหรือวิธีการที่มาจากปรัชญาและนโยบายหลักขององค์การ ที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความสุขในการทำงานให้กับพนักงานในองค์การ โดยขั้นตอนที่สำคัญก่อนการกำหนดกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงาน คือ การประเมินตนเองของโรงแรม ทั้งนี้ เพื่อให้องค์การสามารถกำหนดกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์ขององค์การ” และ (2) รูปแบบการดำเนินกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานในธุรกิจโรงแรมของประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ (2.1) องค์ประกอบของกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงาน ประกอบด้วย ระบบการคัดเลือกพนักงาน ระบบการให้รางวัล การสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ การจัดการค่าตอบแทนและสวัสดิการ การดูแลความเป็นอยู่และสุขภาพของพนักงาน ความยืดหยุ่นในการทำงาน และการจัดการความหลากหลายของบุคลากร (2.2) ลักษณะองค์การที่ส่งเสริมการดำเนินกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงาน ได้แก่ โครงสร้างองค์การแบบมีชีวิต วัฒนธรรมองค์การแบบมีส่วนร่วม และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงจริยธรรม และ (2.3) ผลลัพธ์ของการดำเนินกลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงาน ได้แก่ ประสิทธิผลด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย การเพิ่มขึ้นในการมีส่วนร่วมของพนักงาน ความทุ่มเทในการทำงาน การลดอัตราการลาออก และผลการปฏิบัติงานที่เหนือความคาดหมาย ซึ่งนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ดีของโรงแรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาย โพสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ดวงเนตร ธรรมกุล, ขวัญเมือง แก้งดำเกิง และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2554). การพัฒนาดัชนีองค์กรสุขภาวะ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 8-19.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2557). การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับผู้ให้บริการในธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ท้อป.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). ความสุขในการทำงาน : ความท้าทายของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 18(2), 113-126.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นโพร จํากัด.

ประทุม ฤกษ์กลาง. (2554). การจัดการความเครียด เติมความสุข เพื่อประสิทธิผลในการทำงาน. วารสารนักบริหาร, 31(2), 95-101.

วิจัยกรุงศรี. (2559). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2559-2561: ธุรกิจโรงแรม. จากhttps://www.krungsri.com/bank/ getmedia/32e9a477-0eb4-42ca-b10e-5514ede02eb7/IO_Hotel_2016_TH.aspx

วิภาพร วรหาญ. (2556). การบริหารเชิงกลยุทธ์ทางการพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 6-15.

สุภางค์ จันทวานิช. (2556). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Akdağ, F. (2012). Impact of Empowerment on Work-life Balance and Employee Well-being. Paper presented at the Cambridge Business & Economics Conference, Cambridge, UK

Almeida, D. M., & Davis, K. D. (2011). Workplace flexibility and daily stress processes in hotel employees and their children. The Annals of the American Academy of Political and Social Science, 638(1), 123-140.

Armstrong, M. (2006). A handbook of human resource management practice: Kogan Page Publishers.

Atkinson, C., & Hall, L. (2011). Flexible working and happiness in the NHS. Employee relations, 33(2), 88-105.

Clark, S. C. (2001). Work Cultures and Work/Family Balance. Journal of Vocational Behavior, 58(3), 348-365.

Davidson, M. C., Timo, N., & Wang, Y. (2010). How much does labour turnover cost? A case study of Australian four-and five-star hotels. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 22(4), 451-466.

Dilhani, W., & Dayarathna, N. (2016). The Impact of Work Life Balance Practices on Employee Performance of Female Machine Operators on the Sri Lankan Apparel Sector. Human Resource Management Journal, 4(1), 13-26.

Esfahani, A. N., & Hashemi, S. (2014). The Effect of Diversity Management on the Employees' Happiness (the Case of Yaran Paper Company). International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 4(5), 168-176.

Fisher, C. D. (2010). Happiness at work. International journal of management reviews, 12(4), 384-412.

George, J. M. (1991). State or trait: Effects of positive mood on prosocial behaviors at work. Journal of applied psychology, 76(2), 299.

Green, K. A., López, M., Wysocki, A., & Kepner, K. (2002). Diversity in the workplace: Benefits, challenges, and the required managerial tools. University of Florida, 1(4), 1-3.

