ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

วรชัย สิงหฤกษ์
ประสพชัย พสุนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี และ (2) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่ในสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี รูปแบบของการศึกษาวิจัยเป็นแบบเชิงสำรวจภาคตัดขวาง ซึ่งประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 272 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ด้านความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากร มี 3 ปัจจัย คือ ระยะการปฏิบัติงาน (ปัจจัยส่วนบุคคล) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และความปลอดภัยจากการมีส่วนร่วม (บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม) ด้านพฤติกรรมการทำงานเชิงรุก มี 3 ปัจจัย คือ การกระตุ้นทางปัญญา (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และความปลอดภัยในการมีส่วนร่วม (บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม) ด้านความมีนวัตกรรมของบุคลากร มี 4 ปัจจัย คือ อายุ (ปัจจัยส่วนบุคคล) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การกระตุ้นทางปัญญา และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และด้านพฤติกรรมการแสวงหาโอกาส มี 6 ปัจจัย คือ อายุ (ปัจจัยส่วนบุคคล) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล(ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง) และความปลอดภัยในการมีส่วนร่วม (บรรยากาศในการสร้างนวัตกรรม) ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01, 0.05 และ 0.10 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามข้อสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงให้เห็นว่าตัวแปรทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในทางบวกต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของเจ้าหน้าที่สหกรณ์การเกษตรในจังหวัดเพชรบุรี สำหรับข้อเสนอแนะควรนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาส่งเสริมพฤติกรรมของบุคลากรให้สอดคล้องกับการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม อาทิ การฝึกอบรมและพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้บุคลากรเกิดความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ รวมถึงปัจจัยด้านความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรที่ควรสนับสนุนผ่านการเรียนรู้แบบกลุ่ม และการจัดการความรู้ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปริวรรต สมนึก. (2553) "ทุนทางสังคม" (social capital) ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเป็น Entrepreneur และ Innovator ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(1).

วสันต์ สุทธาวาศ และ ประสพชัย พสุนนท์ (2558) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร Veridian E-Journal, 8(1) .

ศิวพร โปรยานนท์. (2554). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ในงานของบุคลากร: กรณีศึกษา องค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552 (วิทยานิพนธ์). สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. (2554). การจัดการนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน (ปริญญานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). สาชาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. กรุงเทพฯ.

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2548). สุดยอดนวัตกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

Bass, B.M., & Avolio, B.J. (1996). The Transformation and transactional leadership of mem and woman. Applied Psychology: An International Review, 45(1), 5-35.

De Dreu, C. K. W., & West, M. A. (2001). Minority dissent and team innovation: The importance of participation in decision making. Journal of Applied Psychology, 86(6), 1191-1201.

Epstein, Robert. (1990). Generatively Theory and Creativity. In Theories of Creativity. M.A. Runco and R.S. Albert. eds. Newbery Park, CA: SAGE. 116-140.

Roderic, G. (2007). A climate of success: Creating the right organizational climate for high performance. Butterworth-Heinemann Publisher.

Sayles, L.R. (2007). The innovation process: An organizational analysis. Journal of Management Studies, 11(3), 190-193.

Tidd, J., Bessant, J., & Pavitt, K. (2005). Managing innovation: Integrating technological, market and Organization change (3rd ed.) Sussex. UK: John Wiley & Sons.

West, M. A., & Farr, J. L. (1990). Innovation and creativity at work: Psychological and organizational strategies. Chichester: Wiley.

Woodman, Richard W. (2008). Creativity and Organizational Change: Linking Idea and Extending Theory. Handbook of Organization Creativity. New York: Taylor & Francis Group.