Greenfield, C., & Terry, M. (1995). Work/life: From a set of programs to a strategic way of management. Employment Relations Today, 22(3), 67-81.

Halpern, D. F. (2005). How time‐flexible work policies can reduce stress, improve health, and save money. Stress and Health, 21(3), 157-168.

John Omogeafe, O., & Ohimai Friday, E. (2014). Organization Culture Types and Performance in Nigerian Universities. European Journal of Business and Management, 6(18), 80-88.

Kara, D., Uysal, M., Sirgy, M. J., & Lee, G. (2013). The effects of leadership style on employee well-being in hospitality. International Journal of Hospitality Management, 34, 9-18.

Kreitz, P. A. (2008). Best practices for managing organizational diversity. The Journal of Academic Librarianship, 34(2), 101-120.

Kusluvan, S., Kusluvan, Z., Ilhan, I., & Buyruk, L. (2010). The Human Dimension: A Review of Human Resources Management Issues in the Tourism and Hospitality Industry. Cornell Hospitality Quarterly, 51(2), 171-214.

Lee, A., Willis, S., & Tian, A. W. (2018). When Empowering Employees Works, and When It Doesn’t. Retrieved from https://hbr.org/2018/03/when-empowering-employees-works-and-when-it-doesnt

Manning, A. (2016). Unlocking the power of employee happiness: what top employees seek from the workplace today. Strategic HR Review, 15(4), 191-192.

Martin, A. J., Jones, E. S., & Callan, V. J. (2005). The role of psychological climate in facilitating employee adjustment during organizational change. European Journal of Work and Organizational Psychology, 14(3), 263-289.

Mazerolle, S. M., & Goodman, A. (2013). Fulfillment of work–life balance from the organizational perspective: a case study. Journal of athletic training, 48(5), 668-677.

Nandy, P. (2017). 7 HR lessons from Denmark in creating a happy workplace. Retrieved from https://www.insidehr.com.au/7-lessons-hr-danes-creating-happy-workplace/

Naseem, K. (2018). Job Stress, Happiness and Life Satisfaction: The Moderating Role of Emotional Intelligence Empirical Study in Telecommunication Sector Pakistan. J. Soc. Sci, 4(1), 7-14.

O’Neill, J. W., & Davis, K. (2011). Work stress and well-being in the hotel industry. International Journal of Hospitality Management, 30(2), 385-390.

Obiageli, O. L., Uzochukwu, O. C., & Ngozi, C. D. (2015). Work life balance and employee performance in selected commercial banks in lagos state. European Journal of Research and Reflection in Management Sciences Vol, 3(4), 63-77.

Page, K., & Vella-Brodrick, D. (2009). The ‘What’, ‘Why’ and ‘How’ of Employee Well-Being: A New Model. Social Indicators Research, 90(3), 441-458.

Ross, G. F. (1995). Work stress and personality measures among hospitality industry employees. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 7(6), 9-13.

Safiullah, A. (2014). Impact of Rewards on Employee Motivation of the Telecommunication Industry of Bangladesh: An Empirical Study. IOSR Journal of Business and Management, 16(12), 22-30.

Streimikiene, D., & Grundey, D. (2009). Life satisfaction and happiness-The factors in work performance. Economics & Sociology, 2(1), 9.

Sullivan, E. J., & Decker, P. J. (1998). Effective leadership and management in nursing. AJN The American Journal of Nursing, 98(6), 16L.

Tasnim, Z. (2016). Happiness at workplace: Building a conceptual framework. World Journal of Social Sciences, 6(2), 62-70.

Tymon, W. G., Stumpf, S. A., & Doh, J. P. (2010). Exploring talent management in India: The neglected role of intrinsic rewards. Journal of world business, 45(2), 109-121.

Warr, P. (2011). Work, happiness, and unhappiness: Psychology Press.

Wesarat, P. O., Sharif, M. Y., & Majid, A. H. A. (2015). A conceptual framework of happiness at the workplace. Asian Social Science, 11(2), 78.

Wheelen, T. L., Hunger, J. D., Hoffman, A. N., & Bamford, C. E. (2017). Strategic management and business policy. United Kingdom: Pearson Education Limited.

White, R. D. (1999). Managing the diverse organization: the imperative for a new multicultural paradigm. Public Administration & Management: An Interactive Journal, 4(4), 469-493.